ไขสงสัย ไม้แบบก่อสร้างมีทั้งหมดกี่แบบและอะไรบ้าง?

ในงานก่อสร้างของผู้รับเหมานั้น ส่วนใหญ่มักจะมีใช้ไม้แบบก่อสร้างอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการเลือกใช้ไม้กับงานแต่ละประเภทนั้น ก็มักจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขนาดของงานหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการขึ้นชิ้นงาน

เทคนิคเบื้องต้นในการเลือกไม้แบบสำหรับใช้งาน

ไม้แบบก่อสร้าง

การเลือกใช้ไม้แบบก่อสร้างสำหรับงานนั้น ต้องคำนึงถึงประเภทของงาน โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • สำหรับงานที่ต้องใช้รับน้ำหนักโดยตรง ต้องมีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้ดี โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม อย่างเช่น ไม้ประเภทเนื้อแข็ง ที่มีคุณสมบัติเนื้อแน่น แข็งแรง และทนทาน
  • แต่หากเป็นงานไม้ที่ใช้สำหรับการประกอบบานหน้าต่าง ประตู หรือการขึ้นงานเครื่องเรือนต่าง ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงไม้มีลักษณะสวยงาม ต้องมีความประณีต เพราะไม่ได้เน้นไปที่การรับน้ำหนัก แต่เน้นไปที่การโชว์ความสวยงามของลวดลายงานไม้แทน

ปัจจุบันมีไม้แบบที่ใช้ในงานก่อสร้างอยู่หลายประเภท ลองมาดูกันดีกว่าว่าจะมีไม้ประเภทไหนบ้างที่นิยมนำมาทำเป็นไม้แบบสำหรับงานก่อสร้าง

1.ไม้เบญจพรรณ

ไม้เบญจพรรณเป็นไม้เนื้อผสม ที่มีลักษณะของความเป็นไม้เนื้อแข็งและเนื้ออ่อน โดยเป็นการรวมตัวกันของไม้หลายชนิด เป็นไม้ที่มีขนาดตั้งแต่กลางๆ จนถึงขนาดใหญ่ และด้วยความที่เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานค่อนข้างมากจึงนิยมทำไปทำเป็นแบบเสา ทำโครง ไม้แบบเทพื้น หรืองานไม้โครงสำหรับการบิ้วอินงานช่างต่าง ๆ

2.ไม้กระบาก

ไม้กระบากเป็นไม้แบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีคุณภาพดี กันน้ำ ไม่บิดงอ เนื้อไม้มีความแข็งและเหนียว ไม่เสื่อมหรือผุพังง่าย อีกทั้งยังสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง จึงนิยมนำมาใช้ในงานที่ต้องมีการตีตะปู รวมถึงใช้ไม้ชนิดนี้ในการทำแบบหล่อคอนกรีตอีกด้วย

3.ไม้ยูคาลิปตัส

ไม้ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่นำมาใช้ในงานไม้แบบเทพื้น เนื่องจากเนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน มีขนาดใหญ่ รวมถึงสามารถใช้ในการสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานได้อีกด้วย

4.ไม้ยางมาเลย์

ไม้ชนิดนี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานก่อสร้าง เพราะมีลักษณะเฉพาะตัวที่เหมาะสม ตัวไม้มีขนาดที่ไม่เล็กไม่ใหญ่ น้ำหนักปานกลาง นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะราคาไม่แพง และมีการนำเข้าส่งออกในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

5.ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ

ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำเหมาะมากสำหรับงานก่อสร้างเป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต เพราะการขึ้นไม้แบบหล่อคอนกรีตต้องอาศัยความแข็งแรง ทนทาน เพราะจะมีการใช้งานสูงจนกว่าคอนกรีตจะแห้งและได้รูปทรงตามที่ต้องการ โดยไม้ชนิดนี้ยังเป็นการลดปัญหาการแตกหักของไม้อัดระหว่างหล่อแบบคอนกรีตได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า ในขณะเดียวกันก็ไม่มีเสี้ยนไม้เยอะเท่าไม้อื่น ๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้ผลงานที่มีความเรียบร้อย และเก็บงานง่าย

และทั้งหมดนี้ก็คือไม้แบบทั้ง 5 ประเภท รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมเลือกไม้แบบต่าง ๆ ให้เหมาะแก่การใช้งานแต่ละประเภท เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงาม ทนทาน และคุ้มค่ากับงานประเภทนั้น ๆ มากที่สุด

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต