10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ส่วย

ส่วย กับ ภาษี เป็นการจ่ายเงินของประชาชนเหมือนกันแต่ผลที่ได้ไม่เหมือนกัน เพราะภาษีคือเงินที่เราเสียไปแล้วย้อนกลับมาพัฒนาประเทศ แต่ส่วยคือเงินที่เราต้องเสียให้กับผู้มีอำนาจอันเป็นการหาผลประโยชน์ใส่ตัว

และปัญหา “ส่วย”ก็คาราคาซังเกาะกินสังคมไทยมานาน เข้าตำรา “น้ำท่วมปาก” คนที่ต้องจ่าย “ส่วย” ก็ต้องกล้ำกลืนฝืนทน และคงจะดีมากถ้ามีใครสักคนที่จะกล้ารื้อระบบ “ส่วย” ในเมืองไทยให้หายไปได้สักที

1. “ส่วย” เป็นคำจากภาษาจีน

เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ ส่วย

ภาพจาก https://citly.me/iB0tA

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า “ส่วย” เป็นคำมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “ส่วยโบ๊ว” ซึ่งแปลว่า “ภาษี” อันหมายเงินเงินที่เราเสียให้รัฐเพื่อนำมาพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตประชาชน แต่ในปัจจุบันคำว่า “ส่วย” กลายเป็นคนละเรื่องและกลายเป็นคำที่เราเข้าใจว่ามันคือ “สินบน” ที่เอาไว้จ่ายให้ผู้มีอำนาจเพื่อเลี่ยงข้อกฎหมายต่างๆ

2.สมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดเก็บ “ส่วยอากร”

เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ ส่วย

ภาพจาก https://citly.me/H2Sgp

ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดเก็บ “ส่วยอากร” ตามกฎหมายแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

  1. จังกอบ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้า
  2. อากร การเก็บรายได้จากประชาชนที่ทำธุรกิจต่างๆ
  3. ส่วย การจัดเก็บรายได้ทั้งเป็นเงินหรือสิ่งแทนเงินจากผู้อยู่ใต้การปกครอง
  4. ฤชา ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากราษฏรที่มาติดต่อทำธุรกรรมกับราชการ

3.ส่วยแทนแรงงานเกณฑ์

เป็นการจัดเก็บประเภทหนึ่งในอดีตที่กำหนดให้ประชาชนจ่ายเป็นแรงในการทำงานแทนเงินเช่นการเข้าเวรทำงานในสถานที่ทำงานของรัฐตามกำหนดระยะหนึ่ง เช่น ปีละ 6 เดือน เป็นต้น ต่อมาสมัยอยุธยาตอนปลายกำหนดเพิ่มให้สามารถจ่ายเป็นเงินแทนการใช้แรง คิดอัตราคนละ 2 บาทต่อเดือน ถ้าไม่ต้องการเข้าเวรตลอดปี ต้องจ่ายให้แก่มูลนาย 12 บาท เป็นต้น

4.เส้นทางการเก็บ “ส่วย” ในอดีต

กรมการเมืองของแต่ละเมืองจะเป็นผู้รับผิดชอบแล้วส่งส่วยมายังกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม หรือกรมท่า แล้วแต่ว่าจะสังกัดกรมใด ซึ่งส่วยที่จัดเก็บได้ทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปยังพระคลังมหาสมบัติและคลังอื่นได้แก่ พระคลังสินค้า คลังในซ้ายและขวา คลังราชการ เพื่อนำเอารายได้ทั้งหมดนี้กลับมาใช้ในการพัฒนาประเทศ อันเป็นรูปแบบของการบริหารราชการในอดีต

5.ประเภทของ “ส่วย” ปัจจุบัน

เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ ส่วย

ภาพจาก https://citly.me/VsGWP

ในอดีต “ส่วย” คือการจัดเก็บที่มีประโยชน์ต่อประเทศ แต่ปัจจุบันกลายเป็นผลประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม ตามที่ปรากฏเป็นข่าวมีส่วยอยู่หลายรูปแบบเช่น ส่วยสติ๊กเกอร์รถบรรทุก , ส่วยสติ๊กเกอร์ลอตเตอรี่ , ส่วยสติ๊กเกอร์แรงงาน เป็นต้น

ซึ่งส่วยแต่ละแบบก็มีการจัดเก็บ วิธีการที่คล้ายกันคือต้องจ่ายเงินให้กับผู้มีอำนาจเพื่อแลกกับการคุ้มครอง การดูแล หรือการหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินคดีต่างๆ และที่หลายคนต้องจ่ายส่วยเพราะไม่อยากมีปัญหาหรือต้องจ่ายแพงกับการเสียค่าปรับในการดำเนินคดีต่างๆ

6.ส่วยรถบรรทุกมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน

จากข้อมูลข่าวที่ปรากฏส่วยรถบรรทุก คือ การเหมาจ่ายเงินให้ผู้มีอำนาจตั้งแต่ต้นทาง เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินตามด่านเมื่อถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจและพบว่ากระทำผิด ข้อมูลระบุว่ารถบรรทุกในไทยมีทั้งหมดประมาณ 5,500,000 คัน และมีรถที่ทำผิดกฎหมายมากถึง 20% ในอดีตมีการจ่ายแบบราคาเหมา

เช่น ผู้ประกอบการ 1 รายมีรถบรรทุก 20 คัน จะจ่าย 5,000-6,000 บาทต่อเดือน แต่ปัจจุบันรูปแบบการจ่ายส่วยรถบรรทุกผู้ประกอบการรถบรรทุกจะจ่ายเป็นคันราคาประมาณ 10,000-27,000 คันต่อเดือน ขึ้นอยู่ปริมาณการบรรทุกน้ำหนักของรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่าส่วยรวมกว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน

7.ส่วนรถบรรทุกมีสติ๊กเกอร์หลายแบบ

ส่วย

ภาพจาก https://citly.me/WYHOX

รูปแบบสติ๊เกอร์ขึ้นอยู่กับพื้นที่บางแห่งเป็นสติกเกอร์พระอาทิตย์ยิ้ม หรือดอกทานตะวันยิ้ม นอกจากนี้ยังมีสติ๊กเกอร์รูปใบโพธิ์ , อีกแบบที่เจอ คือ สติกเกอร์ “ไจแอนท์” ข้อมูลยังระบุอีกว่าสติ๊กเกอร์รถบรรทุกในภาคอีสานจ่ายแพงสุดอาจถึง 25,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากมีพื้นที่ในการวิ่งกว้างขวางที่สุด

8.ส่วยสติ๊กเกอร์ลอตเตอรี่เรียกเก็บเดือนละ 100-1,000 บาท

อีกส่วยที่ปรากฏเป็นข่าวคือส่วยสติ๊กเกอร์ลอตเตอรี่เป็นลักษณะการเรียกเก็บเพื่อแลกกับการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยเกินราคาได้ โดยผู้ขายลอตเตอรี่เล่าว่าจะต้องจ่ายเป็นรายเดือนตั้งแต่ 100-1000 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่หรือทำเลในแต่ละจังหวัดนั้น

พอใครจ่ายเงินแล้ว ก็จะได้สติกเกอร์มาติดไว้ที่แผง รูปแบบสติ๊กเกอร์ก็แตกต่างกันไป บางพื้นที่ก็เป็นเหมือนอักษรจีน เป็นต้น เมื่อผู้มีอำนาจมาตรวจสอบเห็นสติกเกอร์ก็จะรู้กันว่าจ่ายส่วนเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถขายหวยเกินราคาได้โดยไม่ถูกจับ

9.ส่วยสติ๊กเกอร์แรงงาน ต้องจ่ายกว่า 6,000 บาทต่อเดือน

ภาพจาก https://citly.me/QorhP

แรงงานก็มีเรื่องส่วยปรากฏเป็นข่าว เรียกว่า ส่วยสติ๊กเกอร์แรงงาน จากข้อมูลทราบว่าส่วนใหญ่เป็นสติ๊กเกอร์รูปสัตว์ที่พ่อค้า แม่ค้า หรือผู้ประกอบการในบางพื้นที่ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,500 – 6,000 บาท ซึ่งมีสติ๊กเกอร์หลายแบบเช่นรูปสิงโต , เป็ด , ไก่ , เสือโคร่ง , เสือดำ เป็นต้น

10.วิธีแก้ปัญหา “ส่วย” เบื้องต้น

ถ้าเป็นส่วยรถบรรทุกอาจต้องเริ่มจากผู้ประกอบการทำตามกฎหมายเคร่งครัดทั้งในเรื่องน้ำหนักเกิน จะได้ไม่ตกเป็นเป้าหมายในการจ่ายส่วย หรือการที่เจ้าหน้าที่ไม่ควรตั้งด่านตรวจสอบซ้ำซ้อนแก้ปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์จากรถบรรทุก ถ้าเป็นส่วยลอตเตอรี่ก็อาจแก้ไขปัญหาอันเกิดจากพ่อค้าคนกลางมารับแล้วไปจำหน่ายต่อทำให้คนขายต้องซื้อแพงขายแพง เป็นต้น

คนไทยตั้งใจทำอะไรเราไม่แพ้ชาติใดในโลก ปัญหาส่วยก็เหมือนกันถ้าตั้งใจและร่วมมือกันแก้ไขจริงจัง ระบบโครงสร้างเน่าๆ ที่ไปเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มก็จะค่อยๆหมดไป แต่เราทุกคนต้องร่วมมือและบูณณากันเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://citly.me/TCRaE , https://citly.me/lKACD , https://citly.me/kwOt9 , https://citly.me/bUPgG , https://citly.me/bYpsR , https://citly.me/iKTGU , https://citly.me/us3kl , https://citly.me/WOLle

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต