10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
ข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อเดือน มกราคม 2567 ระบุว่า คนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี มีด้วยกันทั้งสิ้น 13.2 ล้านคนคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด หรือถ้ามองในส่วนของข้าราชการพลเรือนสามัญพบว่าช่วงปี พ.ศ. 2561-2570 จะมีข้าราชการพลเรือนสามัญเกษียณอายุรวมจำนวน 117,652 คน
คนเกษียณมีจำนวนเท่าไหร่! ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า “เกษียณแล้วมีเงินใช้พอไหม?”
มีสูตรคำนวณว่าหลังเกษียณแล้วค่าใช้จ่ายประมาณ 70% ถ้าเทียบกับช่วงก่อนเกษียณ ดังนั้นถ้าก่อนเกษียณมีค่าใช้จ่าย 30,000 ต่อเดือน ชีวิตหลังเกษียณก็จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 70% x 30,000 = 21,000 บาทต่อเดือน (252,000 บาทต่อปี) ลองคิดเล่นๆว่าถ้าจะมีชีวิตหลังเกษียณ 20 ปี ก็ควรมีเงิน 252,000 x 20 = 5,040,000 บาท
แต่ความจริงมันโชคร้ายยิ่งกว่าเพราะข้อมูลระบุว่า คนวัยเกษียณ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ประมาณ 1 ใน 3 ยังคงต้องทำงาน โดยในกลุ่มนี้ 47.3% ที่ยังทำงานเพราะสุขภาพร่างกายยังแข็งแรงและยังมีแรงทำงาน ขณะที่ 44.6% ต้องทำงานเพื่อหารายได้เพิ่มในการเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ข้อมูลยังชี้อีกว่าคนวัยเกษียณประมาณ 41.4% มีเงินออมต่ำกว่า 50,000 บาท นั่นแสดงว่าเป็นจำนวนเงินที่จะไม่พอใช้แน่ๆ
รายได้ส่วนใหญ่ของคนวัยเกษียณในกรณีที่ไม่ได้ทำงานแล้ว มาจากบุตร 32.2% และจากเบี้ยยังชี 19.2% แต่ตัวเลขจากรายได้เหล่านี้ก็ไม่ได้สูงมากนักถ้าเทียบกับราคาสินค้าอุปโภค บริโภคในปัจจุบัน จึงจำเป็นที่ต้องหารายได้เพิ่มที่อาจไม่ได้ทำแค่แก้เหงา แต่ทำเพื่อให้มีเงินใช้มากพอ แต่ก็ต้องเป็นงานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย โดยมีหลายงานที่น่าสนใจได้แก่
1.ที่ปรึกษาของหน่วยงานหรือบริษัท
เหมาะสำหรับคนวัยเกษียณที่มีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญในทางใดทางหนึ่ง ส่วนใหญ่มักเป็นคนวัยเกษียณที่บริษัทจ้างให้ทำงานต่อทั้งในภาครัฐหรือบริษัทเอกชน ข้อดีของานลักษณะนี้คือไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน แต่มีรายได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ที่สำคัญคือทำให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า ไม่เหงา ไม่เครียด
2. Influencer
ภาพจาก freepik.com
สำหรับคนวัยเกษียณที่ไม่ได้ทำงานอาจใช้เวลานี้ในการทำคลิปเสนอเรื่องราวในหลายๆด้าน ยิ่งหากเป็นคนที่พอมีชื่อเสียงอยู่บ้าง การเป็น Influencer จะประสบความสำเร็จเร็วมากนอกจากมีรายได้ ยังคลายเหงาได้ดีอีกด้วย
3.ทำขนมหรือทำอาหารขาย
น่าจะเป็นอาชีพคลายเหงาที่คนวัยเกษียณบางส่วนชอบทำ ซึ่งปัจจุบันก็มีแอปฯ Food Delivery หลายแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ค้าขายได้ง่ายขึ้น ซึ่งรายได้ก็ขึ้นอยู่กับการตลาด , ไอเดียและคุณภาพสินค้า เป็นสำคัญ
4.ปลูกต้นไม้ / ดอกไม้ จำหน่าย
เป็นอาชีพส่วนใหญ่ที่คนวัยเกษียณส่วนใหญ่เลือกทำ บางคนอยู่บ้านเหงาๆ ก็ปลูกต้นไม้ดอกไม้ รดน้ำ พรวนดิน ข้อดีคือได้ออกกำลังกายไปด้วยในตัว รายได้จากธุรกิจนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่การตลาดและไอเดียสินค้าที่มี
5.รับสอนพิเศษที่บ้าน
เป็นการใช้เวลาว่างในการสร้างมูลค่าได้ และยังเป็นการแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่นที่สำคัญตัวเองก็ไม่เหงา ได้มีงานทำ ได้พบปะพูดคุยกับใครอีกหลายคน รวมถึงยังได้เป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
6.เกษตรกร
ภาพจาก freepik.com
ความตั้งใจของคนวัยเกษียณส่วนใหญ่มักบอกว่าจะไปทำสวนทำไร่ปลูกผักเลี้ยงปลาให้ชีวิตแบบง่ายๆ คำว่าเกษตรกรของคนวัยเกษียณไม่ใช่การลงทุนลงแรงแบบคนหนุ่มสาวแต่เป็นเกษตรกรรมที่เหมาะสมเช่นการเลือกปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ การเลี้ยงไก่-เลี้ยงปลา ในบ่อหรือฟาร์มเล็กๆ เป็นต้น
7.ธุรกิจหยอดเหรียญ
เป็นวิธีสร้างรายได้ที่ดีในยุคนี้กับบรรดาตู้หยอดเหรียญต่างๆ ทั้งตู้เครื่องดื่ม , เครื่องซักผ้า , ล้างรถ เป็นต้น ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่พร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจลงทุนเป็นอย่างดี รายได้ก็ขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ
8.ธุรกิจ Nursing Home
ภาพจาก freepik.com
ถ้ามีเงินทุนมากพอแนะนำว่าให้ทำธุรกิจ Nursing Home ที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัยได้อย่างดี แม้จะใช้เงินลงทุนสูงแต่ผลตอบแทนก็ดีในระยะยาว ที่สำคัญในมุมมองของผู้สูงวัยที่ลงทุนธุรกิจนี้จะได้พบปะเพื่อนที่เป็นผู้สูงวัยแถมมีรายได้ด้วย
9.ธุรกิจงาน Handmade
เปลี่ยนเวลาว่างๆ มาทำงาน Handmade จะช่วยคลายเหงาและอาจมีรายได้เพิ่มด้วย มีหลายงานที่ทำง่ายเช่น สบู่ , ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น ปัจจุบันมีคลิปวีดีโอที่สอนให้ทำงานฝีมือต่างๆ เยอะมาก ถ้าค่อยๆเรียนรู้และเอามาประยุกต์ทำจริง แม้จะไม่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำแต่ก็ทำให้ไม่เหงาและมีรายได้พิเศษ
10.ลงทุนแฟรนไชส์
มีหลายแฟรนไชส์ที่เหมาะกับคนวัยเกษียณ เพราะมีระบบบริหารจัดการมาให้พร้อม ไม่ต้องดูแลเอง ไม่ต้องเฝ้าร้านเอง อาจจะจ้างพนักงานมาช่วยขาย ช่วยเฝ้าร้าน หรือให้ลูกหลานมาดูแล ซึ่งมีแฟรนไชส์ให้เลือกครบทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริการ ที่ล้วนแต่มีทีมงานนคอยให้คำปรึกษาอย่างดี นับเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จแม้ในวัยเกษียณก็ตาม
เรื่องน่ารู้! รายได้ของคนวัยเกษียณหากเป็นพนักงานประจำที่อยู่ในระบบประกันสังคมเมื่อเกษียณจะมีเงินบำนาญประมาณ 5,250 บาทต่อเดือน ในส่วนของข้าราชการก็จะมีเงินบำเหน็จหรือบำนาญตามเงื่อนไขของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ก่อนถึงวัยเกษียณจึงควรวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบเพื่อให้ชีวิตหลังเกษียณอยู่ได้อย่างสุขสบายไม่ลำบากลูกหลาน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)