ค่าเช่าควรเป็นกี่ % ของยอดขาย ถึงจะอยู่ได้

ขายดีซะมากมายแต่สุดท้ายค่าเช่าเอาไปกินหมด! เราเคยคุยกับร้านที่มาเช่าพื้นที่ด้านหน้าร้านสะดวกซื้อ เขาบอกว่าต้องจ่ายเดือนละ 15,000 ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ ได้ยินแบบนี้ก็อึ้ง ถามต่อว่าแบบนี้พี่อยู่ได้เหรอ? เขาก็บอกว่าพอได้กินได้ใช้แต่ไม่มีเหลือเก็บ! !! ก่อให้เกิดคำถามในใจว่า “ต้นทุนค่าเช่า” คืออีกตัวแปรสำคัญของธุรกิจ มันควรจะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ?

เราควรต้องจ่ายแค่ไหน? ร้านเราจึงจะมีกำไรให้เหลือกินเหลือเก็บบ้าง

ชนิดของ “ค่าเช่า” ที่เราควรรู้?

ค่าเช่าควรเป็นกี่ %

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง เช่นค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ค่าอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าค่าเช่าก็มี 2 ประเภท

1.ค่าเช่าตายตัว (Fixed rent) เป็นลักษณะต้นทุนคงที่ ตกลงกันไว้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น (จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญา) ซึ่งส่วนใหญ่สัญญาค่าเช่าก็นิยมทำในรูปแบบนี้ข้อดีคือเห็นต้นทุนชัดเจนว่าแต่ละเดือนเราต้องหาเงินให้ได้เท่าไหร่ ต้องขายของให้ได้เท่าไหร่ เพื่อให้มีเงินพอจ่ายค่าเช่า หักลบรายจ่าย คือมองเห็นภาพรวมกำไรง่ายขึ้น

2.ค่าเช่าแบบสัดส่วนยอดขาย ( Percentage rent) หรือ GP ค่าเช่าแบบนี้จะไม่ได้กำหนดตัวเลขตายตัว เป็นการจ่ายตามยอดขายประมาณ 17 – 30% ของรายได้ ซึ่งเงื่อนไขในแต่ละร้านแต่ละห้างก็จะไม่เหมือนกัน ข้อดีคือขายมากก็จ่ายมาก ถ้าช่วงไหนลูกค้าน้อย เราขายได้น้อยก็จ่ายน้อย ส่วนใหญ่ค่าเช่าแบบนี้จะใช้กับห้างหรือศูนย์การค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ เปิดได้ไม่นาน ก็อยากให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาจับจองพื้นที่ค้าขาย ก็จะเปิดสัญญาเช่าแบบนี้ในเบื้องต้น

แต่ค่าเช่าแบบ Fixed rent ที่โดยส่วนใหญ่ใช้กัน ก็มีทั้งที่คิดแบบเหมาต่อเดือนไปเลยว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ หรืออีกแบบคือใช้เกณฑ์พื้นที่ต่อตารางเมตรเป็นเกณฑ์ จะกำหนดราคาต่อตารางเมตรเท่าไหร่ก็อยู่ที่ทำเลของพื้นที่เป็นสำคัญ เช่น

  • ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง ราคาอาจแพงหน่อยประมาณ 1,800 – 3,500 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน
  • ห้างสรรพสินค้าที่อยู่นอกเมืองราคาต่อตารางเมตรอาจลดลง เช่น 1,500 – 2,500 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เป็นต้น

ต้นทุนค่าเช่าประมาณอยู่ 15 – 20% ร้านอยู่ได้!!

ค่าเช่าควรเป็นกี่ %

คิดง่ายๆ ถ้าเรามียอดขายต่อเดือน 100 บาท ต้นทุนค่าเช่าไม่ควรเกิน 20 บาท เราจะเหลือเงินอีก 80 บาท เอาไปหักต้นทุนต่างๆ เช่นค่าแรง 15 บาท ต้นทุนวัตถุดิบ 40 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 5 บาท เท่ากับจะมีกำไรจริงๆ คือ 20 บาทต่อเดือน

แต่ถ้าค่าเช่าเราสูงเกินไปในขณะที่ค่าแรง + วัตถุดิบ + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของเราก็ยังมี กำไรที่ควรจะเหลือก็จะไม่เหลือ ถึงได้บอกว่าทำไม “ค่าเช่า” ถึงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจ และไม่ใช่แค่นั้น แม้ค่าเช่าจะเป็น ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) แต่ก็สัมพันธ์โดยตรงกับยอดขาย ถ้ายอดขายเราตกเมื่อไหร่ เปอร์เซ็นต์ค่าเช่าของเราก็จะสูงขึ้นทันที และจะไปเบียดเอากำไรให้เหลือน้อยลงหรือหายไปเลย

ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้

สินค้า/ขาย ยอดขาย (บาท) ค่าเช่า (บาท)  คิด%(ค่าเช่า)
อาหาร 100,000 บาท 20,000 บาท 20%
  50,000 บาท 20,000 บาท 40%
  25,000 บาท 20,000 บาท  60%

ยิ่งยอดขายน้อย แม้ค่าเช่าจะคงที่เหมือนเดิม แต่ก็เป็นตัวไปฉุดกำไรให้ต่ำลง วิธีการที่ดีที่สุดคือต้องเพิ่มสัดส่วนยอดขายให้ไปสู่ “จุดคุ้มค่าในการลงทุน” ซึ่งก่อนเปิดร้านใดๆ ก็ตาม ควรคำนวณให้ชัด ยกตัวอย่างเช่น

  • ถ้าอยากเปิดร้านกาแฟแต่เจอค่าเช่าเดือนละ 20,000 บาท
  • ร้านจะเปิดตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น. รวมเวลาเปิดร้านคือ 9 ชั่วโมง
  • ขายกาแฟเฉลี่ยแก้วละ 50 บาท
  • คิดกำลังสูงสุดที่น่าจะขายได้คือ 100 แก้ว/วัน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 10 แก้ว
  • ใน 1 เดือนเราเปิดร้านประมาณ 25 วัน (ตัดวันหยุดของร้าน)
  • ยอดขายที่แท้จริงประมาณ 25 x 100 x 50 = 125,000 บาท
  • ค่าเช่า 20,000 / 125,000 = 16%

ค่าเช่าควรเป็นกี่ %

แสดงว่าถ้าเป็นโมเดลตามที่คิดร้านกาแฟแห่งนี้มีต้นทุนค่าเช่าอยู่ที่ 16% ถ้าร้านมีวิธีในการเพิ่มยอดขายให้ดีเช่นมีโปรโมชัน , พัฒนาการขายช่องทางออนไลน์ หรือเพิ่มสินค้าในร้านให้น่าสนใจก็เท่ากับกระตุ้นให้เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เมื่อไปเฉลี่ยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าเช่าก็จะถูกลงได้อีก แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ยอดขายตกลงไปจากที่คำนวณในเบื้องต้น เปอร์เซ็นต์ค่าเช่าก็จะสูงสวนทางขึ้นมาทันทีเช่นกัน

ฉะนั้นอย่าประมาทและอย่าคิดว่าค่าเช่าซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ จะไม่มีมีผลอะไรกับธุรกิจ หลายร้านที่ขายดีแต่ไม่รอดเพราะค่าเช่าก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง สำคัญคือคุณต้องวางโมเดลการขาย กำหนดกรอบให้ชัดเจน ว่าต้องทำยอดเท่าไหร่ ขายแค่ไหนถึงจะมีรายได้สัมพันธ์กับค่าเช่า ถ้าวางแผนดี บริหารดี ค่าเช่าแพงไหน เราก็สู้ได้ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด