10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! สุราพื้นบ้าน

คนไทยถ้าตั้งใจทำ ก็เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก! หลายคนอาจไม่รู้ว่า สุราพื้นบ้าน ของเรามีตัวเลือกเยอะแยะมาก แต่ด้วยกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้สุราพื้นบ้านไม่สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้ ทั้งที่จริงสุราพื้นบ้านของเราก็อร่อยและดีไม่แพ้ โซจู , สาเก หรือเหล้าแบรนด์ดังที่คุ้นเคย

และดูเหมือนว่าตอนนี้โอกาสของสุราพื้นบ้านจะเปิดกว้างให้ทั่วโลกได้พร้อมรู้จักมากขึ้น www.ThaiSMEsCenter.com จึงจัดให้กับ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! สุราพื้นบ้าน ที่จะเป็นตัวทีเด็ดในการสร้างรายได้สู่คนไทยได้ทั่วประเทศ

1.ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท

สุราพื้นบ้าน

ภาพจาก https://shorturl.at/dkNOW

หลายคนอาจไม่รู้ว่าตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยมีมูลค่าสูงถึง 4.7 แสนล้านบาทแต่น่าเสียดายที่ตัวเลขนี้ไม่ได้กระจายไปถึงรากหญ้า ซึ่งหลังจากที่คณะรัฐมนตรีไฟเขียวกฎกระทรวงการผลิตสุรา จึงช่วย “ปลดล็อค” การผลิตสุราพื้นบ้านได้ และคาดการณ์ว่าถ้าเปิดทางให้สุราพื้นบ้านเข้าสู่อุตสาหกรรมสุราอย่างเสรี คนที่ได้ประโยชน์จะมีทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย สามารถกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี

2.สุราพื้นบ้านมีทั้งหมด 4 ชนิด

ภาพจาก https://shorturl.at/kIW48

คำว่า “สุราพื้นบ้าน” คือ เครื่องดื่มที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย มีมาตั้งแต่โบราณ มีหลากหลายชนิด แต่หากแบ่งจริงๆ สุราพื้นบ้าน มีด้วยกัน 4 ชนิด คือ สาโท (หรือน้ำขาว) , อุ (หรือเหล้าไห) , กะแช่ (หรือน้ำตาลเมา) , สุรา (หรือเหล้ากลั่น) โดยแต่ละชนิดจะมีกรรมวิธีผลิตและวัตถุดิบที่แตกต่างกัน เช่นสาโทผลิตจากข้าวเหนียวนึ่ง คลุกกับลูกแป้งหมักในภาชนะจนเกิดเป็นน้ำสุรา เป็นต้น

3.สุราพื้นบ้านส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้า OTOP

สุราพื้นบ้าน

ภาพจาก https://shorturl.at/kIW48

ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายของชาวบ้านที่จะนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างรายได้เพราะมีการกำหนดกำแพงภาษีที่เป็นอุปสรรคทำให้หลายวิสาหกิจชุมชนเลิกผลิตสุราพื้นบ้าน แต่อีกหลายพื้นที่ยังเดินหน้าผลิตกันต่อเช่นสุรากลั่นพื้นบ้าน บ้านสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ที่สร้างรายได้สู่ชุมชนปีละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และพัฒนาสินค้าจนได้การันตี OTOP 4 ดาว นอกจากนี้สุราพื้นบ้านในอีกหลายพื้นที่ก็ยังเป็นสินค้า OTOP ไม่ใช่สินค้าเชิงอุตสาหกรรม

4.วัตถุดิบหลักเน้นการใช้ “พืชผลการเกษตร”

ภาพจาก https://shorturl.at/BIR57

จุดเด่นของ “สุราพื้นบ้าน” ที่มองว่าจะก่อให้เกิดรายได้สู่รากหญ้าเพราะวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่มาจากพืชผลการเกษตรนั่นหมายความว่า ผลดีจะเป็นลูกโซ่ในวงการเกษตร เช่นกะแช่หรือน้ำตาลเมาผลิตจากน้ำตาลจั่นมะพร้าว หรือต้นตาลโตนด นำมาผ่านกระบวนการหมัก หรือการใช้น้ำอ้อยคั้นสด , สับปะรด , ข้าว , ผลไม้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบการเกษตรให้สร้างรายได้แก่เกษตรกรมากขึ้น

5.สุราพื้นบ้านของไทย มีตัวเลือกเยอะมาก

ภาพจาก https://shorturl.at/zADSZ

มองที่ญี่ปุ่นเขาผลิตเหล้าสาเกให้เลือกเยอะมาก หรือในเยอรมันนีก็ได้ชื่อว่ามีเบียร์นับจำนวนไม่ถ้วนให้เลือกได้ตามต้องการ อันที่จริง สุราพื้นบ้านของไทยก็มีตัวเลือกไม่น้อยที่น่าสนใจเช่น

  • สังเวียน เหล้าขาวจากสุพรรณบุรี ผลิตจากอ้อย
  • KILO แบรนด์สุรากลั่นจากกระบี่
  • Rocka จากสระบุรีที่ทำมาจากข้าวหอมมะลิ
  • ป๊าดโธ สุราแบบสาโท เป็นสุราชุมชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด
  • Koyote Lumka สุรากลั่นจากผลไม้ตามฤดูกาล จากเชียงใหม่
  • ม้าแก้วมังกร จากอุตรดิตย์ เป็นสุราชุมชนที่ใช้สับปะรดเป็นวัตถุดิบหลัก

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดที่ยกตัวอย่างมาไม่หมด ซึ่งก็มีจุดเด่นและความน่าสนใจในตัวเองของแต่ละยี่ห้อที่แตกต่างแต่ทั้งหมดคือภูมิปัญญาของชาวบ้านที่น่าจะสร้างรายได้สู่ชุมชนได้มากขึ้น

6. ประโยชน์ของการออกกฎกระทรวงผลิตสุรา

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้สุราพื้นบ้านมุ่งสู่อุตสาหกรรมได้มากขึ้น เป็นการมองเห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งซึ่งกฏกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2565 มีประโยชน์หลายอย่างเช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น เกิดความเท่าเทียมในการเข้าสู่ตลาด และสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มรายได้เข้ารัฐที่จะส่งต่อให้สังคมได้มากขึ้น

7.ตัวอย่างกฏกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2565 ที่ควรรู้

มีการปรับกฏสำคัญคืออนุญาตให้ผู้ผลิตที่ไม่ใช่เพื่อการค้าได้รับอนุญาตสามารถผลิตสุราในครัวเรือนได้ และหากต้องการเป็นผู้ผลิตก็สามารถทำได้ เช่นต้องการผลิตเบียร์แบบ SME แต่เดิมที่กำหนดว่าต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท กำลังการผลิต 100,000 ลิตร ถึง 1,000,000 ลิตรต่อปี ก็ได้ยกเลิกเรื่องทุนจดทะเบียน ยกเลิกกำลังการผลิต แต่โรงงานหรือเครื่องจักรยังต้องได้มาตรฐานตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

8. “พิธา เอฟเฟค” ดันยอดขาย “สุราพื้นบ้าน” ขายหมดเกลี้ยง

ภาพจาก https://shorturl.at/cemCS

การผลักดัน “สุราก้าวหน้า” ของพรรคก้าวไกล ทำ #สุราก้าวหน้า ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ ติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะเมื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เอ่ยถึงสุราพื้นบ้านไทย “สังเวียน” ที่ประทับใจในคุณภาพ จนกลายเป็นไวรัลในเสี้ยววินาที ดันให้ “เหล้าสังเวียน” สุรากลั่นจาก จ.สุพรรณบุรี ขายเกลี้ยงในพริบตา หรือแม้แต่ KILO แบรนด์สุรากลั่นจากกระบี่ ก็ขายหมดเช่นกัน รวมถึงช้างทองคำ, ซอดแจ้ง , ม้าแก้วมังกร , อีสานรัม และอีกหลายยี่ห้อที่ขายหมดเกลี้ยงทันที

9.คนไทยร้อยละ 30 นิยมดื่มแอลกอฮอล์

ในอีกด้านคนมองเรื่องสุราก้าวหน้าว่าคือการส่งเสริมให้คนไทยดื่มเหล้า ซึ่งเรื่องนี้ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ออกมาระบุว่า ไม่คัดค้านนโยบายสุราก้าวหน้า เพราะเป็นนโยบายที่จะลดการผูกขาดของนายทุนใหญ่ เปิดโอกาสให้รายย่อยได้มีโอกาสผลิตและจำหน่าย ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการทำธุรกิจ แต่ต้องควบคุมให้ดีเพราะข้อมูลระบุว่า ประเทศไทย มีคนที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 30 ในขณะที่อีกร้อยละ 70 ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นควรมีมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย

10.สุราพื้นบ้านของดีมีเกือบทุกจังหวัด

ภาพจาก https://shorturl.at/lswzF

ถ้าลองสืบค้นกันจริงๆ จะพบว่า “สุราพื้นบ้าน” มีเยอะมาก ทุกจังหวัดก็จะมีแบรนด์ของตัวเองที่แตกต่างกันไป เช่น สังเวียน เหล้าขาวจากสุพรรณบุรี , ม้าแก้วมังกร สุราชุมชนจากอุตรดิตย์ , De Simone ไวด์แบรนด์คนไทยจากสุรินทร์ , คีรีขาล จากพะเยา , อีสานรัม จากหนองคาย , ออนซอน เหล้าสกลนคร เป็นต้น

ต่อจากนี้ก็คงต้องมาตามกันต่อว่า “นโยบายสุราพื้นบ้าน” จะก้าวไปได้ไกลสักแค่ไหน ในมุมหนึ่งก็มีข้อดีคือการกระจายรายได้สู่คนไทยมากขึ้น สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้มากขึ้นแน่ แต่อย่าลืมในแง่มุมของศีลธรรมและความเหมาะสมที่ควรให้ข้อมูลชัดเจนแก่เด็กและเยาวชนชี้ให้เห็นโทษของการดื่มสุราด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://citly.me/4ZaUC , https://citly.me/T1DSZ , https://citly.me/eEja7 , https://citly.me/wcKOU , https://citly.me/12Xp0 , https://citly.me/YP4cI , https://citly.me/jUDaY , https://citly.me/dfr0M , https://citly.me/Qc7Av

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด