ตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ( Franchise Agreement )

ธุรกิจที่ตัดสินใจดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านผู้ซื้อหรือผู้ขายแฟรนไชส์ก็ตาม ก็ควรจะทำความตกลงให้ชัดเจนในรูปของสัญญาแฟรนไชส์ เพราะหลักการพื้นฐานของระบบแฟรนไชส์ ถือว่าผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กันทางกฎหมาย ทางกลยุทธ์ ทางสัญญาแฟรนไชส์ อีกทั้งยังมีความทับซ้อนของเงื่อนไขสัญญาและกฎหมาย

แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะมีความสัมพันธ์เหมือนดั่งสามีภรรยา แต่ก็เป็นบุคคลคนละคนกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ตามสัญญา หลังจากเลิกสัญญา แฟรนไชส์ซีก็ต้องรักษาความลับและห้ามประกอบธุรกิจแข่งขัน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการทำสัญญาแฟรนไชส์ ว่าควรใส่แนวคิดอะไรลงไปบ้าง เป็นองค์ประกอบของสัญญาแฟรนไชส์

1.บทนํา

Franchise Agreement

ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายกิจการทั้งในฐานะผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor: แฟรนไชส์ซอร์) หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee: แฟรนไชส์ซี)

ตลอดจนสําหรับบุคคลที่ต้องการเริ่มต้นประกอบการหรือลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพในการที่แฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซีจะตกลงทําธุรกิจเปิดร้านแฟรนไชส์ร่วมกันนั้น นอกเหนือจากการมีข้อสรุปทางธุรกิจที่เป็นที่พอใจในเรื่องของรูปแบบธุรกิจและโอกาสในการสร้างผลกําไรแล้ว

อีกสิ่งหนึ่งที่สําคัญที่ต้องคํานึงถึง คือ สัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Agreement) โดยสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีนั้น เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จะช่วยให้ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้รับความพึงพอใจและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมาอย่างต่อเนื่อง เห็นถึงความสําคัญของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ จึงจัดทํา “ตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์”เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้ศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการร่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของตนเอง

2. การนําตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ไปใช้ประโยชน์

44

ตัวอย่างสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ จัดทําขึ้นจากการศึกษารูปแบบของสัญญาแฟรนไชส์ในประเทศ และสัญญาแฟรนไชส์ต่างประเทศ ทั้งในธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและที่ไม่ใช่อาหาร ตลอดจนหลักของการจัดทําสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วย

นิติกรรม สัญญา ทั้งนี้เพื่อให้ตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์มีหัวข้อและรายละเอียดครบถ้วนและครอบคลุม ซึ่งจะช่วยให้ประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทต่างๆได้ง่าย

วัตถุประสงค์ของการจัดทําตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้ศึกษาและใช้ เป็นแนวทางในการร่างสัญญาธุรกิจ แฟรนไชส์ของตนเอง เพราะยัง คงมีผู้ประกอบการจํานวนหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักการของการจัดทําสัญญา

ตลอดจนหน้าที่ หลักปฏิบัติ และข้อผูกพันที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ลงนามในสัญญา หรือเกิดประเด็นปัญหาในเรื่องของความไม่เป็นธรรมของสัญญา จนท้ายที่สุดทําให้การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสําเร็จ

ตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ฉบับนี้ จัดทําขึ้นเพื่อเป็นเพียงแนวทางสําหรับผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อนําไปปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีเป็นกรณีๆ ไปการจัดทําสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์

ในแต่ ละกรณี ควรได้ รับคํา ปรึกษาแนะนํา จากนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะไม่รับผิดชอบในทุกกรณี หากเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการนําตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ฉบับนี้ไปใช้

3. หัวข้อในตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์

ตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ มีหัวข้อและเนื้อหา ดังนี้

40

1) คํานิยาม

แสดงความหมายของคําศัพท์สําคัญ ที่จะถูกระบุไว้ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละรายแต่ละประเภทจะมีคําศัพท์และจํานวนคําที่แตกต่างกัน หรือแม้มีคําศัพท์คําเดียวกันก็อาจให้คํานิยามและความหมายของคําๆ นั้นแตกต่างกัน

2) เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน

เป็นการระบุรายการของเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆทั้งหมดในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรรมสิทธิ์และข้อกำหนดสำคัญระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของสิทธิ์และเป็นผู้ให้สิทธิ์) กับแฟรนไชส์ซี (ผู้รับสิทธิ์)

3) การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์

เป็นการระบุถึงรายละเอียดของรูปแบบร้านแฟรนไชส์ สถานที่ตั้ง ขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และอื่นๆ

4) หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องปฏิบัติและดําเนินการ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา

5) หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติและยึดถือ เพื่อให้สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา

6) มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิค

เป็นการระบุถึงกระบวนการต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต การจัดจําหน่าย การให้บริการ การฝึกอบรมการเงินการบัญชี และการบริหารร้านแฟรนไชส์

7) ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์

ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์ เป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์เพื่อแลกกับการที่ได้โอกาสในการใช้สิทธิ์ประกอบการร้านแฟรนไชส์ โดยเงินดังกล่าวอาจเรียกเก็บตามสัดส่วนของยอดขายในแต่ละเดือน หรือตามแต่จะตกลงกัน

8) การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย

เป็นการระบุเงื่อนไขและรูปแบบของการทําโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมถึงการระบุจํานวนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ที่แฟรนไชส์ซอร์จะเรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี

9) การประกันภัย

เป็นการระบุถึงรูปแบบการทําประกันภัยที่แฟรนไชส์ซีพึงดําเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองรายได้ค่าใช้จ่าย และผลของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการร้านแฟรนไชส์

10) บัญชี งบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ

เป็นการระบุเกี่ยวกับรูปแบบทางการบัญชีและการเงินที่แฟรนไชส์ซีต้องดำเนินการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถเข้าตรวจสอบทางการบัญชีและการเงินได้

11) การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและกรณีต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และผลที่จะเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาและการเลิกสัญญา

12) เอกสารสัญญา

เป็นการระบุถึงการมีหรือได้รับเอกสารสัญญาของทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีโดยถูกต้องตามหลักกฎหมาย

13) การจัดการข้อพิพาท

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและการดำเนินการในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี

14) ภาคผนวก

ได้แก่สาระสำคัญหรือรายละเอียดที่จำเป็นอื่นๆ เช่น เงื่อนไขอื่นของสัญญา มาตรฐานการตกแต่งร้านและการบำรุงรักษาคู่มือปฏิบัติการ คู่มือประกอบการร้านแฟรนไชส์

4.ตัวอย่างสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์  goo.gl/V4U8p3

อ่านบทความทั้งหมดเกี่ยวกับแฟรนไชส์ คลิก goo.gl/VyJ92n
หรือสนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/8pzn7i

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/375P7FB

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช