อวสาน “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” หมดยุคเสือนอนกิน

สมัยก่อนหลายๆ คนอาจจะได้ยินคนพูดกันว่า “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” เป็นธุรกิจ “เสือนอนกิน” ลงทุนเพียงครั้งเดียวมีรายได้เข้ามาตลอดชีวิต เป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานก็ยังได้ แต่มาสมัยนี้ไม่ใช่ “เสือนอนกิน” อีกต่อไป ผู้ประกอบการหอพักต้องตื่นตัว ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าถึงจะอยู่รอดได้ มาดูเหตุผลกันว่า ทำไม “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” นอนกินอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว

ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก

1. ธุรกิจห้องเช่า-หอพักได้รับความนิยมและเติบโตตามความต้องของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ถ้าพื้นที่หรือจังหวัดไหนมีกลุ่มคนอาศัยน้อย เช่น นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท พนักงานโรงงาน พนักงานห้างร้านต่างๆ จะทำให้ธุรกิจห้องเช่าได้รับผลกระทบ ไม่มีคนเช่า ไปไม่รอด

2. ธุรกิจหอพัก มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เข้มงวด กลุ่มลูกค้าเป็นนักเรียน นักศึกษา แยกห้องพักชายหญิง มี พ.ร.บ.หอพักควบคุมชัดเจน ทำให้ผู้ประกอบการไม่อยากทำธุรกิจหอพักมากนัก ส่วนใหญ่ที่พักใกล้สถานศึกษาในปัจจุบันจะเป็น “อพาร์ตเมนต์” มากกว่า

3. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก มีการแข่งขันในตลาดสูง โดยเฉพาะคู่แข่ง “อพาร์ตเมนต์” และ “คอนโดมิเนียม” รวมถึงที่พักรูปแบบอื่นๆ ที่มีความทันสมัย และระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น

4. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการลูกค้า เช่น ร้านค้าใต้ตึก เครื่องซักผ้า ลาดจอดรถที่เพียงพอ ระบบบริการลูกค้า ฟิตเนส สระว่ายน้ำ เป็นต้น

5. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก จะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับความต้องการพักของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เช่น ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ โรงงานจำนวนมาก จะมีห้องเช่าเกิดขึ้นมารองรับ แต่ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โรงงานปิดกิจการ พนักงานกลับบ้าน ก็กระทบต่อธุรกิจห้องเช่าทันที

นั่นเป็นเหตุผลที่บ่งบอกให้เรารู้ว่า “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” ไม่ใช่ธุรกิจ “เสือนอนกิน” อีกต่อไป ที่จะลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บกินระยะยาว มีรายได้แบบ “Passive Income” ไปตลอดชีวิต เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตื่นตัว ปรับรูปแบบบริการให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่

ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช