New Normal การจัดงานอีเว้นท์ Online มาเร็วกว่าที่คิด!

การมาของไวรัสโควิด -19 ทำให้หลายคนเริ่มมีการพูดถึงกันมากเกี่ยวกับ New Normal ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะวิกฤตโควิด-19 อาจยังไม่จบลงง่ายๆ เมื่อเป็นเช่นนี้เราอาจจะได้ได้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคหรือภูมิทัศน์ทางธุรกิจ รวมไปถึง New Normal ในมิติต่างๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไป

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพูดถึง New Normal ในมิติของการจัดงานแสดงสินค้า งานอีเว้นท์ต่างๆ ที่จะเคลื่อนย้ายไปอยู่บนออนไลน์ ด้วยเหตุผลที่ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่แออัดคนพลุกพล่าน ทำให้ผู้จัดงานอีเว้นท์ต่างๆ ต้องยกเลิกการจัดงาน

สร้างความเสียงานอย่างมหาศาล แต่ดูเหมือนในวิกฤตจะมีโอกาส เมื่อเจ้าของงานอีเว้นท์ใหญ่บางรายในสหรัฐฯ ปรับตัวอย่างรวดเร็วโดยหันไปใช้ระบบ Virtual Event หรือ “ออนไลน์สตรีมมิ่ง” ในจัดงานแทน

การจัดงานอีเว้นท์

ภาพจาก bit.ly/2Y3qvKP

Virtual event เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นจริง แล้วย้ายขึ้นมาอยู่บนโลกออนไลน์ มันอาจเป็นส่วนขยายของอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นจริง หรือจัดขึ้นเป็นแบบอีเว้นท์เดี่ยวๆ ก็ได้ Virtual Event ถูกพัฒนามาจากรูปแบบไลฟ์สตรีมที่เรียบง่ายสู่รูปแบบการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ

โดย Virtual Event เหมาะทั้งการจัดงานขนาดใหญ่ ที่มีผู้ร่วมงานจากหลายๆ ประเทศ หรืองานขนาดเล็กที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่จริงในการจัดงาน ซึ่งประโยชน์หลักของ Virtual Event คือ เพิ่มการเข้าถึงของผู้เข้าร่วมงาน และการสัมผัสประสบการณ์ของงานได้อย่างใกล้ชิด แต่ก็มีข้อเสียบางเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ การขาดการสื่อสารแบบตัวต่อตัว และสิ่งรบกวนที่ดึงความสนใจออกจากงานอีเว้นท์

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน Virtual Event เพื่อเป็นส่วนขยายของงานที่ถูกจัดขึ้นบนโลกจริง จะช่วยชดเชยข้อเสียเปรียบของแต่ละแบบ และทำให้เกิดงานอีเว้นท์ที่เหมาะสมให้แก่ทุกคน

10

ภาพจาก bit.ly/2Vm55Xg

ยกตัวอย่างเช่น งานประชุม South by Southwest (SXSW) ได้ใช้ประโยชน์จากไลฟ์สตรีม (Live Streaming) เพื่อเชื่อมโยงสถานที่จัดงานหลายๆ แห่งเข้าด้วยกัน และถ่ายทอดงานอีเว้นท์ให้กับผู้คนทั่วโลกได้รับชม

การจัดงานแบบ Virtual Event นั้นนำมาซึ่งประโยชน์ที่หลากหลาย ให้กับทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงาน สำหรับฝั่งของผู้จัดงานนั้น Virtual Event สามารถเพิ่มการเข้าถึงต่องานอีเว้นท์ และอาจสร้างผู้เข้าร่วมงานหน้าใหม่ในงานอีเว้นท์ครั้งถัดๆ ไป จากข้อมูลของ Techjury เว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำทางด้านเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลว่าผู้ชมกว่าร้อยละ 67 ที่ได้ดูการไลฟ์สตรีมนั้นมีแนวโน้มที่จะซื้อตั๋วเพื่อไปเข้าร่วมงานที่มีลักษณะหรือเนื้อหาที่คล้ายๆ กันในอนาคต

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัด Virtual Event ถือได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดงานอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่จริง เช่น หากจัดงานการประชุมโดยมีผู้เข้าร่วม 300 คน เป็นระยะเวลา 3 วัน สำหรับการประชุมแบบปกติ ที่ต้องไปร่วมงานด้วยตัวบุคคลจะมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 210,600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่การประชุมที่มีเนื้อหาเดียวกัน สามารถจัดขึ้นในโลกเสมือนจริงมีค่าใช้จ่ายเพียง 20,000 เหรียญสหรัฐถึง 40,000 เหรียญสหรัฐขึ้นอยู่กับจำนวนกิจกรรมย่อยในงาน

Virtual Event นั้นสามารถจัดขึ้นเป็นส่วนขยายของอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นจริง หรือจัดเป็นอีเว้นท์เดี่ยวๆ ก็ได้ โดยมีแพลตฟอร์มยอดนิยมและเป็นที่รู้จักมากมายสำหรับการจัด Virtual Event ตัวอย่างเช่น การใช้ Facebook หรือ YouTube

บิล เกตส์ ทำนายอีเว้นท์ออนไลน์กำลังมา

9

ภาพจาก bit.ly/3bBJH6l

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว บิล เกตส์ (Bill Gates) ผู้ร่วมก่อตั้ง ไมโครซอฟต์ และเศรษฐีนักการกุศล หนึ่งในผู้ที่มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นเตือนชาวโลกเรื่องปัญหาไวรัสโควิด-19 มาโดยตลอด ยังได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ This is Working ดำเนินรายการโดย Daniel Roth ผู้เป็นหัวหน้าที่สื่อของ LinkedIn ว่า แม้จบวิกฤต โควิด-19 ระบาดไปแล้ว แต่บางอุตสาหกรรมก็จะไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกต่อไป จนกว่าจะมีวัคซีนรักษาโรค โควิด-19

โดยธุรกิจอีเว้นท์ อาทิ สัมมนา กีฬา และการแสดงโชว์สดต่างๆ เป็นอีกกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบในระยาวจนกว่าจะสามารถพัฒนาวัคซีนได้ ซึ่งระหว่างนี้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวโดยการทำ Digital Transformation คือ การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและโครงสร้างการหาเงินมาเป็นออนไลน์ทั้งหมด อาทิ Netflix ที่เริ่มจากการให้เช่าแผ่นภาพยนตร์ส่งทางไปรษณีย์ และภายหลังเปลี่ยนมาเป็น ออนไลน์สตรีมมิ่ง หรือจ่ายเงินเช่าชมภาพยนตร์เป็นรายเดือนโดยผ่านทางออนไลน์ 100%

บิล เกตส์ ยังพยากรณ์ว่า ธุรกิจอีเว้นท์หลังจากนี้จะปรับตัวเป็นออนไลน์มากขึ้น และอาจถึงขั้นมีอาชีพใหม่ตามมา นั่นคือ นักออกแบบอีเว้นท์ออนไลน์ เพราะถือว่าเป็นคนละ ศาสตร์และศิลป์ กับการจัดอีเว้นท์ออนไลน์มีกระบวนการทำงาน และวิธีสร้างประสบการณ์ที่ต่างกัน นี่คือ โอกาสใหม่ของคนที่มีความเชี่ยวชาญนี้

8

ภาพจาก bit.ly/34TBmYM

สำหรับข้อเสียของ Virtual Event คือ ผู้เข้าร่วมจำนวนมากมักทำอะไรหลายๆ สิ่งไปพร้อมกับการเข้าชมอีเว้นท์ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมเหล่านี้ ไม่ได้ให้ความสนใจอย่างละเอียด แตกต่างจากการเข้าร่วมงานอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นจริง ที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจกับงานอีเว้นท์ได้อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดอีเว้นท์จำนวนมาก ยังชื่นชอบการจัดงานแบบพบปะต่อหน้า เพราะว่าสามารถพูดคุยใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากกว่า ดังนั้น การจัดงานอีเว้นท์บนพื้นที่จริงยังคงมีความต้องการอยู่เสมอ แต่การผสมผสานระหว่าง Virtual Event กับอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นบนโลกจริง จะช่วยชดเชยข้อเสียเปรียบของแต่ละแบบและทำให้เกิดอีเว้นท์ที่เหมาะสมให้แก่ทุกคน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล
https://bit.ly/2yrLAng , https://bit.ly/3bBJH6l

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3cGf7Zl

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช