SME ปี 63 โคม่า! จ่อปิดกิจการ เลิกจ้าง คนทำงานเตรียมหาทางออก

ปี 2563 สถานการณ์เศรษฐกิจไทยแย่! นายจ้างแบกรับไม่ไหว หยุดกิจการชั่วคราว หลายแห่งปิดถาวร ลูกจ้างตกงานมากกว่าปีนี้ ถือเป็นสัญญาณร้ายสำหรับคนไทย ที่วันนี้ตัวเลขออกมาชัดเจนแล้วว่า เศรษฐกิจไทยแย่ลง 

ทำให้ส่งออกถดถอยต่อเนื่อง ดูท่าทีและสถานการณ์โลกและไทยแล้ว แนวโน้มจะลากยาวไปปี 2563 แน่นนอน ทางออกที่ดีสำหรับมนุษย์เงินเดือนและคนทำงาน ต้องเร่งเตรียมหาทางออก

ทางหนีทีไล่ให้กับตัวเอง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินรับมือไหว เรื่องราวดังกล่าวเหล่านี้จะเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันครับ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย ได้เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อมวลชนว่า ผลพวงจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ ที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยปี 2562

มีโอกาสติดลบ 1.5-2% สะท้อนถึงการจ้างแรงงานของไทยที่เริ่มชะลอลงตามไปด้วย โดยเฉพาะตลาดแรงงานในภาคการผลิต การผลิตเพื่อส่งออก โลจิสติกส์ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่ในช่วงนี้ชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

จ่อปิดกิจการ

นายธนิต โสรัตน์
ภาพจาก bit.ly/2MXf5lM

โดยยอมรับว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณการจ้างงานลดลง ประกอบกับบางส่วนปรับมาใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น ทั้งหุ่นยนต์และเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะ AI เป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงาน โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่

ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 2563 อีกประมาณ 5.24 แสนคน อาจประสบปัญหาภาวะว่างงานสูงขึ้น ดังนั้น รัฐบาลคงต้องประคับประคองด้วยการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการบริโภคภายในแทน

63

ภาพจาก bit.ly/2ouzXr7

“สัญญาณการเลิกจ้างจะเริ่มจากมาตรการเบาไปหนัก เช่น การเริ่มไม่รับพนักงานคนใหม่ แทนตําแหน่งที่ว่างลง, การใช้หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ, และหนักขึ้นเป็นการเลิกจ้างบริษัทภายนอกที่เกี่ยวกับแรงงาน, การลดค่าล่วงเวลา,

การลดชั่วโมงทำงานหรือลดกะหรือทําบ้างปิดบ้าง, การปิดไลน์การผลิต หรือปิดสาขาที่ไม่จำเป็น, การลดแรงงานกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงทดลองงานไม่ถึง 4 เดือน จนถึงการให้ออกจากงานด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เปิดโครงการเกษียณก่อนเวลา หรือสมัครใจลาออก แรงงานที่มีความเสี่ยง เช่น อายุ 40 ปีขึ้นไปหรือไม่ผ่านการประเมิน”

ความท้าทายและการปรับตัวของ SME ยุค Disruption

62

ภาพจาก bit.ly/2JzWJVH

1. ไม่มีคำว่า “แน่นอน” ในอนาคต

ความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า ทำให้เราไม่สามารถกำหนดแผนงาน หรือกลยุทธ์การตลาดในระยะยาวได้ ดังนั้น เราต้องเข้าใจ ปรับตัว และปรับกลยุทธ์ให้ทัน อาทิ ถ้าเราทำธุรกิจโรงแรมเป็นเวลานานจากยุคพ่อแม่ เราคุ้นชินกับการจองและจ่ายเงินแบบก่อนๆ แต่ปัจจุบันเราเกิดแพลตฟอร์มใหม่อย่าง AirBnB หรือ เอเจนซี่โรงแรมมากขึ้น พฤติกรรมของลูกค้าจึงเปลี่ยนไป เราจึงต้องมีวิธีจัดการและกลยุทธ์ใหม่ๆ เข้ามาเพื่อรองรับความต้องการใหม่ของลูกค้า

2. โลกเปลี่ยนแปลง กฎย่อมเปลี่ยนไป

ธุรกิจสมัยก่อน เราย่อมรู้ว่ากฎปลาใหญ่กินปลาเล็กเป็นเรื่องจริง เราสามารถกำหนดโฆษณากับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด และได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง แต่เมื่อโลกอยู่ในยุค Disruption กฎต่างๆ ย่อมเปลี่ยนไป ทำให้วิธีการแบบเดิมๆ ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

3. ยอมรับว่า “เทคโนโลยี” สำคัญ

ถ้าวันนี้เรายังไม่รู้จักใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เราย่อมก้าวถอยหลังคู่แข่งทางธุรกิจไปเรื่อยๆ หรือถ้าตัวบุคคลไม่เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ อาจจะสูญเสียงานของเราต่อเทคโนโลยีในอนาคตได้

4. “ข้อมูล” เป็นสิ่งจำเป็น

โลกยุคดิจิตอลทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอันมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว แต่เราต้องตระหนักว่าเราจะนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างไร ในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างไร หรือแม้แต่การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดอย่างไร หมายความว่าเรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มาจากความพัฒนาและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น แต่หากไม่รู้วิธีหรือไม่มีทักษะความรู้ ในการแปลข้อมูลให้เชื่อมโยงกับสิ่งที่เราทำอยู่ ข้อมูลที่จำเป็นนั้นก็ไร้ค่า

5. จุดเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถกำหนดได้

เป็นธรรมดาของโลกยุคนี้ ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา บางครั้งอาจเกิดก่อนเวลาที่เหมาะสม หรือก่อนเวลาที่เราจะเปลี่ยนสินค้า ดังนั้น เราต้องรู้จักเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อปรับตัวให้ทันกระแส จะเห็นได้ว่า ไม่เฉพาะภาวะเศรษฐกิจถดถอยเท่านั้น ที่ส่งผลกระทบต่อ SME ไทยในวันนี้ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่าง Disruption ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาแทนที่ธุรกิจเดิมๆ ที่ไม่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ธุรกิจไหนปรับตัวไม่ทัน ก็ปิดกิจการไป

61

ภาพจาก bit.ly/2JzbNmC

ปัจจุบันประเทศไทยมี SMEs ประมาณกว่า 3 ล้านราย มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี สูงถึงร้อยละ 43.9 มีการจ้างงานร้อยละ 82 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

และในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ SMEs สายป่านสั้นและตัวเล็ก เสียงค่อยมี ปรับตัวไม่ทัน ตกยุค มักต้องเป็นผู้แพ้ในสนามแข่งขันทางธุรกิจเสมอ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/3gOACvN

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช