รวมกระแสดราม่า สุดช็อค! ธุรกิจไทยในปี 66

ตลอดทั้งปี 2566 มีกระแสดราม่าอะไรเกิดขึ้นกับธุรกิจไทย รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการร้านค้า แต่ละเรื่อง แต่ละประเด็นมีความร้อนแรง และมีการถกเถียงกันมากแค่ไหน มาดูกัน

1.สุกี้ตี๋น้อยห้ามนำน้ำจิ้ม-น้ำซุป ภายนอกเข้าร้าน

รวมกระแสดราม่า

ภาพจาก https://bit.ly/48DwE1f

เป็นกระแสดราม่าในกลุ่มคนรักบุฟเฟ่ต์ กรณีลูกค้ารายหนึ่งได้โพสต์ข้อความทำนองขอลาจากร้านสุกกี้ตี๋น้อย แต่ก่อนเคยพกน้ำจิ้มพอนสึเข้าไปในร้านได้ เพราะเขาไม่กินน้ำจิ้มสุกี้ จนพนักงานไม่ให้นำน้ำจิ้มเข้าไปอีกแล้ว อาจเป็นเพราะทางร้านต้องการรักษามาตรฐาน เมื่อคนโพสต์มีการสอบถามไปยังร้านทางแชทข้อความอีกครั้ง ได้คำตอบว่า ทางร้านไม่อนุญาตให้นำเครื่องปรุง น้ำจิ้ม หรือน้ำซุปจากภายนอกเข้ามาในร้านทุกชนิด

2.สุกี้ตี๋น้อย ยุติการเสิร์ฟ น้ำซุปกระดูกหมู

รวมกระแสดราม่า

ภาพจาก https://bit.ly/41ER9bu

อีกหนึ่งดราม่ากรณีทางร้านได้รับข้อติชมเรื่อง “น้ำซุปกระดูกหมูทางคตสึ” จึงขอยุติการเสิร์ฟก่อนกำหนด 29 พ.ย. 2566 ทางร้านขอนำข้อติชมไปพัฒนาปรับปรุงสูตรน้ำซุปใหม่ แต่ลูกค้าหลายๆ คนกลับแสดงความเห็นว่า รสชาติก็อร่อยดี

3.ร้านอาหารนำ “จานอาหาร” ที่ใช้ถ่ายรูปมาเสิร์ฟ

รวมกระแสดราม่า

ภาพจาก https://bit.ly/3RZDIQa

เป็นประเด็นจากทางร้านจ้างช่างภาพมาถ่ายรูปเมนูอาหาร มีการใช้มือจับจานด้วย เอาหน้าไปใกล้ๆ จาน แล้วทางร้านนำจานอาหารที่ช่างภาพใช้ถ่ายรูปมาเสิร์ฟให้ลูกค้า จนเจ้าของร้านออกมาขอโทษเรื่องที่เกิดขึ้น และนำไปปรับปรุง

4.ร้านชาบู เปิดสาขาใหม่ ไม่รับลูกค้าวอร์คอิน

มีคนโพสต์เฟซบุ๊ค ในกลุ่มผู้บริโภค ร้านชาบูแห่งหนึ่งเปิดร้านวันแรก 4 มิ.ย. 2566 มีโปรโมชั่นมา 4 จ่าย 2 ต้องซื้อคูปองผ่านไลน์ แต่คนโพสต์ซื้อไม่ทัน ขายหมดไปก่อน ทำให้เขาต้องจ่ายราคาเต็มหัวละ 489+ พอเข้าไปในร้านสั่งอาหารก็หมดหลายเมนู สอบถามทางร้านไม่รับลูกค้า Walk-in มีเมนูเตรียมไว้สำหรับคนจอง แต่ไม่บอกลูกค้าตั้งแต่ตอนเข้าร้าน

5.ปังชา ฟ้องร้านอาหารที่ใช้คำว่า “ปังชา” กว่า 102 ล้านบาท

รวมกระแสดราม่า

ภาพจาก www.facebook.com/PangchaThaiteaCafe

เป็นดราม่ามีคนพูดถึงเกือบ 2 หมื่นข้อความใน 5 วัน หลังจากร้านชื่อดังแจ้งว่าทางร้านได้จดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าเมนู “ปังชา” ต่อมามีการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์กับร้านอาหารที่ใช้คำว่า “ปังชา” กว่า 102 ล้านบาท จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การฟ้องร้องตามมา จนกระแสตีกลับไปยังร้านที่ฟ้องร้อง

6.บุฟเฟ่ต์แซลมอนร้านดัง เสิร์ฟอาหารไม่ตรงปก

รวมกระแสดราม่า

ภาพจาก https://bit.ly/4aAqgcR

เกิดดราม่าในโซเชียลเมื่อลูกค้ารายหนึ่งไปกินบุฟเฟ่ต์ร้านดังแถวบางแสน แต่ได้อาหารไม่ตรงปก รูปภาพอาหารในเพจของร้านดูดี ชิ้นใหญ่แซลมอนเนื้อสดฉ่ำ แต่ของจริงต่างจากในรูปลิบลับ

7.กิจกรรม 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารท้องถิ่น คนพื้นที่หลายจังหวัดงง

 

ภาพจาก https://bit.ly/47kGxzM

กลายเป็นดราม่าหลังจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประกาศผลคัดเลือกกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปี 2566” ผลการคัดเลือกเกิดเสียงวิจารณ์จากชาวบ้านในพื้นที่ว่า ทำไมเมนูนี้ เมนูนั้น ได้รับการคัดเลือก หรือบางเมนูคนในท้องถิ่นหลายคนไม่รู้จัก ทั้งที่เกิดมาหลายสิบปี

8.ดราม่าแย่งสิทธิเป็นเจ้าของร้านกาแฟดัง จันทบุรี

ภาพจาก https://bit.ly/3va0Wdm

เป็นประเด็นระหว่างภรรยาเก่าและภรรยาใหม่ โดยภรรยาเก่าและลูกๆ เข้ามาบริหารกิจการร้านกาแฟแทนภรรยาใหม่ หลังอดีตสามีเสียชีวิต ทำให้มีการโพสต์แย่งสิทธิ์เป็นเจ้าของร้านกาแฟในเฟซบุ๊ค จนเกิดความขัดแย้งกันขึ้น โดยภรรยาใหม่อ้างว่าใช้เงินเก็บตัวเองลงทุนทั้งหมด

9.พนักงานร้านอาหาร ไม่เปลี่ยนถุงมือ หลังเช็ดโต๊ะ จับเงิน

ภาพจาก https://bit.ly/3TBOfCp

มีการโพสต์ภาพพนักงานร้านอาหารแห่งหนึ่งในกลุ่ม “พวกเราคือผู้บริโภค” กำลังบริการลูกค้าในร้าน บางรูปกำลังเก็บกวาด ทำความสะอาดโต๊ะ โดยผู้โพสต์ตั้งข้อสังเกตว่า พนักงานในร้านเก็บโต๊ะเสร็จแล้วมาเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า โดยไม่เปลี่ยนถุงมือ แบบนี้เหมาะสมหรือไม่ ทำให้เกิดการถกเถียงอย่างแพร่หลาย เกี่ยวกับเรื่องความสะอาด

10.แฟรนไชส์ลูกชิ้นเชฟอ้อยเอาเปรียบ

เกิดดราม่าจนติดเทรนด์ในโซเชียล กรณีผู้เสียหายจากการซื้อแฟรนไชส์ “ลูกชิ้นเชฟอ้อย” ร้องขอความเป็นธรรม ซื้อแฟรนไชส์ 2.5 แสนบาท แต่เชฟอ้อยส่งอุปกรณ์ทำลูกชิ้นล่าช้าทำให้ธุรกิจเสียหาย แบกรับต้นทุน อีกทั้งยังต้องซื้อลูกชิ้นจากเชฟอ้อยมาขายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ทำให้ไม่ได้กำไรจากการขาย จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างดุเดือดในรายการโหนกระแส

11.หมู่บ้านมีปัญหากับโรงเรียน อ้างทำเสียงดัง

ภาพจาก https://bit.ly/3tvn9SV

กลายเป็นดราม่าจากกรณีโรงเรียนแห่งหนึ่ง ถูกลูกบ้านในหมูบ้านร้องเรียนว่า เสียงดังรบกวน เป่านกหวีดจราจร ทำให้เกิดการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ หลายคนบอกว่าโรงเรียนอยู่มาก่อนหมู่บ้าน 30 กว่าปี กลายเป็นดราม่าในโลกออนไลน์ แต่ความจริงเป็นแค่ลูกบ้าน 1 หลังร้องเรียนเท่านั้น

12.สั่งอาหารร้านหมูกระทะดัง ได้ไม่ตรงปก

ภาพจาก TikTok @smild_10

เป็นกระแสดราม่าใน TikTok มีคนรีวิวร้านหมูกระทะแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ ชื่อร้าน The Garden Grill ในราคาหัวละ 259 บาท จนมีคนตามรอยไปก่อนจำนวนมาก แต่กลับพบว่าร้านอาหารทำอาหารไม่ตรงปก สภาพร้านดูไม่สะอาด ทำให้เกิดการรีวิวโต้กลับนักรีวิวชื่อดังหาดใหญ่ มีคนดูมากกว่า 2.8 ล้านวิว

13.สั่งของจากขนส่งดัง แฟลช ของตกค้างเพียบ

ภาพจาก facebook.com/FlashExpressThailand

เกิดประเด็นดราม่าบริษัทขนส่งชื่อดัง มีพัสดุตกค้างในคลังสินค้าจำนวนมาก จากปัญหาขาดแคลนพนักงาน จนได้รับความสนใจอย่างมากในโลกออนไลน์ เพราะหลายคนสั่งของผ่านขนส่งรายนี้ ต่อมามีเพจสหภาพไรเดอร์ โพสต์ข้อความบอกพนักงานลาออกเกือบทั้งประเทศ ถูกลดค่าคอม ส่งสินค้า 200-500 ชิ้น/วัน ทำงานหนัก ไม่มีโอที กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย

14.ไก่ทอดหาดใหญ่ สงขลา ขายของแพง

ภาพจาก Youtube : cullen_hateberry

เป็นดราม่าในโซเชียล กรณียูทูปเบอร์ชาวเกาหลี ไปซื้อไก่ทอดร้านนี้ แต่เจ้าของร้านขายไก่ทอด 6 ชิ้น ข้าวหมก 2 กล่อง ราคา 520 บาท กลายเป็นที่ถกเถียงกันว่าขายแพง จนทัวร์ลงร้าน จนเจ้าของร้านออกมายอมรับว่าคิดราคาผิด และขอโทษยูทูปเบอร์ชาวเกาหลีไปแล้ว

15.ควบรวม ทรู-ดีแทค ทำสัญญาณล่มบ่อย

ภาพจาก www.thaipbs.or.th

เกิดดราม่าขึ้นมาจนได้หลังการควบรวม มูลนิธิผู้บริโภคสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการเครือข่ายดีแทคและทรู ร้อยละ 51 เจอปัญหาใหญ่เน็ตช้า สัญญาณหลุดบ่อย โปรโมชั่นแพง คอลเซ็นเตอร์โทรยาก จนเป็นกระแสโด่งดังทำให้ลูกค้าหลายๆ รายอย่างเปลี่ยนไปใช้ค่ายอื่น

16.ดราม่า เติมน้ำมันไม่เต็มลิตร

ภาพจาก www.facebook.com/pttstationofficial

เป็นประเด็นดราม่าก่อนสิ้นปี 2566 กรณีมีการแชร์คลิปเติมน้ำมันดีเซลที่ปั้มน้ำมัน ปตท. ในแก่งคอย มีการสงสัยว่าเกย์วัดน้ำมันผิดปกติ จึงให้ปั้มน้ำมันตรวจสอบปริมาณน้ำมัน เมื่อบีบหัวจ่าย 5 ลิตร 2 ครั้ง ได้ปริมาณน้ำมันขาดไป 25-30 มิลลิลิตร หรือ 0.025-0.030 ลิตร จนมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายในออนไลน์ว่าเอาเปรียบลูกค้า ทำให้กรมการค้าภายในต้องเข้ามาตรวจสอบและสั่งตั้งหัวจ่ายใหม่ ไม่ให้ขาด ไม่ให้เกิน

นั่นคือ 16 กระแสดราม่าที่ร้อนแรงในโลกออนไลน์ ตลอดทั้งปี 2566 เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดราม่าเหล่านี้มาแล้ว ส่วนในปี 2567 จะเกิดดราม่าอะไรบ้าง ต้องติดตามดูกัน 

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consulta

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช