เลือกตั้ง 66 ทางออกธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ความหวังของหลายๆ คนที่อยากให้รัฐบาลใหม่ทำสิ่งแรกและทำทันที เชื่อว่าคงเป็นเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะได้รับผลกระทบลากยาวมาจากวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงการระบาดโควิด-19 แม้จะเริ่มเบาบางลง แต่เศรษฐกิจยังรอการกระตุ้นอัดฉีดเพื่อสร้างความเชื่อมั่น

ถ้าถามว่าทิศทางของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยหลังการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมาวิเคราะห์ให้ทราบ

จากการพูดคุยกับกูรูแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า หลังการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ จะทำให้เศรษฐกิจและภาคธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะมีการเติบโตขึ้นอย่างมากแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 อีกทั้งไทยได้เปิดรับนักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีการเติบโตมาจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจและเดินหน้าระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ กล้าที่จะทุ่มงบประมาณขยายการลงทุน มีการจ้างงานมากขึ้นหลังจากได้รับผลกระทบมาตั้งแต่การระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวและบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง-โลจิสติกส์ ผับ บาร์ ฯลฯ

สอดคล้องกับสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย ระบุการเลือกตั้งอาจทำให้บรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยภาคธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกปรับตัวดีขึ้น และจะส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไทยด้วย

สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจจะต้องรอดูทิศทางและนโยบาย รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ และคาดว่าในช่วงไตรมาส 3/66 การลงทุนทุกอุตสาหกรรมในไทยจะกลับมาคึกคักมากขึ้นหลังมีความชัดเจนของรัฐบาล

แฟรนไชส์ยังเป็นธุรกิจ “สร้างงาน สร้างอาชีพ” ครึ่งปีหลัง 66


ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็ว ประชาชนมีรายได้และออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น เมื่อมีรายได้มากกว่าเดิม จะทำให้หลายๆ คนอยากนำเงินมาลงทุนทำธุรกิจเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมหลังการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ ก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ มีความเสี่ยงน้อยกว่าเปิดร้านเอง

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเติบโต คาดว่าภาคเอกชนจะมีการจัดงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมถึงการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนไทย โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แต่จะต้องดูนโยบายและความชัดเจนในเรื่องการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์อีกครั้งหลังได้รัฐบาลชุดใหม่

แฟรนไชส์ “อาหาร-เครื่องดื่ม” ยังคงได้รับความนิยมลงทุน


ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปี 2565 ธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าราวๆ 3 แสนล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 15-20 ต่อปี แต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 20,000 ราย โดยแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มยังคงมาแรงและได้รับความนิยมลงทุน มีสัดส่วน 50-60% หรือราวๆ 300 กว่ากิจการในไทย ซึ่งแฟรนไชส์อาหารที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีหลังเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเป็นแนวสตรีทฟู้ด ก๋วยเตี๋ยว สเต็ก ปิ้งย่าง ตามสั่ง อาหารญี่ปุ่น-เกาหลี เป็นต้น ส่วนแฟรนไชส์เครื่องดื่มจะเป็นจะเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สมูทตี้ น้ำผลไม้ปั่น โกโก้ เต้าหู้ นมสด เป็นต้น

ส่วนแฟรนไชส์กลุ่มอื่นๆ ที่จะได้รับความนิยมหลังเลือกตั้ง จะเป็นแฟรนไชส์บริการ ขนส่ง สะดวกซัก ค้าปลีก ความงาม สปา รวมถึงแฟรนไชส์การศึกษา ที่ปัจจุบันหลายๆ แบรนด์ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนไปสู่ระบบออนไลน์

คาดหลังเลือกตั้ง! กำลังซื้อแฟรนไชส์ฟื้นกลับคืนมา


อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รัฐบาลชุดใหม่ เชื่อว่ากำลังซื้อแฟรนไชส์จะกลับมาสู่ภาวะปกติ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ราคาหลักพัน หลักหมื่น ไปจนถึงหลักหลายๆ ล้าน เหมือนกรณีแฟรนไชส์กาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” พบว่ามีคนสนใจสมัครแฟรนไชส์ 400-500 รายต่อเดือน

หรือแม้แต่แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่ขยายสาขาไปแล้วกว่า 14,000 สาขาในตอนนี้ และเชื่อว่าหลังเลือกตั้งเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่ต้องเหนื่อยในการหาลูกค้า ทำเพียงแค่คัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ดีเท่านั้น

ดังนั้น เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องทำให้ธุรกิจของตัวเองขายได้ ถ้าธุรกิจยังขายไม่ได้ แม้แต่จะกวักมือเรียกให้ช่วยมาซื้อ ก็ไม่มีใครมา เพราะผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ปลอดภัย และมีโอกาสประสบความสำเร็จ แต่ถ้าธุรกิจของใครขายดีก็จะดึงดูดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เดินเข้ามาหาเอง เพราะเขามองว่าธุรกิจมีความน่าสนใจลงทุน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช