ทำเลร้านดี ลับลวงตา! ถึงขายดี แต่หนี้บาน

มีเงินลงทุนและทำเลที่ดีใช่ว่าจะขายดีได้เสมอไป! สินค้าทุกอย่างมีคู่แข่งของตัวเองมากบ้างน้อยบ้างแต่ต้องเจอแน่ ไม่นับเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ถ้ามองว่าอะไรไม่คุ้ม ก็จะไม่เสียเงินซื้อ เพราะมีตัวเลือกเยอะ ไม่เข้าร้านนี้ก็ยังมีร้านอื่นให้เลือก หรือจะไปช็อปปิ้งออนไลน์แทนก็ได้สบายกว่าเยอะ

ดังนั้นเรื่องทำเลเปิดร้านแม้จะสำคัญแต่ก็ไม่ได้การันตีว่าทุกร้านที่ได้ทำเลดีจะต้องขายดีตามไปด้วย มิหนำซ้ำ! บางร้านกลับมียอดขายสวนทวงแทนที่จะดีขึ้นกลับดิ่งลง เรื่องนี้ผิดที่อะไร?

ก่อนอื่นต้องหันมาสำรวจร้านตัวเองว่ามีข้อบกพร่องอะไรตรงไหนหรือเปล่า เช่น

1.เปิดร้านแบบไม่สนใจกลุ่มเป้าหมาย ขอแค่ให้ใครก็ได้มาซื้อ

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

อาจเพราะเห็นว่าเป็นทำเลดี มีคนพลุกพล่าน มีคนเดินผ่านไปผ่านมาเยอะ โอกาสขายได้มีมากกว่า แต่ในความเป็นจริง ต้องโฟกัสให้ลึกไปอีกว่าสินค้าเราคืออะไร และคนในละแวกนี้เขาสนใจไหม เช่นถ้าเปิดร้านซ่อมเครื่องยนต์ในย่านออฟฟิศ ก็คงไม่มีใครมาใช้บริการเรามากนัก หรือการเปิดร้านอาหารเสื้อผ้าแถวป้ายรถเมล์ที่คนไม่ค่อยมีเวลามาเลือกซื้อ เป็นต้น

2.เวลาเปิดร้านไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้า

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

ต่อให้ทำเลดีแค่ไหน แต่ถ้าร้านเปิดทำการไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตของลูกค้า ก็ปิดโอกาสในการขายเช่นกัน สมมุติว่าเปิดร้าน ย่านแหล่งชุ่มชนที่อยู่อาศัย กลุ่มลูกค้าวัยทำงาน เวลาทำการเปิดร้านตั้งแต่ 11:00 – 17:00 น. ถ้าเวลาเปิดปิดร้านเสอดคล้องกับช่วงเวลาดังกล่าว สินค้าจะดีแค่ไหนก็ขายได้ยาก

3.ราคาสูงเกินกว่ากำลังซื้อของคนในพื้นที่

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

สินค้าดีจริง บริการดีจริง แต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะขายไม่ได้เช่นกัน สิ่งที่เราควรรู้คือในย่านนั้นกำลังซื้อคนส่วนใหญ่เป็นอย่างไร สินค้าแบบไหนคือสิ่งที่ต้องการ และอะไรที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อได้ทันที เราต้องประเมินสิ่งเหล่านี้ร่วมด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องทำเลที่มีคนพลุกพล่านอย่างเดียว

4.คิดว่าหน้าร้านและบรรยากาศในร้านไม่สำคัญ

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

ต่อให้อยู่ในย่านทำเลทอง แต่เรื่องหน้าร้านและบรรยากาศร้านก็ต้องดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม การจัดหน้าร้านต้องให้ดึงดูดลูกค้า สวยงาม สะอาด บรรยากาศในร้านน่านั่งน่ากิน หรือถ้าเป็นร้านค้าปลีก ต้องมีการจัดวางสินค้าให้เลือกซื้อง่าย บรรยากาศในร้านต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกมีความสุข แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในยุคนี้

5.คิดว่าการตลาดออนไลน์ไม่สำคัญ

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

ใช่ว่าอยู่ในทำเลที่ดีแล้วจะไม่ต้องสนใจเรื่องตลาดออนไลน์ ยุคนี้คนเข้าถึงข้อมูลจากโซเชี่ยลเยอะมาก ถ้าในเพจของร้านเราไม่ได้มีความน่าสนใจ ไม่เคยอัดเดทอะไรใหม่ๆ หรือลงอะไรที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยคิดว่าจะหวังยอดขายเฉพาะคนที่ผ่านไปผ่านมาหน้าร้าน ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมทำเลดีแต่ขายได้ไม่ดีเท่าร้านอื่น ที่เขาอาจเน้นตลาดออนไลน์ ทำเพจสวยงามลงเรื่องราวเกี่ยวกับร้าน มีการพูดคุยโต้ตอบกับลูกค้า มีรีวิว มีการแชร์เรื่องน่าสนใจ ก็จะทำให้คนสนใจร้านได้เยอะขึ้นด้วย

ในกรณีที่ดูร้านค้าตัวเองว่าไม่มีข้อบกพร่องตรงไหน ลำดับต่อมาเพื่อให้ขายดีขึ้นในย่านทำเลทอง หลายคนมองข้ามเรื่องการตลาด เพราะอย่าลืมว่าทำเลที่ดีคู่แข่งก็มีเยอะมาก ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดที่ควรนำมาใช้ก็มีผลต่อยอดขาย โดยมีหลายกลยุทธ์ที่น่าสนใจเช่น

1. “Fighting Brand” กลยุทธ์ “ฆ่าคู่แข่ง”โดยเฉพาะ

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

เป็นกลยุทธ์ที่เก่าแก่ของวงการธุรกิจ เน้นเอาชนะคู่แข่ง ด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่ “คุ้มค่า” มากกว่า ยกตัวอย่าง HUAWEI ที่เคยออกแบรนด์ลูกที่ชื่อว่า Honor เน้นขายสมาร์ตโฟนราคาประหยัด เจาะกลุ่มวัยรุ่น เพื่อแข่งกับ Xiaomi ที่มาแรงในหลายประเทศ เป็นต้น

2.Humor Marketing การตลาดแบบติดตลก

ทำเลร้านดี ลับลวงตา

การใช้ Context เชื่อมโยงกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่าน Mood & Tone ของการ “ล้อเลียน” หรือ “มุกตลกขำขัน” ข้อมูลระบุว่า 42% ของคอนเทนต์ที่มีเนื้อเรื่องธรรมดามักจะถูกลืม ในขณะที่ 60% ของคอนเทนต์ที่มีอารมณ์ขันอย่างเป็นธรรมชาติมักจะได้รับการจดจำเป็นอย่างดี

3.Freemium อยากได้ต้องจ่ายเพิ่ม

Freemium มาจากคำว่า Free + Premium ผสมรวมกันมีความหมายว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ใช้ได้ฟรี แต่ถ้าหากอยากได้ความพิเศษหรือสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ซึ่งลูกค้าบางกลุ่มที่อยากได้ความเป็นพรีเมี่ยมก็จะเลือกจ่ายเงินเพิ่ม แม้จะเป็นการเพิ่มเงินเล็กน้อยแต่ถ้ามีลูกค้าหลายคนรายได้ของร้านก็จะเยอะมากขึ้นด้วย

4.Cute Marketing ใช้ความน่ารักสินค้าเป็นจุดขาย

การตลาดแบบ Cute Marketing ง่ายมากในการทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปาก ให้บอกต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นกลยุทธ์ทางอ้อมที่เจ้าของธุรกิจไม่ต้องเปลืองงบในการโฆษณา แต่คนรู้จักสินค้ามากขึ้น และมีโอกาสขายได้มากขึ้น

เคล็ดลับของการเปิดร้านให้ขายดีจึงไม่ใช่แค่ทำเลดีเพียงอย่างเดียว ธุรกิจของเราเองก็ต้องมีการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ปัจจัยหลายอย่างมีผลต่อยอดขายไม่ว่าจะพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย , กำลังซื้อ , คู่แข่ง ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจแบบนี้ รายได้ของคนส่วนใหญ่มีน้อย สวนทางกับรายจ่ายที่มากขึ้น การจับจ่ายใดๆ มักจะคิดหน้าคิดหลัง สินค้าหรือบริการต้องสำคัญและน่าสนใจจริงๆ จึงจะขายได้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด