12 แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง ที่ยังไม่มีในประเทศไทย

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง ในต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยคุ้นหูในประเทศไทย มีอะไรกันบ้าง แล้วคุณเคยได้ยินหรือเคยทานสินค้าของแต่ละแล้วหรือยัง แฟรนไชส์เหล่านี้ยังไม่มีเปิดในเมืองไทย แต่อาจจะมีผู้ประกอบการเตรียมนำเข้ามาในเร็วๆ นี้

หรือ บางทีหากคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่อาจเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่นำเข้าแบรนด์แฟรนไชส์เหล่านี้ก็เป็นได้ มีแบรนด์แฟรนไชส์อะไรบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

1.Wendy’s

แฟรนไชส์

ภาพจาก bit.ly/353Dqyq

Wendy’s คือเชนฟาสต์ฟูด ประเภทแฮมเบอร์เกอร์ ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ McDonald’s และ Burger King เท่านั้น Wendy’s คือ เชนร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1969 หรือเมื่อประมาณ 52 ปีที่แล้ว โดยคุณ Dave Thomas ซึ่งเขาได้เปิดร้านแห่งแรกขึ้นที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ใช้ชื่อ Wendy’s พร้อมกับโลโกรูปเด็กผู้หญิงผมสีแดง ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลูกสาวของเขานั่นเอง

โดยในปัจจุบัน Wendy’s มีมูลค่าบริษัทประมาณ 1.2 แสนล้านบาท และมีสาขาทั้งหมดกว่า 6,788 แห่ง ใน 31 ประเทศ ที่น่าสนใจคือ โมเดลธุรกิจของ Wendy’s จะเน้นไปที่การขายแฟรนไชส์เป็นหลัก โดยสาขาในสหรัฐฯ กว่า 5,495 แห่ง จะเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ และสาขาที่บริษัทลงทุนเองจะมีเพียง 357 แห่งเท่านั้น

2.Sonic

11

ภาพจาก bit.ly/2ThA8F0

Sonic Drive-In แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดมาเป็นอันดับ 4 ของแฟรนไชส์ 500 เริ่มต้นทำแฟรนไชส์ในปี 1959 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 3,600 แห่ง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นแฟรนไชส์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมนูใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

สามารถสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นก็ได้ โดยในปี 2561 ได้ลงทุนกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาธุรกิจ เป็นแฟรนไชส์ในตระกูลเดียวกันกับ Arby’s และ Buffalo Wild Wings ในปี 2020 บริษัทกำลังเตรียมทำการเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่ เพื่อการันตีได้ว่าจะไม่หยุดนิ่งกับที่

3.Papa John’s

10

ภาพจาก bit.ly/2TVq19r

Papa John’s Pizza แฟรนไชส์จำหน่ายพิซซ่าสัญชาติอเมริกา ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 1983 ปัจจุบันเป็นแฟรนไชส์พิซซ่ายอดขายอันดับ 4 ในอเมริกา และอันดับ 3 ในประเทศอินเดีย (หลังเข้าควบรวมกิจการกับ Pizza Corner มีมูลค่าในปี ค.ศ.2016 2,931,550 ดอลลาร์ (ประมาณ 96,196,046 บาท) ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง การลงทุนเบื้องต้น 300,000 เหรียญ

4.Arby’s

9

ภาพจาก bit.ly/3pE59PK

Arby’s เป็นแฟรนไชส์ร้านขายแซนด์วิช ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 3,300 สาขาทั่วโลก และหากเราดูที่นโยบายหลักทางการตลาดที่กล่าวว่า Arby’s “สร้างรอยยิ้มจากประสบการณ์ความอร่อยของอาหาร” ก็ทำให้เรื่องการใช้โซเชี่ยลให้เกิดประโยชน์นั้นง่ายขึ้นมาทันตาเห็นทีเดียว

จะว่าไปแล้วคู่แข่งคนสำคัญของ Arby’s นั้นก็คือ Wendy ที่เป็นแบรนด์ฟาสฟู้ดต์ชื่อดังในอเมริกาเช่นกันและดูเหมือนว่า Wendy เองก็เน้นขยายการตลาดด้วยการใช้โซเชี่ยลให้เป็นประโยชน์เช่นกัน

5.Jersey Mike’s Subs

8

ภาพจาก bit.ly/3geUUyt

อีกหนึ่งแฟรนไชส์แซนด์วิชที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นนับแต่ก่อตั้ง โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1956 และเปิดขาย ธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 1987 ถูกจัดอันดับมาเป็นที่ 8 ของแฟรนไชส์ 500 ปัจจุบันมีจำนวนสาขาแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ 1,592 แห่ง บริษัทแม่บริหารเองมากกว่า 58 สาขา

โดยตั้งเป้าหมายขยายสาขาให้ถึง 2,000 สาขาภายในปี 2020 ถือเป็นครั้งที่สองของ Jersey Mike’s Subs ติดอันดับ 1 ใน 10 อันดับจากแฟรนไชส์ 500 ของสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 237,400 ดอลลาร์สหรัฐ – 766,970 ดอลลาร์สหรัฐ

6.Jollibee

7

ภาพจาก bit.ly/3pEPZJV

Jollibee แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดของฟิลิปปินส์มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านไอศกรีมมาก่อน โดยมีโลโก้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์รอยยิ้มของชาวฟิลิปปินส์ในทุกที่ทั่วโลก สาเหตุที่ Jollibee แฟรนไชส์ท้องถิ่นเอาชนะแมคโดนัลด์ได้ มาจากแนวความคิดอันฉลาดทางธุรกิจ และความเข้าใจวัฒนธรรมการกินของชาวฟิลิปปินส์ด้วยกันเองของ Tony Tan Caktiong ผู้ก่อตั้ง Jollibee นั่นเอง

ในปี 1980 ร้านอาหารจานด่วน Jollibee ได้พัฒนาเมนูใหม่เปิดตัว Chickenjoy ไก่ทอดชุบแป้งเกล็ดขนมปังเอกลักษณ์ของ Jollibee พร้อมกับแจ้งเกิดมาสค็อตผึ้งยิ้มชื่อดังของ Jollibee Chickenjoy เป็นเมนูฮิตที่ประสบความสำเร็จในการขายสูงที่สุด

ปี 1998 Jollibee เปิดสาขาแรกในสหรัฐอเมริกาในเมือง Daly City รัฐ California และขยับขยายไปลาส เวกัส ในปี 2007 ต่อด้วยฮาวายในปี 2011 ซึ่งในตอนนั้น Jollibee มีสาขาในสหรัฐฯ ทั้งหมด 37 สาขา ขณะที่สาขาในต่างประเทศนอกฟิลิปปินส์ทั้งหมดของ Jollibee มีจำนวนสาขาทะลุ 300 แห่ง

7.Culver’s

6

ภาพจาก bit.ly/3g7EGXx

แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดขายเบอร์เกอร์ รวมถึงคัสตาร์ด ไอศกรีม ที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอมริกา ด้วยรสชาติอร่อย ก่อตั้งในปี 1984 หลังจากนั้นในปี 1988 ก็ขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันมีจำนวน 680 สาขาในอเมริกา

โดยในปี 2017 สามารถทำรายได้กว่า 1.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 9 แบรนด์แฟรนไชส์ 500 อเมริกาในปี 2020 ค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฟรนไชส์เริ่มต้น 1.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

8.Popeyes’ fried chicken

5

ภาพจาก bit.ly/3pQms0h

โดย Popeyes Louisiana Kitchen นั้นได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 ในนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ของสหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งการผสมผสานวัฒนธรรมและเครื่องเทศรสจัด โดยเขาจะขายผลิตภัณฑ์ไก่ทอดที่กรอบนุ่ม เต็มไปด้วยรสชาติของไก่ทอดเต็มๆคำ

ซึ่งกิจการของ Popeyes ดูเหมือนจะไปได้ด้วยดีกว่า KFC ซะอีก ซึ่งคุณสามารถสั่งไก่รสชาติแบบเผ็ดหรือแบบดั้งเดิมก็ได้ อีกทั้งเมนู chicken sandwich ที่ได้นำออกมาวางจำหน่าย ก็ได้สร้างกระแสตอบรับการันตีในความอร่อยนี้ได้เป็นอย่างดี

9.WINGSTOP

4

ภาพจาก bit.ly/3ghJRDi

WINGSTOP เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 และมีการขยายสาขาไปมากกว่า 1,250 สาขาทั่วโลก โดย WINGSTOP จะเป็นการขายปีกไก่ทอด ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกซอสได้ในหลากหลายรสชาติ อีกทั้งยังมีหลากหลายเมนูให้เลือกสรร โดยจะมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป

อีกทั้งยังบริการได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่า ถูกอกถูกใจกันทุกคนเลยทีเดียว โดยความหวานของไก่ทอดราดซอสบาร์บีคิวรมควัน รสชาติที่เผ็ดร้อนของของไก่เผ็ดเกาหลีนั้น ทำให้ถึงขั้นมีคนเคยบอกไว้ว่า WINGSTOP ถือเป็นหนึ่งในร้านอาหารสุดยอดของการทำไก่รสเผ็ดเลยทีเดียว

10.Chick-fil-A

3

ภาพจาก bit.ly/3pGydGw

Chick-fil-A เป็นสายร้านอาหารจานด่วนอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่ใน เมืองคอลเลจพาร์ก รัฐจอร์เจีย เชี่ยวชาญด้านเบอร์เกอร์ไก่เป็นพิเศษ โดยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2489 และมีร้านอาหารกว่า 1,850 ร้าน ใน 41 รัฐของสหรัฐอเมริกาและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

โดยปัจจุบัน Chick-fil-A ก็เป็นเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกาและยังคงสร้างความหวาดหวั่นต่อการเติบโตให้กับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย โดยใครที่ได้ลิ้มลองไก่ในร้านนี้ก็ต่างแนะนำเมนู Spicy Chicken Sandwich ด้วยกันทั้งนั้น

11.Buffalo Wild Wings

2

ภาพจาก bit.ly/3w9XMSI

Buffalo Wild Wings นั้นเป็นร้านอาหารประเภทบาร์มากกว่า แต่ก็มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหารที่ใช้ไก่เป็นส่วนผสม โดยคำว่า “Buffalo” นั้นมีที่มาจากชื่อเมือง Buffalo ในรัฐนิวยอร์กของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า “Wings” หมายถึง ปีกไก่ โดย Buffalo Wild Wings แท้จริงแล้วเป็นเมนูปีกไก่ทอดธรรมดานี่แหละ

12.Church’s Chicken

1

ภาพจาก bit.ly/3v9Q7SU

Church’s Chicken เป็นแบรนด์ไก่ทอดเก่าแก่ที่เปิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1952 ในเมืองซานอันโตนิโอ รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ก่อตั้งก็คือคุณ George W. Church, Sr. ซึ่งจริงๆในอเมริกาเขาจะใช้ชื่อว่า Church’s Chicken แต่พอไปทำตลาดนอกอเมริกาเขาก็เปลี่ยนไปเป็นชื่อ Texas Chicken แทน

โดยในเมนูอาหารในร้านแห่งนี้ก็จะมีทั้ง ไก่ทอด Original & Spicy เป็นแบบไก่ทอดและไก่ไม่มีกระดูก โดยจะเป็นเมนูที่เรียบง่ายและเป็นที่นิยมในการสั่งซื้อโดยจะมีให้ตัวเลือกระหว่างไก่ทอดแบบเผ็ดหรือแบบดั้งเดิม

นั่นคือ แบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง แต่ยังไม่มีในประเทศไทย หวังว่าจะมีผู้ประกอบการไทยนำแฟรนไชส์เหล่านี้มาเปิดในเมืองไทยในเร็วๆ นี้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช