3 ทฤษฎีควรรู้! ทำแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ

ผู้สนใจธุรกิจในระบบแฟรนไชส์อาจเกิดความสงสัยว่า การขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จะต้องทำอย่างไรย้าง จึงจะประสบความสำเร็จ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะให้คำแนะนำก่อนเริ่มทำแฟรนไชส์ เพราะถ้าผู้สนใจแฟรนไชส์เข้าใจและทำตามทฤษฎีของแฟรนไชส์แล้ว ก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก มาดูกันว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างครับ

1. แฟรนไชส์เปรียบเสมือนคู่สมรส

3 ทฤษฎีควรรู้

ในการเลือกแฟรนไชส์ซี (FRANCHISEE) แฟรนไชส์ซอร์ (FRANCHISOR) หรือเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ ควรที่จะคัดเลือกที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ไม่ใช่เลือกแฟรนไชส์ซีจากเหตุผลที่มีเงินมาก หรือมีที่ดินเท่านั้น ควรที่จะตรวจสอบคุณสมบัติของแฟรนไชส์ซีว่า มีความเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ มีความตั้งใจจริงที่จะธุรกิจ ความรู้ความสามารถ มีนิสัยเข้ากับแฟรนไชส์ซอร์ได้หรือไม่ เสียก่อนจึงค่อยตามด้วยเงินทุน หรือเลือกทำเลภายหลัง

เนื่องจากระบบแฟรนไชส์นั้น จะต้องมีภาระผูกพันทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3-10 ปีขึ้นไป ถ้าไม่เลือกที่ตัวบุคคล หรือไม่ทำให้เกิดความเข้าใจกันเข้ากันได้ มักไปไม่ค่อยรอด เหมือนกับที่ทฤษฎีบอกไว้ว่า การคัดเลือกแฟรนไชส์ เหมือนกับการเลือก คู่สมรส เพราะจะ ต้องเริ่มจากการพบปะพูดคุยกันก่อนว่า 2 ฝ่าย นิสัยไปกันได้หรือไม่ มีความตั้งใจที่ทำจริงแค่ไหน ตรงต่อเวลานัดหรือไม่ มีความรู้ความสามารถที่จะทำธุรกิจ มากน้อยแค่ไหน มีเวลา เงินทุนพอหรือเปล่า ทำเลที่ตั้งเหมาะสมแค่ไหน

เหมือนกับว่าแฟรนไชส์ซอร์ คือ ฝ่ายชาย แฟรนไชส์ซี คือ ฝ่ายหญิง ซึ่งฝ่ายชายจะทำหน้าที่ดูแลฝ่ายหญิงไปจนตลอดอายุสัญญา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายทำธุรกิจกันภายใต้เงื่อนไขความรู้จักกัน ความผูกพันกัน ความมักคุ้นกัน มากกว่าผลประโยชน์ จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถทำธุรกิจกันได้นาน และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ขยายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ในขณะที่บางแฟรนไชส์ซอร์จะคัดเลือกแฟรนไชส์จากมีเงินอย่างเดียว ไม่ได้ดูความตั้งใจ หรือความรู้ ความสามารถ ก็จะประสบปัญหาความไม่เข้าใจกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งตามมาด้วยการแยกทางกัน มากกว่าที่จะประสบความสำเร็จ

เมื่อใดที่แฟรนไชส์ทั้ง 2 ฝ่าย เปิดสัญญาคุยกัน และเริ่มคิดเล็กคิดน้อยทุกอย่างจะต้องมีค่าปรับ มีค่าใช้จ่ายมากมายละก็ ความสัมพันธ์เริ่มไม่มีแล้ว โอกาสที่จะฟ้องร้องเลิก สัญญาเป็นไปได้สูงมาก ซึ่งถ้าทั้ง 2 ฝ่ายบริหารธุรกิจภายใต้ความสัมพันธ์ที่เป็นไป ด้วยความเข้าใจซึ่งกันแล้ว ก็จะบริหารงาน ระบบแฟรนไชส์ง่ายมาก การดูแลจะง่ายและไม่ยุ่งยาก ใช้กำลังคนในฝ่ายแฟรนไชส์ซอร์ 2 – 3 คน ก็สามารถดูแลแฟรนไชส์ซีได้ 70 – 100 รายได้

2. แฟรนไชส์ คือ ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์

24

บางครั้งแฟรนไชส์ซอร์จะคิดมากเรื่องความพร้อม ระบบงาน การให้การสนับสนุนให้กับแฟรนไชส์ซี สัญญาแฟรนไชส์ควรจะร่างให้รัดกุมอย่างไร ความจริงแล้วการทำแฟรนไชส์ ก็คือ แนวทางการทำธุรกิจชนิดหนึ่ง

ซึ่งมุ่งความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีเป็นหลัก เพราะการวัดความสามารถของแฟรนไชส์ซอร์ จะวัดที่ปริมาณ ความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี ยิ่งมีแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จมากเท่าไร ก็แปลว่าแฟรนไชส์ซอร์ต้องมีความสามารถมาก และประสบความสำเร็จตามไปด้วย ดังนั้น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าคิดว่าแฟรนไชส์ คือธุรกิจแล้วล่ะก็ ความหมายก็คือจะต้องทำให้เครือข่ายธุรกิจให้อยู่รอด ซึ่งรูปแบบอาจจะเป็นแค่ร้านทำก๋วยเตี๋ยว หรือรูปแบบสำเร็จ รูปแบบร้านพิชซ่าใหญ่ๆ ลงทุนเป็น 10 ล้านก็ได้

ดังนั้นรูปแบบของระบบแฟรนไชส์ ผู้เป็นแฟรนไชส์ซอร์ไม่ควรกังวลใจ เรื่องความพร้อม แต่ควรมองว่าถ้าจะทำให้ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีดำเนินไปได้ย่างราบรื่น ควรจะมีระบบสนับสนุนอะไรบ้าง รูปแบบของระบบควรเป็นอย่างไร หรือแฟรนไชส์ซอร์ ควรที่จะสร้างโมเดลทางธุรกิจตัวหนึ่งขึ้นมา หรือที่เข้าใจดีว่า “ร้านต้นแบบ” ประมาณ 2-3 แห่ง

เพื่อให้ได้รูปแบบการลงทุน ภาพลักษณ์ร้าน และการ TEST ระบบ ดูอัตราการคืนทุนได้ แล้วค่อยลอกแบบ หรือ Copy ธุรกิจให้กับแฟรนไซส์ซี ซึ่งถ้าต้นแบบประสบความสำเร็จ มีกำไร มีแนวทางธุรกิจดี เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ COPY ธุรกิจจากต้นแบบให้แฟรนไชส์ซี ไม่ว่าจะเป็นทำเล ลักษณะผู้เป็นแฟรนไชส์ซี การลงทุนตลอดจนวิธีการบริหารร้านได้ทั้งหมด

โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีมาก เพราะแฟรนไชส์ได้ลอกแบบร้านหรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และมีกำไร ธุรกิจที่ทำเหมือน ๆ กัน ก็จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน บางครั้งแฟรนไชส์บางธุรกิจ อาจจะยังไม่มีคู่มือปฏิบัติการ หรือความพร้อมในการสนับสนุนมากนัก เพราะไม่พร้อมเรื่องกำลังคน ทีมงานก็ไม่มี แต่ธุรกิจมีความได้เปรียบมาก เช่น การใช้เงินทุนเริ่มธุรกิจต่ำ ต้องการการสนับสนุนน้อย และคืนทุนเร็ว

3. ต้องยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย

25

บางครั้งแฟรนไชส์ซอร์ มักจะคิดอยู่เสมอว่า จะคิดเงินแฟรนไชส์ซี อะไรบ้าง จะหารายได้จากแฟรนไชส์ซีอย่างไร ซึ่งผลที่ตามมาคือ ต้นทุนของแฟรนไชส์ซีสูง จนอยู่ไม่ได้ ถือเป็นผลเสียตามมาถึงแฟรนไชส์ซอร์ในอนาคต เพราะทุกคนก็จะบอกว่าแฟรนไชส์ซอร์รายนี้เห็นแต่ตัว เอาเปรียบแฟรนส์ซี ทุกอย่างจะคิดเป็นเงินหมด

ดังนั้น ทุกครั้งที่แฟรนไชส์ซอร์จะคิดค่าใช้จ่ายจากแฟรนไชส์ซี ควรคำนึงถึงความอยู่รอดของธุรกิจด้วย แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีมัก จะคิดอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไร จึงจะประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้ เพราะถ้าแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นผู้แนะนำ แฟรนไชส์ซีรายอื่นๆ กลับเข้าในระบบแฟรนไชส์แบรนด์นั้นอีกที

แต่อย่างไรก็ตาม แฟรนไชส์ซอร์ก็ควรที่จะคำนึงถึงธุรกิจของตนเองด้วย เพราะบางครั้งการเก็บค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ค่า ROYALTY ค่าโฆษณา หรือค่าดำเนินการต่างๆ นั้น บางครั้งจำเป็นต้องมีบ้าง เพราะจะเป็นการช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์อยู่รอดและประสบความสำเร็จ แฟรนไชส์ซอร์มีความแข็งแกร่ง มีงบประมาณที่สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ

ตลอดจนระบบธุรกิจให้ดีขึ้นตลอดเวลา ทำให้แฟรนไชส์ซีแข็งแกร่งตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นการรวมตัวกันส่งเสริมให้ธุรกิจ เหนือกว่าคู่แข่ง ที่ไม่ได้ใช้ระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ หลายๆ ครั้งที่แฟรนไชส์ซีได้เอาระบบของแฟรนไชส์ซอร์มาพัฒนาต่อ แล้วประสบความสำเร็จ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ได้ผลประโยชน์ตรงนี้ไปด้วย

26

สรุปก็คือ หลักทฤษฎีแฟรนไชส์ง่ายๆ ทั้ง3 ทฤษฎีควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นระบบแฟรนไชส์เป็นเหมือนการหาคู่แต่งงานกัน ก่อนที่จะทำการตกลงปลงใจกัน ควรที่จะทำการศึกษาดูใจกันและกัน ให้รู้ลึก รู้จริงระหว่างซึ่งกันให้ถ่องแท้

รวมถึงเจ้าของแฟรนไชส์ต้องเข้าใจว่าระบบแฟรนไชส์ บางธุรกิจไม่จำเป็นต้องเดินตามเส้นที่ขีดไว้เสมอไป ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์อาจแตกต่างกันไปบ้าง ที่สำคัญทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องไม่เอาเปรียบกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในที่สุดก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ มีความแข็งแกร่งด้วยตัวมันเอง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2OEIDVp

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช