เศรษฐกิจไทยยังหนัก! ตลาดค้าขายทั่วไทยสุดเงียบ พ่อค้า-แม่ค้าบ่น มีแต่คนขายไม่มีคนซื้อ

รู้สึกเหมือนกันหรือไม่ว่า เข้าเดือน มิ.ย. 66 มานี้ ขายของดูเงียบๆ แม้จะเป็นหลังการเลือกตั้งที่หลายคนมองว่าบรรยากาศการค้าการขาย การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจะคึกคักมากขึ้น แต่ดูเสียงสะท้อนจากแหล่งค้าขายหลายๆ พื้นที่ทั่วไทย

บรรดาผู้ประกอบการร้านค้า พ่อค้าแม่ขาย บ่นเป็นเสียงเดียวกัน ขายของไม่ได้ ลูกค้าหาย ลงทุนหลักพันขายได้หลักร้อย หลายคนยังมองแง่ดีอาจเป็นเพราะประขาชนไม่กล้าใช้เงิน เศรษฐกิจไม่ค่อยแน่นอน รอการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ก่อน

จากการสำรวจแหล่งค้าขายและตลาดนัดในเมืองไทยหลายแห่ง แทบไม่มีคนเดินซื้อของเลย ถึงจะมีก็ไม่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นตลาดขายส่งเสื้อผ้า ตลาดของกินของใช้ หลายๆ ร้านถึงกับต้องติดป้ายประกาศเซ้งกันไปหมด

ผู้ประกอบการร้านค้าหลายรายสะท้อนบนออนไลน์เป็นเสียงเดียวกันว่า ลงทุนขายของหลักพันบาท ขายได้หลักร้อยกว่าๆ ร้านอาหารที่เคยอยู่นอกห้างพอย้ายไปในห้างก็ต้องแบกรับค่าเช่า เพราะรายจ่ายวันละ 3,000 กว่า ขายได้แค่หลัก 100

มิ.ย. 66 เป็นเดือนนรกจริงๆๆ ขายขาดทุนทุกวัน บางวันต้องทิ้งของเพราะเก็บก็ไม่สด ของไม่ดีขายไปก็เสียลูกค้า หยุดก็ไม่ได้ รู้ว่าขาดทุนก็ยังหวังทุกวันว่าพรุ่งนี้จะดีขึ้น บอกตัวเองและครอบครัวว่าสู้ๆ

มาดูกันว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้แหล่งค้าขายเกือบทุกแห่งทั่วไทยซบเซา ลูกค้าบางตา พ่อค้าแม่ค้าขายของไม่ได้

1. หน้าฝน

เศรษฐกิจไทยยังหนัก

เป็นฤดูที่พ่อค้าแม่ขายไม่ชอบที่สุด ช่วงหน้าฝนทีไร คนเดินตลาดน้อย ทำให้ขายของไม่ได้ หลายๆ ตลาดลูกค้าจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด! เดินในตลาด ถามได้ มีแต่พ่อค้าแม่ขายมองตากันปริบๆ

2. เปิดเทอม

เศรษฐกิจไทยยังหนัก

แม้ว่าหลายๆ โรงเรียนจะเปิดเทอมไปก่อนหน้า แต่ด้วยค่าครองชีพสูง ค่าใช้จ่ายเยอะ ทำให้หลายๆ ครอบครัวกำลังซื้อหดหาย กล้าๆ กลัวๆ จะซื้อของทีไรก็คิดเยอะ กว่าจะควักเงินซื้อ คิดแล้วคิดอีก

3. คนหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น

เศรษฐกิจไทยยังหนัก

พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยน ไม่เน้นออกบ้าน อยากได้ความสะดวกรวดเร็ว แถมได้ของถูกกว่า หากซื้อช่วงโปรฯ ได้สะสมแต้ม ล้วนเป็นตัวเร่งให้ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งสิ้น ส่งผลกระทบพ่อค้าแม่ขายตามแหล่งค้าขายและตลาดนัดต่างๆ ขายของไม่ได้ คนไม่อยากเดิน อยู่บ้านกดมือถือซื้อออนไลน์ก็ได้แล้ว

4. คนไม่กล้าใช้เงิน

เศรษฐกิจไทยยังหนัก

แม้เลือกตั้งผ่านไปแล้ว แต่ยังจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ หลายคนกังวลเรื่องเศรษฐกิจยังไม่นอน ทำให้ระมัดระวังใช้จ่ายมากขึ้น จึงไม่ค่อยออกมาใช้เงินกัน

5. ความไม่มั่นใจของนักลงทุน

เศรษฐกิจไทยยังหนัก

จากสุญญากาศทางการเมือง และเศรษฐกิจ ทำให้นักธุรกิจไม่กล้าลงทุน การค้าขายหยุดชะงัก ผู้ซื้อ ผู้ขาย ต่างรอซึ่งกันและกัน ส่งผลกระทบเป็นทอดๆๆ

6. ช่วงเดือน มิ.ย. 66 เป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีวันหยุดยาว

เศรษฐกิจไทยยังหนัก

เป็นเดือนที่เด็กนักเรียนเปิดเทอม พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กไม่อยากใช้เงินเยอะ ใช้จ่ายน้อยลง ไม่กิน ไม่เที่ยว ประกอบกับฝนตกไม่อยากออกจากบ้าน ประหยัดค่าใช้จ่าย

7. ทุนใหญ่ตีตลาด

ทุนใหญ่จากจีนและไทยหันมาขายของออนไลน์ อยู่โรงงาน อยู่บ้านก็ขายออนไลน์ได้หมด โดยเฉพาะการเข้ามาของพ่อค้าแม่ค้าจีน ทั้งเปิดหน้าร้านและขายออนไลน์ด้วยตัวเอง ได้เปรียบพ่อค้าแม่ค้าไทย คือ มีต้นทุนการขายของถูกกว่าสามารถมาตัดราคาร้านอื่นๆ ได้ บางครั้งก็สั่งของแบบเดียวกับพ่อค้าไทยขายอยู่มาขายแข่งด้วยราคาที่ถูกกว่า

พ่อค้าแม่ค้าไทยอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาได้ จำเป็นต้องสร้างแบรนด์เป็นทางรอดระยะยาว ขายสินค้าที่มีคุณมาตรฐาน เพราะปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีมาตรการสแกนผู้ค้าที่ไม่มีคุณภาพออก ส่วนผู้บริโภคก็ค่อยๆ เรียนรู้การซื้อสินค้าออนไลน์ สุดท้ายแล้วตลาดอีคอมเมิร์ซเมืองไทยจะแข่งกันที่คุณภาพมากกว่าราคา

กรณีปัญหาตลาดซบเซา บรรดาพ่อค้าแม่ขายอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนเป็นอันดับแรก ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน รวมถึงกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้ผู้บริโภคด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช