การตลาด 4P สู่ 4E ในธุรกิจแฟรนไชส์

เชื่อว่าคงไม่มีนักธุรกิจหรือนักการตลาดรายใดไม่รู้จัก “ส่วนผสมการตลาด 4P” ซึ่งเป็นแนวคิดของ E. Jerome McCarthy ที่ได้รับการยอมรับอย่างมากของบรรดานักการตลาดและนักธุรกิจมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนธุรกิจที่ทั่วโลกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อต้องการให้สินค้าและบริการขายดิบขายดี และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค

แต่รู้หรือไม่ว่าในยุคปัจจุบันนี้ การตลาดผสมผสานแบบ 4P ไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มากมาย อาทิ ข้าวยากหมากแพง กำลังซื้อลดลง พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การระบาดโควิด รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี นักธุรกิจจำเป็นต้องมีการตลาดแบบ 4E เข้ามาช่วย ซึ่ง 4P เป็นแนวคิดที่พัฒนาจาก 4P เดิมนั่นเอง

การตลาดแบบผสมผสานเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจจาก การตลาด 4P มาสู่ 4E มีความน่าสนใจอย่างไร และจะสามารถสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะสร้างเครือข่ายการเติบโต และดึงดูดนักลงทุนได้หรือไม่ อย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

การตลาดแบบ 4P

1. Product

การตลาด 4P

ภาพจาก https://bit.ly/3CIIkCi

สินค้าและบริการที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องการขาย เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ล้างรถ ซักอบรีด จัดส่งพัสดุ ร้านค้าปลีก ร้านขายยา ร้านขายเครื่องสำอาง โรงเรียนสอนภาษาและเสริมทักษะ ฯลฯ

2. Price

ภาพจาก https://bit.ly/3ked08c

ไม่ใช่ราคาขายปลีกสินค้าและบริการ แต่เป็นราคาขายธุรกิจแฟรนไชส์ เริ่มตั้งแต่หลักพันบาทไปจนถึงหลักล้านบาท โดยแฟรนไชส์ราคาหลักพันถึงหลักหมื่นบาท ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์สร้างอาชีพ แฟรนไชส์ซอร์ขายสินค้า-วัตถุดิบบางส่วนให้แฟรนไชส์ซี ส่วนแฟรนไชส์ราคาหลักแสนถึงหลักล้านบาทเป็นแฟรนไชส์ที่มีระบบมาตรฐาน แฟรนไชส์ซอร์สนับสนุนแฟรนไชส์ซีทุกอย่างตลอดอายุสัญญา ซึ่งราคาแฟรนไชส์อาจมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักลงทุน

ภาพจาก https://bit.ly/3vUOJX5

  • แฟรนไชส์ราคาหลักพัน ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด https://bit.ly/3GBXydu
  • แฟรนไชส์ราคาหลักล้าน https://bit.ly/3GBXAC8

3. Place

ช่องทางการขายธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการออกบูธแสดงสินค้า, การโรดโชว์ต่างประเทศ, จัดสัมมนา, Open House,โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ, จัดทำเว็บไซต์บริษัท, เทเลเซลล์, ไดเร็กเมล์ และอื่นๆ

4. Promotion

กิจกรรมการส่งเสริมการขายที่จะเป็นช่องทางในการสื่อสารไปยังนักลงทุนและผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ เพื่อช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนและผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์อยากจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์โดยเร็ว อาทิ การโฆษณา จัดแคมเปญลดราคา และอื่นๆ


การตลาดแบบ 4E

1. Experience

ธุรกิจแฟรนไชส์จะขายได้ต้องมีเอกลักษณ์แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด โดยเฉพาะสินค้าและบริการต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญผู้บริโภคต้องมีการซื้อซ้ำเป็นประจำ คุณภาพสินค้าและบริการต้องมาตรฐาน รสชาติเหมือนกันทุกสาขา นอกจากนี้เจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีระบบการสนับสนุนและให้คำแนะนำแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญา

ตัวอย่าง แฟรนไชส์ธุรกิจห้าดาว ให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ ทั้งการจัดส่งสินค้ายังจุดประกอบการ กิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น กิจกรรมเปิดร้าน การส่งเสริมการขาย ตลอดจน ทำการโฆษณากระตุ้นการขาย พัฒนาสินค้าใหม่ๆให้โดนใจผู้บริโภค และมีการถ่ายทอดความรู้ในการสร้างธุรกิจแก่ผู้ร่วมธุรกิจอย่างสม่ำเสมอเพื่อความสำเร็จไปด้วยกัน

2. Exchange

ไม่ว่าแฟรนไชส์ราคาหลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หรือหลักล้านบาท จะต้องเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่าให้กับตัวสินค้าและบริการ รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย แฟรนไชส์ราคาถูกแต่สินค้าและบริการได้รับความนิยม ก็คุ้มค่ามากพอที่นักลงทุนจะควักเงินซื้อ ถ้าแฟรนไชส์ราคาแพงแต่สินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ก็ไม่คุ้มค่าที่นักลงทุนจะควักเงินซื้อ

ตัวอย่าง แฟรนไชส์เชสเตอร์ ใช้งบลงทุนกว่า งบลงทุน 6 ล้านบาท แต่คุ้มค่าแก่การบลงทุนเพราะได้รับคำปรึกษาด้านการเลือกทำเลร้าน, การออกแบบร้าน การก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ อีกทั้งแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หนึ่งในความภูมิใจที่คุณจะได้รับในการเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เชสเตอร์ ที่เป็นที่ชื่นชอบและครองใจลูกค้าทั่วประเทศมานานกว่า 24 ปี

3. Everyplace

ภาพจาก แฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส

นอกจากช่องการขายแบบหน้าร้านปกติทั่วไปแล้ว ในยุค New Normal และดิจิทัล เจ้าของแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีช่องทางการขายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Social Media เช่น Facebook, Instagram, TikTok, LINE, Youtube รวมถึงจัดทำเว็บไซต์บริษัท และเข้าร่วมแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่นเดลิเวอรี่ต่างๆ รวมถึงเปิดให้มีบริการรับชำระค่าสินค้าออนไลน์

ตัวอย่าง แฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส ร้านสะดวกซื้อเพื่อธุรกิจแห่งแรกของไทย ที่ตอบโจทย์ทั้งลูกค้าธุรกิจ (B2B) และลูกค้าทั่วไป (B2C) อย่างครบวงจรในที่เดียว สร้างความแตกต่างด้วยการสร้างช่องทางจัดจำหน่ายแบบ Omnichannel ขายได้จากหน้าร้าน และขายผ่านพนักงานขาย (B2B Direct Sales), ขายทางโทรศัพท์ และช่องทางออนไลน์ Social Commerce ผ่าน Line, Facebook Chat & Shop รวมถึงระบบจัดการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

4. Evangelism

เป็นการตลาดแบบผสมผสานรวม 3E มาไว้ด้วยกัน ทั้ง Experience – Exchange – Everyplace เพื่อต้องการดึงดูดลูกค้าขาจรให้กลายเป็นลูกค้าประจำ ทำให้เกิดความประทับใจจนกลายมาเป็นขาประจำ และกลับสู่การทำการตลาดสุดเบสิกอย่าง Word of Month ที่จะช่วยบอกต่อและสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ ให้กับกิจการ เรียกได้ว่าให้ลูกค้าได้ทดลองชิมทดลองใช้ก่อน เมื่อลูกค้ารู้สึกประทับก็จะมีการบอกต่อคนอื่นๆ ให้มาใช้บริการนั่นเอง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3W3ZjWv 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iHr8Gn


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช