6 กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล ปรับใช้ SMEs

เลือกตั้งผ่านไปเรียบร้อยตอนนี้ก็เฝ้ารอรัฐบาลชุดใหม่ได้แสดงฝีมือตามที่ประกาศไว้ ซึ่งในปี 2566 บรรดา SMEs ยังต้องฝ่ามรสุมหลายด้าน ซึ่งในเรื่องของการตลาดและนโยบายการบริหารต้องวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะพาธุรกิจ “ก้าวไกล” ไปได้มากขึ้น www.ThaiSMEsCenter.com มีมุมมองน่าคิดเป็น 6 กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล ที่เราคิดว่าถ้านำมาปรับใช้รับรองว่า ธุรกิจSMEs จะโตแบบก้าวกระโดดได้

นโยบาย “5ต” ดันการตลาดSMEs ให้ “ก้าวไกล”

กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล

ภาพจาก https://shorturl.at/JMVY2

การกำหนดนโยบายในภาพรวมของพรรคก้าวไกลมีผลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs มาก ซึ่งหากดูจากข้อมูลพบว่าปัจจุบันไทยมี SMEs กว่า 3 ล้านราย มีการจ้างงานถึง 1 ใน 3 ของประเทศ ดังนั้นยุทธศาสตร์การกระตุ้นให้ SMEs เดินหน้าถูกต้องจึงสำคัญมาก ซึ่ง นโยบาย “5ต” ก็เป็นอีกหนึ่งกรอบปฏิบัติของพรรคก้าวไกลที่หากทำได้จริงการตลาดของSMEs น่าจะเติบโตได้อีกมาก ประกอบด้วย

  1. เติมทุน คือ ทุนตั้งตัว 100,000 บาท และทุนสร้างตัว 1,000,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น
  2. เติมตลาด เพื่อให้ SME เข้าถึงตลาดได้มากขึ้น
  3. ตั้งสภา SME ให้สามารถรวมกลุ่มกันได้ มีปากเสียงทัดเทียมกับทุนใหญ่รวมถึงกำหนดนิยาม SME ให้เข้มงวดมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาบริษัทขนาดใหญ่แตกบริษัทขนาดย่อยมาแข่งขัน
  4. ตัดรายจ่าย โดยปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคลในระบบก้าวหน้า ให้ SME เสียภาษีอัตราต่ำลง
  5. แต้มต่อ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่สนับสนุน SME สร้างระบบบริษัทใหญ่ช่วยบริษัทเล็ก เติบโตไปด้วยกัน

อย่างไรก็ดีแนวคิดดังกล่าวก็ยังถือว่าเป็นแค่ภาคทฤษฏี ในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs เอง ก่อนที่จะรอความหวังตรงนั้น ก็ควรมีกรอบปฏิบัติของตัวเองที่ควรทำตั้งแต่วันนี้ เป็น 6 การตลาด SMEs ที่ต้องวิเคราะห์ และลงมือทำทันทีด้วยตัวเองลองไปดูว่ามีอะไรบ้าง

6 กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล ปรับใช้ SMEs

1.หาจุดแข็งธุรกิจที่คู่แข่งเลียนแบบได้ยาก

กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล

ผู้ประกอบการ SMEs ต้องหาคำตอบว่าตัวเราทำอะไรได้ดี แล้วลูกค้าต้องการอะไร แล้วคู่แข่งยังไม่หมายถึงว่าต้องหา Winning Zone ของตัวเองให้เจอ ซึ่งแต่ละธุรกิจจะมี Pain Point ที่ต่างกัน เป็นสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการ จำเป็นต้องวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์นี้ให้ถูกต้อง

2.หากลุ่มลูกค้าของตัวเองให้เจอ

กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล

ผู้ประกอบการต้องหาให้เจอว่ากลุ่มลูกค้าของตัวเองคือใคร มิฉะนั้นจะสับสนแล้วเจอคู่แข่งเต็มไปหมด เราต้องรู้ว่าจะสู้ในกลุ่ม Niche หรือลุยตลาดแบบ Mass เพื่อให้การเลือกกลยุทธ์ในขั้นต่อไปตรงเป้าหมายได้มากที่สุด

3.รับฟังเสียงลูกค้าให้มากที่สุด

กลยุทธ์การตลาดก้าวไกล

ในยุคโซเชี่ยลกระแสต่างๆ มาเร็วมากดังนั้นสิ่งที่ต้องทำตลอดและทำให้มากที่สุด คือการฟังเสียงลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อให้รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร อยากเห็นอะไร ซึ่งการที่ธุรกิจ SMEs มีข้อมูลหรือ Data มากยิ่งมากก็จะกลายเป็น Big Data ที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง

4.ธุรกิจSMEs ยิ่งเร็วยิ่งได้เปรียบ

ยุคนี้ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นปลาเร็วที่ชนะปลาช้า จุดแข็งของ SMEs ในยุคนี้ที่ควรมีคือ “ความเร็ว” ลงมือเร็ว เปลี่ยนตัวเองให้เร็ว เป็นข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายใหญ่ รวมถึง SMEs ต้องรู้จักการสู้ด้วยนวัตกรรมมากขึ้น

5.ต้องสร้างระบบและวัฒนธรรมองค์กรที่ขยายต่อไปได้

ข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าองค์กรใหญ่ มี Business Model ชัดเจน มี Process และ Culture ชัดเจน สาเหตุที่ธุรกิจสตาร์ทอัพ/SME หลายรายที่ไม่สามารถขยายธุรกิจให้โตได้ ก็เพราะไม่สามารถทำให้พนักงานทำตาม Process/ Culture องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.SMEs ต้องตัวเล็กอย่างแข็งแกร่ง

SMEs แม้จะตัวเล็กแต่สิ่งสำคัญคือ “พลัง” ที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง การเป็นธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จไม่ได้วัดผลกันที่ขนาด แต่วัดกันที่ประสิทธิภาพแบบต่อตัวต่อ ในสังคมยุคใหม่ SMEs ไม่ได้แข่งกับใครแต่แข่งกับความต้องการของลูกค้าที่เราต้องก้าวตามให้ทัน รู้จักใช้เทคโนโลยี มีรูปแบบการบริหารที่ชัดเจน ควบคู่กับการรักษาพนักงานที่เก่งเอาไว้ให้ได้ เป็นหัวใจขั้นพื้นฐานของ SMEs ที่แม้ตัวเล็กแต่ก็โตอย่างยิ่งใหญ่ได้

แต่ทุกทฤษฏีทุกแนวคิดเป็นเพียงนามธรรมที่ SMEs ศึกษาได้ สำคัญคือการนำไปปรับใช้ ตัวอย่างของ SMEs ที่ประสบความสำเร็จก็มีอยู่มาก ในขณะเดียวกัน SMEs ที่ไม่รอดก็มีอยู่ไม่น้อย เราต้องรู้ว่าอะไรคือความต่างที่ทำให้อีกคนอยู่รอดขณะที่บางรายไม่รอด แม้การทำธุรกิจในยุคนี้ความเสี่ยงมีสูงแต่หากบริหารจัดการดีและก้าวข้าวอุปสรรคได้เส้นทางของ SMEs ที่จะเติบโตก้าวไกลอย่างสวยงามก็รออยู่ตรงหน้าเช่นกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://citly.me/wn0JX , https://shorturl.asia/hmYIF , https://shorturl.asia/dQg0F

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด