ซื้อแฟรนไชส์ Product Franchise & Business Format Franchise แบบไหนดีกว่า?

หากคุณกำลังมองหาช่องทางในการเข้าสู่ตลาดแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะแฟรนไชส์ซอร์หรือแฟรนไชส์ซี แน่นอนว่าคุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอรูปแบบของแฟรนไชส์ Product Franchise และ Business Format Franchise

ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดแฟรนไชส์เมืองไทย แล้วทั้งสองรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์และยกตัวอย่างรูปแบบการ ซื้อแฟรนไชส์ Product Franchise & Business Format Franchise แบบไหนดีกว่า?

Product Franchise (แฟรนไชส์สินค้า)

ซื้อแฟรนไชส์ Product

แฟรนไชส์ การจัดจำหน่ายสินค้า หรือ Product Franchise เป็นแฟรนไชส์เน้นการจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทแม่ โดยแฟรนไชส์ซีมีสิทธ์ในชื่อแบรนด์ (เครื่องหมายการค้าและโลโก้) และสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขแงแฟรนไชส์ซอร์ ประเภทของธุรกิจที่เลือกใช้โมเดลแฟรนไชส์นี้คือ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ สถานีบริการ และผู้จำหน่ายน้ำอัดลม

รูปแบบแฟรนไชส์แบบ Product Franchise ในเมืองไทยที่พบเห็นกันมาก จะเป็นธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ขายอุปกรณ์ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์บางส่วนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ร้านชา 25 บาท, ลูกชิ้นปิ้ง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น แฟรนไชส์เหล่านี้จะใช้เงินลงทุนต่ำ จ่ายค่าแฟรนไชส์แรกเข้า Franchise Fee ครั้งเดียว ลงทุนง่าย ทำง่าย

ข้อดี

  • ทำง่าย ใช้เวลาน้อย
  • ลงทุนน้อย
  • ขยายตัวเร็ว

ข้อเสีย

  • มาตรฐานต่ำ
  • ไม่ค่อยมีระบบควบคุม
  • แข่งขันยาก อยู่ได้ไม่นาน
  • เหมาะกับธุรกิจขายสินค้า/ขนาดเล็กที่ควบคุมมาตรฐานการผลิตได้

#ตัวอย่างรูปแบบแฟรนไชส์ Product Franchise น่าลงทุน

18

ภาพจาก แฟรนไชส์ ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด

ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด คลิก https://bit.ly/3ALnGym

17

ภาพจาก แฟรนไชส์ต.เนื้อย่าง

ต.เนื้อย่าง คลิก https://bit.ly/3ugPLeD

16

ภาพจาก แฟรนไชส์ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด

ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด คลิก https://bit.ly/3m3PmYZ

15

ภาพจาก แฟรนไชส์ธงไชย ผัดไทย

ธงไชย ผัดไทย คลิก https://bit.ly/3kHC3Op

 

14

ภาพจาก แฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวเรือหนองหาร

ก๋วยเตี๋ยวเรือหนองหาร คลิก https://bit.ly/3obN5hi

13

ภาพจาก แฟรนไชส์ฮ็อป ชาเฟ่

ฮ็อป ชาเฟ่ คลิก https://bit.ly/3zHvWxX

12

ภาพจาก แฟรนไชส์ชอบชา

ชอบชา คลิก https://bit.ly/3ocfgg6

11

ภาพจาก แฟรนไชส์ชาไข่มุก ไอ-ฉะ

ชาไข่มุก ไอ-ฉะ คลิก https://bit.ly/3o9A07Y


Business Format Franchise (แฟรนไชส์ระบบ)

10

ภาพจาก bit.ly/3m4CMZB

รูปแบบของ แฟรนไชส์ Business Format Franchise ในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้านบาท เช่น 7-Eleven ขณะที่ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกามีธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหมด 770,000 กิจการ และกว่า 80% เป็นธุรกิจแฟรนไชส์รูปแบบ Business Format Franchise

แฟรนไชส์ขายสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อฟรนไชส์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อการค้า ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจและระบบการทำงานต่างๆ ให้กับแฟรนไชส์ซี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้า แฟรนไชส์ซีซื้อระบบธุรกิจที่สมบูรณ์จากแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายมีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จ ทุกสาขาแฟรนไชส์จะมีมาตรฐานเดียวกัน เช่น อาหารของแมคโดนัลด์จะมีรสชาติเหมือนกันไม่ว่าคุณจะซื้อจากร้านไหน

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด เช่น Pizza Hut, McDonald’s และ Burger King เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของ Business Format Franchise โดยแฟรนไสชส์จะให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จตลอดอายุสัญญา ขณะที่แฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าสิทธิ Royalty Fee และ Marketing Fee เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายในแต่ละเดือนให้กับแฟรนไชส์ซอร์ประมาณ 3-5%

ข้อดี

  • มาตรฐานสูง
  • มีระบบคอยควบคุม
  • แข่งขันได้อยู่ได้นาน

ข้อเสีย

  • ทำยากใช้เวลานาน
  • ลงทุนมาก
  • ขยายตัวช้า
  • เหมาะกับธุรกิจที่บริการ/ขนาดกลาง-ใหญ่ ที่มีระบบการบริหารที่ดี

#ตัวอย่างรูปแบบแฟรนไชส์ Business Format Franchise น่าลงทุน

9

ภาพจาก ธุรกิจห้าดาว

ธุรกิจห้าดาว คลิก https://bit.ly/2ZBawX5

8

ภาพจาก แฟรนไชส์เชสเตอร์

เชสเตอร์ คลิก https://bit.ly/2Y4NO9l

7

ภาพจาก แฟรนไชส์ซูชินินจา

ซูชินินจา คลิก https://bit.ly/2Zuxoax

6

ภาพจาก แฟรนไชส์ร้านใส่นม

ร้านใส่นม คลิก https://bit.ly/3ofln35

5

ภาพจาก แฟรนไชส์กาแฟมวลชน

กาแฟมวลชน คลิก https://bit.ly/3o7xWgZ

4

ภาพจาก แฟรนไชส์สตาร์คอฟฟี่

สตาร์คอฟฟี่ คลิก https://bit.ly/3EYh0ze

3

ภาพจาก แฟรนไชส์ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส และเซเว่นอีเลฟเว่น

ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส และเซเว่นอีเลฟเว่น คลิก https://bit.ly/3kJLFs1

2

ภาพจาก bit.ly/3kJ0z1O

แฟมิลี่มาร์ท คลิก https://bit.ly/3EUZGLv

นั่นคือความแตกต่างของการ ซื้อแฟรนไชส์ Product Franchise และ Business Format Franchise ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดี-ข้อสียแตกต่างกัน ใครอยากทำแฟรนไชส์ หรือใครอยากซื้อแฟรนไชส์ ต้องเลือกเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด โดยเรื่องของเงินลงทุนและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CWhzI9

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช