เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร ให้ยอดขายเติบโตกว่าคนเก่า (มุมมองของคนเซ้ง)

หลายคนอาจไม่รู้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์สามารถ “เซ้ง” หรือเปลี่ยนมือไปยังบุคคลอื่นได้ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ในรูปแบบสร้างอาชีพ ใช้เงินลงทุนต่ำ จ่ายค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียว ไม่มีค่าสิทธิรายเดือน (Royalty Fee) แต่ซื้อสินค้าและวัตถุดิบสำคัญๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่เป็นร้านรถเข็นและคีออส เปิดร้านขายตามแหล่งชุมชน ตลาด ปั้มน้ำมัน ฯลฯ

สำหรับใครที่อยากจะเซ้งร้านแฟรนไชส์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และอื่นๆ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเทคนิคการเซ้งแบบไม่ให้เงินสูญเปล่า แถมสร้างยอดขายต่อจากเจ้าของเดิมได้อย่างงดงาม

มุมมองของคนเซ้ง

ภาพจาก facebook.com/kanchasiam/

1.ดูรายละเอียดสัญญาเช่า

ร้านแฟรนไชส์เหล่านี้มีทั้งเช่าพื้นที่เปิดร้าน และใช้พื้นที่ของตัวเอง หากคิดจะเซ้งธุรกิจต่อจากเจ้าของเดิม ต้องดูรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาเช่าด้วย เช่ารายเดือน รายปี หรือราย 5 ปี และช่วงเวลาที่เซ้งร้านไปแล้วนั้น เหลือสัญญาเช่ากี่ปี และสามารถต่อสัญญาเพิ่มอีกได้หรือไม่ ถ้าต่อได้ต้องทำอย่างไร และหากต่อไม่ได้ก็ไม่ควรที่จะตกลงเซ้งร้านแฟรนไชส์

2.ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่

นอกจากจะดูระยะเวลาของสัญญาเช่าพื้นที่ในการเปิดร้านแล้ว คนที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์นั้นๆ จะต้องดูในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเช่าพื้นที่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าพื้นที่มากน้อยแค่ไหน จ่ายต่อเดือนหรือสองเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ คิดรวมกับค่าเช่าพื้นที่ด้วยหรือไม่ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น ห้องน้ำ ด้วยหรือไม่

17

ภาพจาก bit.ly/2U3Vbfn

3.ระยะเวลาการเปิด-ปิดร้าน

ถือว่าสำคัญมาก หากระยะเวลาเปิดร้านขายน้อยก็จะทำให้โอกาสในการขายมีน้อย ยิ่งในช่วงการระบาดโควิด-19 มีมาตรการล็อกดาวน์จากภาครัฐ ทำให้มีเวลาเปิดร้านขายน้อยลง หากคิดจะไปเซ้งร้านต่อในช่วงนี้อาจไม่คุ้ม หรือแม้ว่าหากอยู่ในสถานการณ์ปกติ ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ แต่อย่าลืมว่าในแต่ละสถานที่จะมีนโยบายในการเปิด-ปิดร้านไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้าจะมีเวลาเปิดร้านขายน้อยกว่าอยู่นอกห้าง

4.เช็คอุปกรณ์ในการเปิดร้าน

การเซ้งธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากจะได้ตัวร้าน ชื่อร้าน ยังได้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก่าอี้ ถ้วย ชาม หม้อ แก้ว ผ้าปูโต๊ะ ป้าย และอื่นๆ จากเจ้าของร้านเดิม ดังนั้น ใครที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่น ต้องเช็คอุปกรณ์ในการเปิดร้าน อุปกรณ์การขาย อุปกรณ์การปรุงอาหาร เครื่องดื่ม ว่ามีสภาพใช้งานต่อได้หรือไม่ หากพังชำรุดก็ต้องรีบซื้อใหม่ให้ทันเปิดร้าน

16

ภาพจาก facebook.com/nongharnnoodle/

5.ค่าใช้จ่ายถ่ายทอดงาน

การเซ็งร้านแฟรนไชส์ก็เหมือนกับการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของกิจการเดิมจะต้องถ่ายทอดวิธีการทำงาน การผลิต การสั่งซื้อสินค้า-วัตถุดิบ และอื่นๆ ให้คนเซ้งร้านแฟรนไชส์ทุกอย่างจนกว่าจะเปิดร้านขายเองได้ ตรงนี้คนที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์จะต้องสอบถามด้วยว่า มีค่าใช้จ่ายด้วยหรือไม่ หากมีค่าใช้จ่ายก็ต้องดูอีกว่าคุ้มหรือไม่ หากต้องเดินทางไปฝึกงานทุกวัน

6.ค่าใช้จ่ายในการเซ้ง

ค่าใช้จ่ายในการเซ้งกิจการร้านแฟรนไชส์ จะไม่รวมค่าเช่าพื้นที่ ค่าไฟ ค่าน้ำ แต่จะรวมตัวร้าน ซึ่งก็คือรถเข็น คีออส อละอื่นๆ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้าน หากราคาเซ้งแพงก็ต้องดูว่า กิจการนั้นๆ ได้รับความนิยม มีฐานลูกค้ารองรับหรือไม่ ที่สำคัญตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพหรือไม่ แต่หากราคาเซ้งแพง ทำเลที่ตั้งลูกค้าเข้าถึงได้ยาก ก็ไม่ควรเซ้ง

15

ภาพจาก facebook.com/StupidFriesOfficial/

7.สำรวจร้านและสถานที่

คนที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ควรที่จะลงสำรวจร้านและทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านจริงๆ ดูว่ามีลูกค้าเข้าร้านในแต่ละวันมากน้อยแค่ไหน และช่วงเวลาไหนที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด หรือน้อยสุด เพื่อนำมาปรับวิธีการขาย จัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอ หรือถ้าร้านที่จะเซ้งไม่ค่อยมีลูกค้าใช้บริการ ก็ต้องพิจารณาเองว่าจะคุ้มค่าในการเซ้งหรือไม่

8.จัดโปรโมชั่นและทำการตลาด

คนที่เซ้งร้านแฟรนไชส์มาแล้ว ในช่วงเปิดร้านให้บริการลูกค้าในช่วงแรกๆ ก็อย่าลืมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพิ่มยอด ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดผ่านเฟซบุ๊ค ไลน์ หรือสร้างเพจของร้านขึ้นมาโปรโมทร้าน เพิ่มเมนูสินค้าใหม่ๆ ต่อเนื่อง

นั่นคือ 8 เทคนิคการเซ้งร้านแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ใครที่กำลังมองหาร้านแฟรนไชส์ที่เจ้าของเดิมอยากให้เซ้งต่อ สามารถนำแนวทางข้างต้นไปพิจารณา ก่อนที่จะตัดสินใจเซ้ง!!! น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ดูรายละเอียดสัญญาเช่า
  2. ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่
  3. ระยะเวลาการเปิด-ปิดร้าน
  4. เช็คอุปกรณ์ในการเปิดร้าน
  5. ค่าใช้จ่ายถ่ายทอดงาน
  6. ค่าใช้จ่ายในการเซ้ง
  7. สำรวจร้านและสถานที่

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wEioBS

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช