Me Too Franchise ใครทำไร ฉันทำมั่งด้านมืดของวงการธุรกิจ!

การที่มนุษย์ลอกเลียนพฤติกรรมดารา นักร้อง เพราะหวังว่าเราจะเป็นที่ยอมรับเหมือนกับคนดังนั้นด้วยในทางธุรกิจก็ไม่ต่างกัน แบรนด์ไหนดัง สินค้าไหนดี แบบนี้ต้อง “ทำตาม”

วิธีแบบใครทำไร ฉันก็ทำมั่ง เขาเรียกว่า Me Too Marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดในการดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อสินค้า โดยทำตามแบรนด์ใหญ่

Me Too Franchise

สังเกตให้ดีว่าทุกวันนี้เราเห็น me too product อยู่รอบตัวเราเต็มไปหมดทั้งอาหาร ขนม เครื่องดื่ม แชมพู สบู่ สกินแคร์ เครื่องปรุง ไปจนถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • ยาคูลท์ VS บีทาเก้น VS เมจิ ไลฟ์
  • ลิโพ VS เอ็มร้อย VS กระทิงแดง VS ฉลามบุก VS คาราบาวแดง VS โลโซดี
  • เป๊ปซี่ VS โคล่า VS แฟนต้า VS สไปรท์
  • เลย์ VS ก๊อบกอบ VS เทสโต
  • ฮานามิ VS สแน็คแจ๊ค VS ปาปริก้า

นอกจากนี้ก็ยังมีสินค้าอีกหลายอย่างที่ล้วนแต่มีสินค้าในลักษณะที่ใกล้เคียงกันเพียงแต่ต่างแบรนด์ ต่างยี่ห้อ เป็นตัวเลือกให้คนได้ตัดสินใจซื้อมากขึ้น ถ้าจะมองในอีกมุมหนึ่ง Me Too Marketing ก็ไม่ต่างจากการที่ธุรกิจมีคู่แข่ง

เหตุผลที่ควรรู้ว่าทำไม Me Too Marketing ถึงได้รับความนิยม

สร้างอัตรากำไรในยอดขาย

  • ไม่ต้องลองตลาดใหม่ เพราะมีเจ้าแรกมาเปิดตลาดให้แล้ว มองเห็นผลชัดเจนว่าจะขายได้หรือขายไม่ได้
  • มีกลุ่มลูกค้าที่เชื่อว่าหากผลิตสินค้าออกมาจะต้องขายได้แน่ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบอะไรที่จำเจ
  • สามารถต่อยอดจากเจ้าเดิมที่ทำตลาดอยู่เพื่อให้สินค้าเราดีกว่าถูกใจลูกค้าได้มากกว่า
  • ทำตามย่อมง่ายกว่าทำเอง

แต่ในมุมส่วนของแบรนด์ที่เลือกเป็นผู้ตาม การเข้าสู่ธุรกิจด้วยทางลัดแบบนี้ ถ้าอยากจะสลัดภาพของแบรนด์ว่าเป็นแค่ผู้ตามก็ต้องไม่ปล่อยให้ตัวเอง ติดกับดักความสำเร็จที่อาศัยรากฐานจากแบรนด์อื่นแล้วอาศัยแค่กลยุทธ์การทำราคาที่ถูกกว่าหรือ การจัดโปรโมชันเพื่อสร้างยอดขายเพราะจะไม่เป็นการดีต่อการสร้างแบรนด์ในระยะยาว

สิ่งสำคัญต้องหาจุดเด่นของตัวเองให้เจอ แล้วเร่งสร้างภาพจำให้คนอยากติดตาม โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญมาก อย่างเช่นทุกวันนี้คนยังเรียกผงซักฟอกว่า “แฟ้บ” อะไรก็ตามที่มาที่หลังก็จะถูกเหมารวมว่าเป็น “แฟ้บ” ทั้งที่ก็มีชื่อแบรนด์ของตัวเอง แต่คนกลับไม่ค่อยจดจำตรงนั้น

Me Too Franchise

ภาพของการเลียนแบบหรือทำตามกันยิ่งเด่นชัดมากในวงการแฟรนไชส์ ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าเป็น Me Too Franchise ได้เช่นกัน อะไรที่ขายดี เปิดตัวมาแล้วคนฮิต มักจะเกิดธุรกิจที่ทำตามเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น

  • กระแสของร้านชานมไข่มุกที่ฮิตมาทุกยุคสมัย ตั้งแต่ราคา 25 บาท มาจนถึง ราคา 19 บาท หรือในยุคที่ฮิตกาแฟถุงกระดาษ สังเกตว่ามีคนแห่ทำตามกันมาก จนลูกค้าเลือกไม่ถูกว่าอยากได้สินค้าแบรนด์ไหน
  • หรือ เจปัง ที่มีเมนูสุดฮิตอย่าง ขนมปังย่างเนย ใส่ไอศกรีม พอเปิดตัวมาได้ไม่เท่าไหร่ก็ปรากฏว่ามีร้านที่ทำสินค้าในแบบเดียวกันนี้เยอะมาก
  • ร้านหมูปิ้งก็ Me Too Franchise ในช่วงหนึ่งจะเห็นว่ามีคนมาทำธุรกิจนี้เยอะมากโดยเน้นทำเป็นหมูปิ้งเสียบไม้ส่งขายให้คนที่สนใจเอาไปขายต่อ ในภายหลังก็เริ่มเงียบเหงาและที่เหลืออยู่คือตัวจริงในธุรกิจนี้เท่านั้น
  • แม้แต่พวกแฟรนไชส์หม่าล่า , ชาบู , ร้านสะดวกซัก ก็ยิ่งชัดเจนว่าเกิด Me Too Franchise เยอะมาก ทำเลไหนที่เปิดมาแล้วลูกค้าสนใจมาก เชื่อได้เลยว่าอีกไม่นานเกินรอจะต้องมีแบรนด์อื่นมาเปิดแข่งในไม่ช้า

ทั้งนี้หลายคนอาจจะมองว่าสินค้าที่เลียนแบบ อย่างไรก็สู้แบรนด์ที่คิดค้นมาเจ้าแรกไม่ได้ แต่การไม่ได้เป็นเจ้าตลาด ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเลย อีกทั้งการเพิ่มคู่แข่งในตลาดสินค้า คนที่ได้เปรียบที่สุดก็คือ ผู้บริโภค ซึ่งสามารถเลือกสินค้าที่ดีที่สุด ในราคาที่พึงพอใจที่สุด

Me Too Franchise

ในมุมกลับกัน Me Too Marketing ยังสะท้อนประโยชน์ในอีกหลายแง่มุม เหมือนที่ D. Johnson นักธุรกิจและนักเขียนชื่อดัง ได้พูดถึงสาเหตุที่ทำให้ไอเดียธุรกิจแป้กจนหาคู่แข่งไม่ได้ มีอยู่ 4 ข้อ ได้แก่

  1. เป็นสินค้าที่ไม่มีใครต้องการ เช่น ตะเกียบติดพัดลม คอยช่วยเป่าให้อาหารร้อนเย็นเร็วขึ้น ไอเดียดูเท่ แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครคิดอยากทำตาม
  2. ตลาดเล็กเกิน เป็นสินค้าหรือไอเดียสินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าน้อยจนแทบไม่คุ้มค่าในการลงทุนทำตาม มองเห็นแล้วว่าไม่มีกำลังซื้อแน่
  3. ธุรกิจไม่มีกำไร ถ้าเป็นการทำตามที่ประเมินแล้วว่าต้องขาดทุนนานหลายปี หรือมีความเสี่ยงสูง ไม่คุ้มค่าที่จะลงมาเสี่ยงสู้ด้วย
  4. อุปสรรคใหญ่เกินไปในการเข้าสู่ตลาด เช่น เป็นธุรกิจที่ต้องมีสัมปทาน ต้องทำประชาพิจารณ์ ต้องผ่านข้อกฎหมายสารพัด หรือต้องใช้เงินทุนสูงมาก ความยุ่งยากเหล่านี้ทำให้คู่แข่งไม่เกิดใหม่ง่าย ๆ

โดยสรุปแล้ว Me Too Marketing = การแข่งขัน ซึ่งมีประโยชน์ที่จะกระตุ้นให้แต่ละแบรนด์พยายามหาวิธีการสื่อสาร และสร้างสรรค์การตลาดใหม่ ๆ เพื่อไม่ให้ถูกคู่แข่งแย่งตัวลูกค้าไปซึ่งเรื่องนี้ ก็จะช่วยให้แบรนด์สร้าง Engage และความผูกพันกับลูกค้าอีกทั้งช่วยให้แบรนด์ มีความ Active อยู่เสมอ มีการปรับตัวให้ก้าวทันคู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนขึ้นในระยะยาว

และยังเป็นการวัดพลังของแบรนด์ได้ดีด้วย ใครที่ไม่ใช่ตัวจริงรับมือกับการแข่งขันได้ไม่ดี หรือไม่เคยเจอการแข่งขันเลย ก็จะไม่มีภูมิต้านทานทางธุรกิจ และสุดท้าย สักวันก็คงต้องลาจากวงการไป เพราะการแข่งขันในโลกแห่งธุรกิจ นับเป็นการคัดสรรโดยกลไกตลาดให้เหลือเพียงตัวจริง ที่พร้อมจะก้าวไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด