ถกไม่เถียง! แฟรนไชส์ Café Amazon 4 พันกว่าสาขา รสชาติไม่เหมือนกัน จริงหรือ?

คาเฟ่ อเมซอน” คนนิยมและยอดขายดีที่สุดในประเทศไทย แต่ทำไมลูกค้าหลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แต่ละสาขา รสชาติไม่เหมือนกัน บางครั้งสาขาเดิมๆ ที่ไปซื้อ บางวันอร่อยเข้มข้น บางวันไม่อร่อย เป็นเพราะอะไรมาดูกัน

ปัจจบันแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” มีสาขาทั้งหมดในประเทศไทยกว่า 4,159 สาขา แบ่งเป็นในปั้มน้ำมัน ปตท. 2,232 สาขา นอกปั้ม 1,927 สาขา ในปี 2566 พบว่าร้านคาเฟ่ อเมซอน มียอดขายในร้านที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ญี่ปุ่น โอมาน เมียนมา มาเลเซีย และซาอุดิอาระเบีย รวมทั้งสิ้น 371 ล้านแก้ว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 14 ล้านแก้ว

ในประเทศไทยแต่ละสาขามียอดขายเฉลี่ย 250-300 แก้วต่อวัน ถือเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดอันดับ 6 ของโลก และเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่คนไทยให้ความสนใจลงทุนเปิดร้านมากที่สุด เฉลี่ย 400-500 รายต่อเดือน

รูปแบบการลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์คาเฟ่ อเมซอน มี 2 รูปแบบ

1. ในอาคาร (Shop) ขนาดพื้นที่ 40 ตร.ม. ขึ้นไป

  • งบลงทุน 2,349,000 – 3,709,000 บาท
  • ค่า Royalty Fee 3% ของยอดขายรายเดือน
  • ค่า Marketing Fee 3% ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง POS 24,000 บาท/ปี
  • อายุสัญญา 6 ปี (รีโนเวทร้านทุก 3 ปี)

2. นอกอาคาร (Stand Alone) ขนาดพื้นที่ 100 – 200 ตร.ม.
(รวมสวนหย่อม)

  • งบลงทุน 2,649,000 – 4,209,000 บาท
  • ค่า Royalty Fee 3% ของยอดขายรายเดือน
  • ค่า Marketing Fee 3% ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง POS 24,000 บาท/ปี
  • อายุสัญญา 6 ปี (รีโนเวทร้านทุก 3 ปี)

“คาเฟ่ อเมซอน” แต่ละสาขา รสชาติต่างกันจริงๆ มั๊ย!

จากการสอบถามคนที่เป็นลูกค้าประจำของร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” หลายๆ คน บอกว่า รสชาติกาแฟจะไม่เหมือนกันบางร้านจะเข้มมาก บางร้านออกแนวหวานหน่อย บางร้านออกจืดๆ อาจเป็นเพราะสัดส่วนในการผสมกาแฟเท่ากัน แต่ความหนักมือของบาริสต้าแตกต่างกัน บางร้านให้ล้นๆ พูนๆ บางร้านก็เบาส่วนผสมทำให้จืด

คอกาแฟจริงๆ จะรู้ว่ารสชาติไม่เหมือนกัน มีสาเหตุมาจากคนชง แต่ละสาขาจะไม่เหมือนกัน บาริสต้าแต่ละคนน้ำหนักมือต่างกัน กะปริมาณกาแฟ การ Tamp (กด) แน่น เบา เอียง ไม่เท่ากัน ทำให้มีผลต่อรสชาติกาแฟ เห็นได้ว่าคอกาแฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยยอมเปลี่ยนสาขา ซื้อกาแฟที่ร้านประจำตลอด แม้สาขาเดียวกัน คนชงคนละคนรสชาติก็มีเพี้ยนได้

สรุปก็คือ เรื่องรสชาติกาแฟไม่เหมือนกันในแต่ละสาขา ปัญหาหลักๆ อยู่ที่คนชง ปริมาณส่วนผสมวัตถุดิบ ถ้าเป็นธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ต้องใส่ใจเรื่องมาตรฐานรสชาติ ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพแต่ละสาขาอย่างเข้มข้นสม่ำเสมอ

มีหลายๆ ธุรกิจเมื่อขยายสาขามากไป ทำให้การควบคุมคุณภาพมาตรฐานลำบาก ดังนั้น ธุรกิจเฟรนไชส์ไม่ควรขยายสาขาเร็วเกินไป ต้องเข้มเรื่องระบบหลังบ้าน มีการตรวจสอบมาตรฐานแต่ละสาขา หากร้านหนึ่งแย่กระทบอีกหลายร้านแน่นอน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช