มาแล้ว! ไอศกรีมในตำนาน ฮาเวลส์ (Hawell’s) คัมแบค ชูโมเดล Stand Alone ขายแฟรนไชส์ทั่วโลก

การกลับมาภาคใหม่ของไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในตำนาน ฮาเวลส์ (Hawell’s) หลังจากทยอยปิดสาขาทั้งหมด 22 แห่ง เพราะห้างไม่ต่อสัญญา โดนแบรนด์ใหญ่กีดกัน จนเหลือสาขาสุดท้ายเซ็นทรัลปิ่นเกล้าที่ปิดไปในปี 2557

ไอศกรีมในตำนาน ฮาเวลส์

การคืนชีพกลับมาครั้งนี้ ทำให้แฟนๆ ไอศกรีม “ฮาเวลส์” ดีอกดีใจกันยกใหญ่ เพราะไม่ได้ทานไอศกรีมในตำนานมาหลายปี ที่สำคัญทางผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะสร้างธุรกิจให้เติบโตขยายสาขาแฟรนไชส์ไปทั่วโลก มีอายุอยู่นานนับ 100 ปี

จุดเริ่มต้นของ “ฮาเวลส์”

ไอศกรีมในตำนาน ฮาเวลส์

ดร.ษิริพงศ์ อัครศรียุกต์ ประธานกรรมการ บริษัท ฮาเวลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ตนเองชอบกินไอศกรีมมาตั้งแต่อายุ 1 ปี โดยไม่สามารถขาดได้แม้แต่วันเดียว จนกระทั่งอายุ 10 ปี ได้แอบพ่อแม่ไปขายไอศกรีม สะพายกระติกและเขย่ากระดิ่งเดินขายจาดอนุสาวรีย์หลักสี่ไปจนถึงสะพานใหม่ดอนเมือง สายไหม เพราะอยากหารายได้

พอจบ ม.6 เขาได้ไปทำงานที่ร้านพิซซ่าฮัทช่วงเรียนมหาวิทยาลัย จนกระทั่งได้เข้าทำงานในสเวนเซ่นส์ ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตและชิมไอศกรีมทุกถังก่อนส่งไปจำหน่าย อีกทั้งยังได้ร่วมกับกับทีมงานคิดค้นไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ ต่อมาเลื่อนเป็นผู้บริหารและร่วมก่อตั้งไอศกรีม “อังเคิลเรย์” ได้คิดค้นรสชาติไอศกรีมมากกว่า 60 รสชาติ จากนั้นไปเป็นผู้บริหารให้กับร้านแดรี่ควีน (เครือพาราวินเซอร์) จนเลือนเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้าน ก่อนจะจับใบแดงเป็นทหารเมื่ออายุ 24 ปี

หลังปลดจาการเป็นทหาร ดร.ษิริพงศ์มีความคิดอยากเป็นเจ้าของกิจการ จึงได้พัฒนาสูตรไอศกรีมจากการสั่งสมประสบการณ์เมื่อครั้งทำงานสเวนเซ่นส์ และได้ตั้งแบรนด์ไอศกรีมชื่อ Is it Ice Cream ก่อนจะเปลี่ยนเป็น Donald Rabbit ขายไอศกรีมส่งตามบ้านทั่วกรุงเทพฯ จนกระทั่งถึงปี 2540 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ธุรกิจต้องปิดกิจการลงไป

 

ไอศกรีมในตำนาน ฮาเวลส์

หลังจากนั้นได้พัฒนาสูตรไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง แต่ราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ รสชาติอร่อย พอถึงปี 2542 ได้เปิดร้านไอศกรีม “ฮาเวลส์” สาขาแรกที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า ลูกค้าให้การตอบรับอย่างล้นหลาม ขายราคาโคนละ 9 บาท ถูกกว่าแบรนด์อื่น ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วขยายสาขามากถึง 22 สาขาในเวลา 3 ปี โดยแต่ละสาขาที่เปิดในห้างขายดีจนโดดเด่น เตะตาคู่แข่งแบรนด์ใหญ่ นำไปสู่การกีดกันต่างๆ นานา ไปจนถึงห้างไม่ต่อสัญญา จึงต้องทยอยปิดสาขาทั้งหมด

ดร.ษิริพงศ์ เล่าต่อว่า เขาไม่คิดจะเลิกทำไอศกรีม แต่ด้วยปัญหาอุปสรรคต่างๆ จึงได้หยุดคิดและหันเข้าหาธรรมะ คิดได้ว่าตนต้องรวยก่อนถึงจะกลับมาเปิดร้านไอศกรีมแบบ “สแตนอโลน” ริมถนน รถสัญจรผ่าน ไม่ต้องกังวลเรื่องห้างจะยกเลิกสัญญา แบรนด์ใหญ่กีดกัน ช่วงเวลานั้นได้ไปเรียนต่อด็อกเตอร์และได้ลงทุนทำธุรกิจน้ำมันจากพลาสติก ขาดทุนไปกว่า 100 ล้านบาท จากการที่จะเอาเงินจากน้ำมันมาทำไอศกรีม กลายเป็นว่าตกบ่อน้ำมันเสียเอง

การกลับมาภาคใหม่ “ฮาเวลส์”

ไอศกรีมในตำนาน ฮาเวลส์

ดร.ษิริพงศ์ เล่าว่า ช่วงเกิดระบาดโควิด-19 เขาได้เปิด Facebook ดูคอมเมนต์ต่างๆ พบว่าลูกค้ายังคิดถึงไอศกรีมฮาเวลส์ เรียกร้องให้กลับมาเปิดสาขาอีกครั้ง เขาจึงคิดอยากทำไอศกรีมใหม่ มีการพัฒนาสูตรฮาร์ดไอศกรีมจนประสบความสำเร็จ พอถึงปี 2564 ได้ทดลองส่งไปยังสหรัฐอเมริกาได้รับความนิยมอย่างมาก ต่อมาได้เปิดจำหน่ายไอศกรีมแบบพรีออเดอร์ทางออนไลน์ จำหน่ายเพียง 5 รสชาติ ราคา 109 บาท จัดโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 ในช่วงแรกๆ ได้รับความนิยมล้นหลาม

พอโควิด-19 คลี่คลาย ตัดสินใจกลับมาทำธุรกิจไอศกรีมอีกครั้ง เป็นร้านไอศกรีม “ฮาเวลส์” สาขาแรกรูปแบบสแตนอโลนลำโพ บางบัวทอง นนทบุรี ในวันที่ 28 ต.ค. 2566 ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับเกินความคาดหมาย สามารถทำยอดขายช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ได้เกือบ 50,000 บาท/วัน วันธรรมดาราวๆ 15,000 บาท มีทั้งเมนูเครื่องดื่ม ไอศกรีม และอาหาร

ดร.ษิริพงศ์ เล่าต่อว่า สาเหตุที่กลับมาเปิดร้านไอศกรีมฮาเวลส์ในรูปแบบ “สแตนอโลน” เพราะไม่ต้องกังวลในเรื่องสัญญาการเช่าร้านในห้าง การกีดกันของแบรนด์ใหญ่ อีกทั้งค่าเช่าถูกกว่าในห้างหลายเท่า แต่ก่อนแต่ละสาขาของฮาเวลส์เสียค่าเช่าในห้างเดือนละแสนกว่าบาท ถ้าเปลี่ยนเป็นนอกจากอาจจะเสียประมาณหมื่นกว่าบาท ถือว่าได้กำไรคืน 9 หมื่นบาท

หลักการลงทุนแฟรนไชส์

ไอศกรีมในตำนาน ฮาเวลส์

  1. การบริหารจัดการร้านเป็นหน้าที่ของบริษัทแม่แฟรนไชส์ โดยจะจัดหาพนักงาน ผู้จัดการร้าน รวมถึงฝึกอบรม ควบคุมการทำงานทั้งหมด ตลอดอายุสัญญา เพื่อให้สาขาแฟรนไชส์ทั่วประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  2. ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีหน้าที่ลงทุน จัดหาพื้นที่ในการเปิดร้าน ตรวจดูรายได้ในแต่ละวัน ตรวจเช็กสต๊อกสินค้าในแต่ละเดือน

รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์

#ร้านสเตนอโลน

  • ตั้งริมถนนสายหลัก มีรถสัญจรผ่านจำนวนมาก
  • ตั้งอยู่ในเขตชุมชน มหาวิทยาลัย มีผู้คนเดินผ่านจำนวนมาก
  • ตั้งในปั๊มน้ำมัน ดูโดดเด่น มองเห็นได้ชัดเจน
  • สัญญาเช่าควรมีระยะเวลา 10-20 ปี จะคุ้มค่าในการลงทุน
  • งานก่อสร้าง+อุปกรณ์+เฟอร์นิเจอร์+ค่าแฟรนไชส์ รวม 6,500,000 บาท
  • Royalty Fee 5%
  • Marketing Fee 4%
  • ระยะเวลาสัญญา 5 ปี
  • ยอดขาย 600,000 บาทต่อเดือน กำไร 20% = 120,000 บาทต่อเดือน

ดร.ษิริพงศ์ เล่าต่อว่า สิ้นปี 2567 ตั้งเป้าขยายสาขาร้านไอศกรีมฮาเวลส์ 10 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยสาขาที่ 2 จะเปิดแถวๆ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เพราะมีฐานลูกค้าเก่าจำนวนมาก ซึ่งจะมีทั้งบริษัทเปิดเองและสาขาแฟรนไชส์

ถ้าเป็นไปได้อยากหาหุ้นส่วนมาร่วมลงทุนในธุรกิจฮาเวลส์เพื่อขยายสาขาไปทั่วโลก เพราะเชื่อมั่นในรสชาติไอศกรีมฮาเวลส์ที่เหนือกว่าแบรนด์อื่นๆ ในประเทศไทย ลูกค้าที่ได้ทานไอศกรีมฮาเวลส์แล้วจะไม่กลับไปทานไอศกรีมยี่ห้ออื่นอย่างแน่นอน

“ถ้าอยากทำธุรกิจร้านไอศกรีม ต้องมั่นใจรสชาติเหนือกว่าคู่แข่ง ถ้าเหมือนหรือสูสีคู่แข่ง ผมก็ไม่ทำ”

ปักหมุด “ฮาเวลส์” โกอินเตอร์

การกลับมาภาคใหม่ของ “ฮาเวลส์” ไม่ได้มาเล่นๆ ดร.ษิริพงศ์ ตั้งเป้าหมายขยายสาขาฮาเวลส์ไปทั่วโลก เพราะเชื่อมั่นในรสชาติไอศกรีมฮาเวลส์ที่เหนือกว่าแบรนด์อื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่เป็นแบรนด์ต่างประเทศกันทั้งนั้น การออกไปขยายตลาดต่างประเทศของฮาเวลส์จึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องหาหุ้นส่วนเข้ามาร่วมลงทุน โดยอยากเห็นแบรนด์ไอศกรีมสัญชาติไทยอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เหมือนกับแมคโดนัลด์ สเวนเซ่นส์ แดรี่ควีน

เคล็ดลับทำธุรกิจไอศกรีม

ดร.ษิริพงศ์ เล่าถึงเคล็ดลับในการทำธุรกิจไอศกรีมฮาเวลส์จนได้รับความนิยมจากลูกค้าเก่าและใหม่ว่า 1. ต้องพัฒนารสชาติให้อร่อยแตกต่างและเหนือกว่าคูแข่ง 2. บริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจ พูดจาไพเราะ สุภาพเรียบร้อย 3. บริหารจัดการร้านแบบอเมริกันสไตล์ รักษาคุณภาพมาตรฐาน ระบบต่างๆ ในร้านให้สม่ำเสมอ จนทำให้ลูกค้าหลายๆ คนที่เข้ามาใช้บริการแยกไม่ออกว่าฮาเวลส์เป็นไอศกรีมแบรนด์ไทยหรือแบรนด์ต่างประเทศ

ภาพจาก https://bit.ly/48vv9m1

ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า การกลับมาภาคใหม่ของไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในตำนานอย่าง “ฮาเวลส์” จะสามารถสร้างกระแสในตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไทยได้มากแค่ไหน ท่ามกลางการแข่งขันกันในสมรภูมิรุนแรง

โดยเฉพาะการเข้ามาขยายตลาดเมืองไทยอย่าง “Mixue” และ “Ai-Cha” แบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ ที่สำคัญยังมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง “แดรี่ควีน” ที่มีขุมกำลังและปักหลักในตลาดเมืองไทยมายาวนาน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

แหล่งข้อมูล https://bit.ly/48vv9m1 

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช