ดูแล้วฮึด! Mr.Maurs ซอสปรุงเอง ขายเอง เขาทำได้ เราก็ทำได้

ขอนิยามก่อนเลยว่าดูแล้วฮึดที่ว่านี้ไม่ใช่อ่านแล้วจะลุกขึ้นมาวิ่งหรือทำให้ชีวิตแข็งแรงขึ้นมาแต่อย่างใด แต่คำว่าฮึดในที่นี้คือการฮึกเฮิมที่เห็นเขาทำได้เราก็ทำได้ เหมือนเมื่อก่อนเราดูภาพยนตร์เรื่องหนุ่มน้อยร้อยล้านที่เป็นเรื่องของธุรกิจสาหร่ายทอด เชื่อได้เลยว่าใครที่ได้ดูเรื่องนี้ แทบอยากจะเข้าครัวไปหากระทะ หาสาหร่ายมาทอดขายกันเลยทีเดียว

สิ่งสำคัญของคำว่าแรงฮึดคือมักจะมาแค่ครู่เดียวผ่านไปสักวันเราก็จะลืมเลือนและกลับไปใช้ชีวิตปกติทำให้แรงฮึดที่มีเมื่อวันก่อนกลายเป็นแค่อดีตไปนั้นคือความแตกต่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ได้แต่คิดฝัน ก็เหมือนกับเรื่องที่เรากำลังจะพูดถึงนี้เป็นความจริงที่เกิดในอเมริกากับหนุ่มวัย 32 ที่ทำงานเป็น รปภ.

แต่ด้วยความรู้สึกไม่ชอบซอสที่ซื้อจากตลาดเลยลงมือปรุงซอสขึ้นมาเองและเขาก็ทำจริงจัง ทำซ้ำๆ ทำทุกวัน ทำจนสำเร็จ ซอสของเขาขายได้ขายดีในฐานะของเว็บไซต์ธุรกิจอย่าง www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าน่าจะเป็นแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นไอเดียดีๆให้ใครต่อใครได้ศึกษาอีกมากทีเดียว

Spencer Lindsay เปลี่ยนความคิดให้เป็นธุรกิจมีกำไร!

c1

Spencer Lindsay เป็นหนุ่มชาวอเมริกันวัย 32 ปีเขาทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยที่สำนักงานใหญ่บริษัทอเมซอน ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซในเมืองซีแอตเทิ้ล รัฐวอชิงตัน เรื่องราวทางธุรกิจของเขาเกิดขึ้นเมื่อรสชาติของซอสปรุงอาหาร

เช่น ซอสบาร์บีคิวที่ซื้อตามร้าน ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่เคยถูกปาก ไม่เป็นที่พอใจ Spencer จึงลงมือปรุงซอสไว้รับประทานเอง แต่เมื่อเพื่อนร่วมงานได้ชิม ต่างติดอกติดใจ Spencer จึงทำไปขายในหมู่เพื่อนๆ รปภ.ด้วยกัน

และความอร่อยของซอสที่สเปนเซอร์ปรุงเองนั้นเป็นที่ล่ำลือและบอกกันปากต่อปาก จนรู้ไปถึงหูของพนักงานอเมซอน เมื่อใครได้ชิมต่างการันตีในรสชาติ ทำให้สเปนเซอร์มั่นใจ และพัฒนาซอสรสชาติอื่น

เช่น ซอสเทอริยากิ ซอสพิซซ่ามาชิมลาง ก็ยังได้รับการตอบรับดีเช่นกัน อาจเป็นเพราะซอสของสเปนเซอร์มีรสชาติเฉพาะ เนื่องจากการใส่ส่วนผสมที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ลงไป จนทำให้แตกต่างจากซอสที่วางขายทั่วไป จนทำให้เกิดความคิดจะผลิตขายอย่างจริงจัง

5 เรื่องน่ารู้พัฒนาความคิดเป็นธุรกิจได้อย่างไร

c3

1.งานหลักก็ทำธุรกิจเสริมก็ไม่พลาด

น่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนคิดในใจคือการมองหาธุรกิจเสริมเอามาเพิ่มเติมรายได้จากงานประจำที่ทำแบบควบคู่กันไปแต่หลายคนติดที่เวลาไม่พอ เงินทุนไม่มี ซึ่งขอบอกว่าสิ่งเหล่านี้เรียกว่าข้ออ้างที่ตัวเองไม่จริงจังเต็มที่มากกว่า

Spencer เองพิสูจน์แล้วว่าถ้าตั้งใจอยากทำจริงเรื่องเวลาไม่ใช่ปัญหาเพราะเขาเองก็ทำงานเป็น รปภ.ที่อเมเซอน 3 วันและใช้เวลาเวลาช่วงที่ว่างไปทำสินค้าก็คือซอสที่ชื่อว่า Mr.Maurs

2.ถ้าจริงจังยังไงก็หาทางออกให้ธุรกิจได้

อีกเรื่องที่ทำให้คนเราเริ่มธุรกิจไม่ได้คือความไม่พร้อมในหลายอย่างเช่นสถานที่ผลิต หรือว่าเงินทุน ก็เช่นกันนี่คือข้ออ้างที่ใจเราไม่สู้เพราะถ้าคิดจะสู้และทำจริงๆ เรื่องพวกนี้เราหาทางออกได้

Spencer มีแนวคิดจะทำซอสแต่เขาก็ไม่มีสถานที่ผลิตดีๆเหมือนกันแต่เขาเสาะหาจนได้เจอกับ commercial kitchen หรือครัวแบบอุตสาหกรรมเพื่อปรุงซอส โดยบรรจุขวดและติดฉลากเรียบร้อย ก็เท่ากับแก้ปัญหาเบื้องต้นได้และเขาก็เริ่มทำธุรกิจที่ตัวเองต้องการได้ด้วย

c5

3.การตั้งชื่อสินค้าต้องสื่อถึงตัวเองได้ด้วย

Spencer ตั้งชื่อแบรนด์ของเขาว่า Mr.Maurs ซึ่งการผสมคำระหว่าง Mar ที่แปลว่าดาวอังคาร กับ Maurice อันเป็นชื่อกลางของตัวเขาเอง คนที่ซื้อสินค้าก็จะคุ้นหูกับชื่อผู้ผลิตสินค้าไปพร้อมกันด้วยซึ่งจะมีประโยชน์มากเมื่อมีการผลิตสินค้าอื่นๆเพิ่มเติมและรู้ว่ามาจากใครที่เป็นเจ้าของความคิด

4.สโลแกนดีๆต้องมีให้คนจดจำ

สโลแกนของ Spencer ที่ใช้กับสินค้าของเขาคือ It’s out of this world แปลได้ว่า สุดยอดมาก แบบหาในโลกนี้ไม่มี ซึ่งอาจจะดูเป็นการตลาดที่โอเว่อร์แต่อย่างน้อยก็ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ว่าสินค้าชนิดนี้ต้องมีดีกว่าในท้องตลาดและถ้าดีจริงตามสโลแกนลูกค้าก็พร้อมจะซื้อสินค้าเราในครั้งต่อๆไปด้วย

c6

5.รู้จักเลือกรูปแบบการตลาดที่เหมาะสมกับตัวเอง

จากการผลิตซอสขายให้กับคนใกล้ตัวและคนรู้จัก กระทั่ง Spencer ลงทะเบียนกับอเมซอนในฐานะ third party seller หรือคนนอกที่มาวางสินค้าจำหน่าย โดยเลือกใช้ระบบ FBA (Fulfillment by Amazon) ระบบที่ว่าคือการส่งสินค้าไปไว้ที่โกดังของอเมซอน

เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า อเมซอนจะอีเมล์แจ้งให้คนขายทราบ และดำเนินการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าเอง จากนั้นก็อเมซอนจะอีเมล์แจ้งหมายเลขพัสดุ (tracking number) กับเจ้าของสินค้าอีกที

และหลังจากเปิดตลาดการค้าร่วมกับอเมซอนจากจุดเริ่มที่ทดลองส่งสินค้า 12 ขวดไปไว้ในคลังของอเมเซอน ปรากฏว่าขายหมดภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งมีลูกค้าจากรัฐอื่นในอเมริกาจำนวนหนึ่งที่มาซื้อสินค้านี่

ซึ่งคาดว่าเกิดจากการตลาดแบบปากต่อปากที่ทำให้เขาขายสินค้าหมดได้อย่างรวดเร็ว และจากยอดขายแค่หลักสิบปัจจุบันเขาสามารถขายสินค้าได้หลายร้อยขวดต่อเดือนในฐานะของผู้ประกอบการรายย่อยที่มีต้นทุนไม่สูงนักถือเป็นก้าวย่างที่ประสบความสำเร็จมาก

โดย Spencer พูดถึงข้อดีของการขายซอสผ่านอเมซอนว่าเหมือนมีคนทำงานให้ แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ ท่ามกลางสินค้านับล้านชิ้น ทำอย่างไรจึงจะทำให้สินค้าของเราเตะตาหรือได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ

ด้วยเหตุนี้ Spencer จึงวางแผนจะทำกลยุทธ์การตลาดทั้งทางออนไลน์ ออฟไลน์ และเจาะไปยังร้านค้าต่างๆ โดยมีเป้าหมายว่าในอนาคตจะต้องสร้างโรงงานผลิตขึ้นมาอย่างเป็นทางการพร้อมกับส่งจำหน่ายไปทั่วโลกให้มากขึ้นด้วย

c4

เห็นได้ว่านี่คือแรงบันดาลใจอย่างดีสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจแต่มองหาโอกาสที่จะทำไม่ได้สักที ซึ่งบางครั้งโอกาสที่เราหมายถึงนั้นก็ขึ้นอยู่กับความคิดและตัดสินใจของตัวเอง ถ้ามัวจดๆจ้องๆ อยากทำแต่ไม่ลงมือสุดท้ายความคิดก็เป็นแค่ความฝัน

สิ่งที่เราต้องการก็ไม่สามารถเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ หากฝันจะทำอะไร อย่าคิดมากลงมือทำควบคู่กับการศึกษาหาประสบการณ์เริ่มจากเล็กๆขยับขยายไปสู่สิ่งที่ใหญ่ ค่อยๆลงมือทำแต่ต้องทุ่มเท ทำทุกวัน ทำประจำ ทำจนกว่าจะสำเร็จ นี่คือการเริ่มต้นธุรกิจที่แท้จริงซึ่งทุกคนทำได้อยู่แค่ว่าจะทำหรือไม่ทำก็เท่านั้น

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก goo.gl/iniaRz , facebook.com/smlmrmaurs 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด