จุดคุ้มทุนที่ร้านอาหารต้องรู้ ขายขนาดไหน ให้มีกำไร

ความคาดหวังของร้านอาหารหลายๆ ร้าน ก็คือ ผลกำไร ขายอย่างไร ไม่ให้ขาดทุน ก่อนคิดเรื่องกำไร ร้านอาหารควรหา จุดคุ้มทุนที่ร้านอาหารต้องรู้ เพื่อจะได้ทราบว่าต้องมียอดขายเท่าไหร่ ถึงมีกำไร เจ้าของร้านอาหารอย่าพลาดนะคะ วันนี้นี้มีสูตรคำนวณจุดคุ้มทุนมาแนะนำกันค่ะ

“จุดคุ้มทุน” คืออะไร มีค่าใช้จ่ายอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง

จุดคุ้มทุนที่ร้านอาหารต้องรู้

จุดคุ้มทุน คือ จุดที่รายรับเท่ากับรายจ่าย หรือรายได้เท่ากับต้นทุน ยังไม่ใช่จุดที่ร้านอาหารได้กำไร เป็นจุดที่ขายแล้วไม่ขาดทุนนั่นเอง ส่วนรายจ่ายของร้านอาหาร ที่ต้องนำไปคำนวณหาจุดคุ้มทุน ประกอบด้วย

  1. ค่าใช้จ่ายคงที่ หรือ Fixed Cost เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเท่าเดิม แม้ว่าร้านอาหารจะขายได้มาก เช่น เค่าเช่า ค่าส่วนกลาง ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ
  2. ค่าใช้จ่ายผันแปร หรือ Variable เป็นค่าใช้จ่ายไม่คงที่ ผันแปรไปตามอาหารที่ขายได้ในแต่ละเดือน เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส และอื่นๆ

จุดคุ้มทุนที่ร้านอาหารต้องรู้

หลักการคำนวณหาจุดคุ้มทุนร้านอาหาร

#จุดคุ้มทุน = ค่าใช้จ่ายคงที่ / (หาร) (1-อัตราค่าใช้จ่ายผันแปร)

สมมติ

  • ร้านของคุณมียอดขายเฉลี่ย 300,000 บาทต่อเดือน
  • มีค่าเช่า 50,000 บาท
  • ค่าจ้างพนักงาน + ค่าแรงเจ้าของร้าน 60,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 50,000 บาทต่อเดือน
  • อัตราค่าใช้จ่ายผันแปรอยู่ที่ 0.35 หรือ 35% ของยอดขาย

จุดคุ้มทุนที่ร้านอาหารต้องรู้

สามารถนำค่าใช้จ่ายข้างต้นมาคำนวณได้ ดังนี้

#จุดคุ้มทุน = 50,000+60,000+50,000 ได้ 160,000 / (1-0.35)

  • = 160,000 / 0.65
  • = 246,154 (ปัดเศษ) บาทต่อเดือน

นั่นแสดงว่าร้านของคุณต้องขายให้ได้อย่างต่ำ 246,154 บาทต่อเดือน ถึงจะไม่ขาดทุน แต่ตอนนี้ยอดขายของร้านคุณยัง “กำไร” อยู่ ไม่ขาดทุนนั่นเอง

สำหรับร้านเครื่องดื่มทั่วไป ถ้าอยากทราบจุดคุ้มทุนว่าต้องขายได้กี่แก้ว เรามีสูตรคำนวณมาให้เช่นกันค่ะ

ถ้าคุณเปิดร้านกาแฟ ขายแก้วละ 40 บาท มีค่าใช้จ่ายคงที่ 12,000 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายผันแปร 20 บาทต่อแก้ว

สูตรการคำนวณหาจุดคุ้มทุน อาจแตกต่างจากร้านอาหารใหญ่ๆ ดังนี้

#จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ / (หาร) (ราคาต่อหน่วย-ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย)

จะได้

  • ค่าใช้จ่ายคงที่ 12,000 บาท
  • อัตราค่าใช้จ่ายผันแปร 20 บาท
  • ราคาขาย 40 บาท

จะได้จุดคุ้มทุน คือ 12,000 / (40-20)

  • จุดคุ้มทุน = 12,000 / 20
  • จุดคุ้มทุน = 600 แก้ว / เดือน

สูตรการคำนวณหาจุดคุ้มทุนที่แนะนำไป ช่วยให้เจ้าของร้านอาหารวางแผนควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ และหาวิธีเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหาร เพื่อผลกำไรที่ตั้งเป้าเอาไว้ได้เป็นอย่างดี

ถ้าเจ้าของร้านอาหารท่านใด ไม่เข้าใจประเด็นไหน หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามเข้ามาได้เลย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช