สุกี้ ตี๋น้อย vs ลัคกี้ สุกี้

หากพูดถึงร้านอาหารบุฟเฟ่ต์แนวสุกี้ในเมืองไทยที่ได้รับความนิยมและกำลังมาแรงในตอนนี้ หนึ่งในนั้นคงจะมีชื่อของ “สุกี้ ตี๋น้อย” ที่มีเอกลักษณ์เปิดเที่ยงวันยันตีห้า รวมถึงร้านบุฟเฟต์น้องใหม่มาแรงอย่าง “ลัคกี้ สุกี้” ด้วยยอดขายสาขาแรกวันละ 1.82 แสนบาท ทั้งสองแบรนด์สุกี้บุฟเฟ่ต์มีจุดเด่นและน่าสนใจอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

“สุกี้ ตี๋น้อย”

ภาพจาก https://www.facebook.com/sukiteenoithailand/

ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ “สุกี้ ตี๋น้อย” ได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย มีสาขาราวๆ 41 แห่ง ภายใต้การบริหารของ “คุณนัทธมน พิศาลกิจวานิช” ผู้ก่อตั้งบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด จุดเริ่มต้นของ “สุกี้ ตี๋น้อย” มาจากครอบครัวของเธอดำเนินธุรกิจร้านอาหารเรือนปั้นหยามาก่อน ทำให้เธออยากทำธุรกิจร้านอาหารของตัวเอง

สำหรับสุกี้ ตี๋น้อยได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพราะราคาสบายกระเป๋า 219 บาท เปิดให้บริการ 12.00-05.00 น. ลูกค้าสามารถเลือกทานได้ทุกเมนู ตั้งแต่เนื้อวัวไปจนถึงซีฟู้ด นั่งได้สูงสุด 1.45 ชั่วโมง จึงทำให้สุกี้ตี๋น้อยคุ้มค่ากว่าที่อื่นๆ

ภาพจาก https://www.facebook.com/sukiteenoithailand/

จุดเด่นของร้านสุกี้ตี๋น้อยอีกอย่าง คือ แต่ละสาขาจะมีที่จอดรถกว้าง ยิ่งสาขาไกลๆ สาขาในอาคารสำนักงานก็จอดที่อาคารได้ ปัจจุบันร้านสุกี้ตี๋น้อยมี 41 สาขา ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ ถนนพหลโยธิน เลียบทางด่วน ถนนเกษตร-นวมินทร์ กาญจนาภิเษก แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าววังหิน ศรีนครินทร์ สมุทรปราการ พระราม 4 ฯลฯ

นอกจากนี้ ร้านสุกี้ตี๋น้อยยังมีการออกโปรโมชั่นอยู่ตลอดเวลา จึงกลายเป็นร้านบุฟเฟต์ที่สามารถจับกลุ่มลูกค้าปกติและลูกค้าที่ทำงานตอนกลางคืน รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่ไม่ต้องกังวลต่อการรีบเพื่อกลัวว่าร้านจะปิดก่อนอีกด้วย ด้วยความที่เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยได้มีกลุ่มทุนใหญ่อย่าง JMART เข้ามาถือหุ้นสัดส่วน 30% คิดเป็นเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท นั่นทำให้กิจการสุกี้ตี๋น้อยมีมูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท

ภาพจาก https://www.facebook.com/sukiteenoithailand/

รายได้ สุกี้ ตี๋น้อย

  • ปี 62 รายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท

“ลัคกี้ สุกี้”

ลัคกี้ สุกี้

ลัคกี้ สุกี้ น้องใหม่ในตลาดธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์เมืองไทย ก่อตั้งเมื่อช่วงปี 2564 อยู่ภายใต้การดำเนินงานบริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด โดยแบรนด์ ลัคกี้ สุกี้ เกิดจากการร่วมทุนของผู้บริหาร 4 คน ที่ไม่ได้อยู่ในวงการอากหารมาก่อน ได้แก่ นางสาวรสรินทร์ ติยะวราพรรณ, นายวิรัตน์ โรจยารุณ, นางรุ่งทิวา วิพัฒนานันทกุล และ นายอิทธิพล ติยะวราพรรณ

สำหรับจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ลัคกี้ สุกี้ มาจากหนึ่งในสมาชิกผู้บริหารมีน้ำจิ้มสุกี้ประกอบกับที่ผ่านมาหุ้นส่วนได้ชวนไปทานอาหารที่ร้านอยู่บ่อยครั้ง ทำให้มีแนวคิดที่จะทำธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์สุกี้ เพราะผู้บริโภคชาวไทยนิยมทานบุฟเฟ่ต์อันดับต้นๆ ของโลก

ลัคกี้ สุกี้

ลัคกี้ สุกี้ เปิดสาขาแรกที่เดอะพีเพิลคอมมูนิตี้มอลล์ อ่อนนุช เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2565 รองรับลูกค้าได้ 110 ที่นั่ง หลังจากเกิดให้บริการได้รับการตอบรับจากลูกค้าดีมาก มีรายได้วันละ 1.82 แสนบาท ขณะที่สาขา 2 เปิดให้บริการที่โลตัส บางนา ขนาดพื้นที่ 500 ตารางเมตร ความจุลูกค้าได้ 170 ที่นั่ง ส่วนสาขาที่ 3 ชั้น 2 ท็อปส์ สาธุประดิษฐ์ 49 และสาขา 4 ชั้น 1 โลตัสคลองหลวง แต่ละสาขาจะใช้งบประมาณลงทุนกว่า 25 ล้านบาท

โดยเป้าหมายของลัคกี้ สุกี้ ต้องการเปิดร้านให้ได้ 4 สาขาต่อปี อยากเติบโตแบบช้าๆ เนื่องจากต้องการควบคุมในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน หาทำเลที่เหมาะสม เน้นเปิดร้านในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

ลัคกี้ สุกี้

ภาพจาก https://www.facebook.com/luckysuki.bkk/

สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของลัคกี้ สุกี้ คือ กลุ่มแมส ครอบครัว กลุ่มเพื่อน และคนทำงาน ราคาเริ่มต้น 219 บาทเท่ากับสุกี้ ตี๊น้อย เปิดให้บริการถึงตี 2 เพื่อรอกลุ่มลูกค้าทำงานกลางคืน ส่วนเมนูอาหารในร้านลัคกี้ สุกี้ มีหลากหลาย อาทิ ขนมจีบ ซาลาเปา ของทอด

โดยจะเปลี่ยนน้ำซุปใหม่ทุก 3 เดือน มีน้ำซุปโดดเด่นอย่างน้ำดำ และน้ำเย็นตาโฟ รวมถึงน้ำจิ้มสูตรกวางตุ้งและไหหลำ ทั้งนี้ จากการที่ลัคกี้ สุกี้ ก่อตั้งเมื่อช่วงปี 2564 ทำให้ในปี 2564 รายได้ยังขาดทุนกว่า 1.17 ล้านบาท

นั่นคือ จุดเด่นและความน่าสนใจของร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่กำลังมาแรงในเมืองไทยอย่าง สุกี้ ตี๋น้อย และ ลัคกี้ สุกี้ ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 219 บาทเหมือนกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช