ถกไม่เถียง! ยุคนี้งานประจำทำ “เอกชน” เสี่ยงสูงกว่า “งานราชการ”

สำรวจจำนวนคนไทยมีประมาณ 67 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานหรือพร้อมทำงาน 38.63 ล้านคนในจำนวนนี้อยู่ในส่วนของภาครัฐประมาณ 2.91 ล้านคน ซึ่งสัดส่วนข้าราชการไทยไม่ได้มีมากเกินไปโดยอยู่ที่ประมาณ 7.7% หากเทียบกับหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร 16% สหรัฐฯ 14.9% เกาหลีใต้ 8.1% และญี่ปุ่น 5.9% เป็นต้น

ถ้าวิเคราะห์สถานการณ์ในยุคนี้ยิ่งตอกย้ำให้คนอยากทำงาน ราชการ มากกว่า เอกชน คุณคิดว่าจริงไหม?

เอกชน

ภาพจาก www.freepik.com

เหตุผลที่คนมองว่าทำงานข้าราชการ ดีกว่า คือ

  • สิทธิการใช้วันลา ที่มีให้อย่างต่อเนื่องรวมๆแล้วแต่ละปีอาจมากกว่า 30 วันต่อปี ซึ่งมากกว่าทำงานเอกชนแน่
  • สิทธิในการรับเงินบำเหน็จ / บำนาญ การันตีได้ว่าชีวิตหลังเกษียณจะมีเงินใช้แน่ถ้าในระหว่างทำงานได้เก็บเงินก้อนนี้ไว้
  • สิทธิรักษาพยาบาล สามารถใช้สิทธิรเบิกจ่ายได้เต็มจำนวนทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลของรัฐ
  • ความมั่นคงในหน้าที่การงาน เนื่องจากเป็นระบบงานของรัฐที่หากไม่กระทำผิดร้ายแรงยังไงก็ไม่ถูกไล่ออก
  • มีเกียรติและอำนาจ ยิ่งเป็นข้าราชการในตำแหน่งสูงยิ่งมีคนเคารพนับถือ เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม

นอกจากนี้การทำงานราชการยังได้สิทธิประโยชน์ในอีกหลายด้าน เช่น เงินช่วยเหลือค่าเช่าที่พักอาศัย สิทธิเข้าพักที่บ้านพักราชการ ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ รถประจำตำแหน่ง เป็นต้น

เอกชน

ภาพจาก www.freepik.com

แม้จะมีบ้างที่ย้อนแย้งว่า “ทำงานราชการ” สวยแต่รูปจูบไม่หอม ภาพลักษณ์ดีจริง มั่นคงดีจริง แต่เงินเดือนน้อยกว่าทำงานเอกชน อันนี้ก็คงเป็นความจริงที่เถียงไม่ได้ แต่รายได้ของงานราชการก็มีการปรับอัตราเงินเดือนต่อเนื่องเช่นกัน อย่างล่าสุด 1 พฤษภาคม 2567 อัตราเงินเดือนใหม่ในตำแหน่งวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้เงินเดือน 23,780 – 26,160 บาท หรือต่ำสุดในเรตเงินเดือนข้าราชการคือ 16,500 – 18,150 บาท

ถ้าเทียบกับการทำงานในภาค เอกชน เงินเดือนเริ่มต้นของผู้จบใหม่ประมาณ 15,000 – 18,000 บาท แต่ถ้าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เป็นบุคลากรที่ทางบริษัทต้องการ ทำงานในตำแหน่งที่ขาดแคลน เงินเดือนอาจขยับสูงขึ้นกว่าเดือนละ 30,000 – 50,000 บาท ก็ขึ้นอยู่กับสายงานและโครงสร้างของบริษัทเป็นสำคัญด้วย

เอกชน

ภาพจาก www.freepik.com

อย่างไรก็ดีถ้าดูในแง่ของสวัสดิการ “งานเอกชน” ต้องยอมรับว่ามีความหลากหลาย หากเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ อาจจะดีกว่าทำงานข้าราชการเพราะมีโอกาสเติบโตก้าวหน้า และมีสวัสดิการด้านอื่นๆ ที่มากกว่า เช่นโบนัส ท่องเที่ยวประจำปี การปรับขึ้นเงินเดือน เป็นต้น แต่เมื่อหน้าที่การงานเติบโตความรับผิดชอบในสายงานก็มากขึ้น อันนี้ก็จะแตกต่างจากงานราชการที่ยิ่งเป็นคนเก่าอยู่มานาน บางทีแทบไม่ต้องทำอะไรมาก สั่งให้ลูกน้องทำแทน ตัวเองแค่คอยดูแลกำกับการทำงานอยู่เบื้องหลังเท่านั้น

และอย่างที่กล่าวไว้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยุคนี้ เอื้อให้คนมองว่า ทำงานราชการดีกว่า เอกชนเพราะความเสี่ยงในการเลิกกิจการมีสูง ยกตัวอย่างล่าสุดคือ CARS 24 ที่ปิดฉากธุรกิจในไทยหลังจากดำเนินกิจการมานานกว่า 9 ปี ส่งผลให้มีคนตกงานกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ CARS 24 แต่มีอีกหลายธุรกิจที่ต้องปิดกิจการเช่น Voice TV , ร้านค้าปลีก99 Cents Only , ร้าน The Body Shop เป็นต้น

ภาพจาก www.freepik.com

คำกล่าวว่า “ยุคนี้ใครทำงานประจำอยู่ให้กอดไว้ให้แน่น” เพราะความเสี่ยงในการออกมาทำธุรกิจตัวเองแล้วจะอยู่รอดได้นั้นยาก ยิ่งถ้าเป็นคนที่ทำงานข้าราชการ มีหลายปัจจัยที่ได้เปรียบ แต่เราก็มักเห็นว่าคนที่ทำงานข้าราชการเอง เงินเดือนมักไม่พอใช้ ซึ่งในมุมของคนทำงานเอกชนก็เช่นกันที่แต่ละเดือนก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง

ดังนั้นคำว่า “ความเสี่ยง” อาจไม่ได้หมายถึงว่าคุณทำงานอะไร แต่เป็นความเสี่ยงที่มาจากการบริหารการเงินของตัวเองได้ไม่ดีพอ สมัยนี้รายได้ทางเดียวอาจไม่พออีกต่อไป ไม่ว่าจะทำราชการหรืองานเอกชนก็ควรมีอาชีพที่สองในการเพิ่มเติมรายได้ซึ่งจะช่วยลด “ความเสี่ยง” ได้มากขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด