ช็อค! รวม 16 ธุรกิจเลิกจ้าง-ปิดกิจการ 2566 สัญญาณเศรษฐกิจไทยถดถอยมากกว่าที่คิด

โบกมือลา ไปต่อไม่ไหวแล้ว! รวม 16 ธุรกิจในไทย ปิดกิจการ – เลิกจ้าง จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจถดถอย การแข่งขัน ตลาดไม่เอื้ออำนวย หมดสัญญาในไทย ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง มาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง เตรียมโบกมือลา ปิดกิจการ เลิกจ้าง ไปต่อไม่ไหวในประเทศไทยปี 2566

1.บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)

ปิดกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/3SXor3k

ประกาศเลิกกิจการ 3 บริษัทย่อย จากปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ได้แก่ บริษัท หาดทิพย์ คอมเมอร์เชียล จำกัด ตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค, บริษัท หาดทิพย์ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจเจส จำกัด ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม และ บริษัท กินดีอยู่ดี 2020 จำกัด ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม มีผลตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

2.JD CENTRAL

ปิดกิจการ

ภาพจาก https://m.jd.co.th

ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซร่วมทุนระหว่าง JD.com และ กลุ่มเซ็นทรัล ประกาศปิดกิจการในไทย หลังจากเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2561 มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 จากปัญหาขาดทุนสะสมทุกปี โดยในปี 2564 มีรายได้ 7.4 พันล้านบาท ขาดทุน 1.9 พันล้านบาท

3.บริษัทแคล-คอม อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสมุทรสาคร

ภาพจาก https://bit.ly/47WNwzK

ประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวน 1,060 คน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 จากปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตสินค้า การขนส่ง ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้น รวมถึงวิกฤตการขาดแคลนซิปในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก บริษัทฯ จึงต้องปรับลดกำลังการผลิต ทำให้พนักงานเกินความต้องการ เป็นการปรับลดพนักงานเพียงบางส่วน

4.บริษัท ไพโอเนียร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา

ภาพจาก https://bit.ly/3N5b518

ประกาศเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 411 คนบริษัทฯ ดังกล่าว ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ มีลูกจ้างทั้งหมด 1,549 คน สาเหตุเลิกจ้าง เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาขาดสภาพคล่องด้านวัตถุดิบขาดแคลน จากบริษัทซัพพลายเออร์ปิดตัวลง ประกอบกับสินค้าของบริษัทฯ ไม่ได้เป็นที่นิยมเหมือนในอดีต

5.บริษัท คอสโม แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

ภาพจาก https://bit.ly/3RkdQye

ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 ทำให้ลูกจ้างผู้ประกันตนได้รับความเดือดร้อน ประสบปัญหาว่างงาน บริษัทฯ ดังกล่าว ประกอบกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากหนังหรือวัสดุอื่นๆ เช่น เคสโทรศัพท์ ซองใส่แท็บเล็ต มีจำนวนลูกจ้างทั้งหมด 4,002 คน บริษัทฯ แจ้งว่า ประสบปัญหาเรื่องยอดการสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงยกเลิกสัญญาจ้างก่อนระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาว่าจ้าง ลูกจ้างจำนวน 200 คน โดยให้การเลิกจ้างมีผลทันที 28 ส.ค. 66

6.บริษัท ถาวร ลำปาง จำกัด

ปิดกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/47FY8Dd

ดำเนินธุรกิจผลิตส่งออกเครื่องเรือนเครื่องใช้จากไม้ที่จังหวัดลำปาง ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 189 คน จากปัญหาขาดสภาพคล่องและขาดทุน โดยบริษัทฯ ได้เลิกจ้างลูกจ้างชุดแรกจำนวน 103 คน มีผลตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป และมีแผนเลิกจ้างเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 86 คน

7.บริษัท ทีเอ็มทีโมลด์ เทคโนโลยี จำกัด ในจังหวัดชลบุรี

ปิดกิจการ

ภาพจาก FB : ข่าวสารชลบุรี-ระยอง

ประกาศปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เนื่องจากไม่สามารถหาออเดอร์ในการผลิตแต่ละเดือนได้ ส่งผลให้พนักงานว่างงาน ดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้

8.บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR

ภาพจาก https://bit.ly/46EasCK

ประกาศเลิกกิจการบริษัท แคร์ฟอร์คาร์ จำกัด (CFC) บริษัทย่อยในเครือ OR เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยดำเนินธุรกิจให้บริการยานยนต์ออนไลน์ การปิดกิจการดังกล่าวเพื่อปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการและดำเนินงานของกลุ่มบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

9.บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (สำนักงานใหญ่) หรือ BISW

ภาพจาก https://bit.ly/3QVUttQ

ประกาศเลิกจ้างพนักงาน หลังประสบปัญหาขาดทุนสะสม มีผลตั้งแต่ 28 ธ.ค. 2566 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเหล็ก ทำให้บริษัทฯ ประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาตลอด โดยปี 64 รายได้ 6,261 ล้านบาท ขาดทุน 146 ล้านบาท และ ปี 65 รายได้ 5,669 ล้านบาท ขาดทุน 316 ล้านบาท

10.บริษัท คิตากาว่า (ประเทศไทย) จำกัด

ภาพจาก https://bit.ly/3T62krC

ตั้งอยู่นิคมบ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มายาวนานกว่า 10 ปี ประกาศปิดกิจการแบบถาวร (ย้ายฐานการผลิต) ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 2566 นับว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง มีทั้งโบนัส สวัสดิการดีมากๆ

11.บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ภาพจาก https://bit.ly/47YbH0n

ออกเอกสารหยุดดำเนินการผลิตยางรถยนต์ที่โรงงานรังสิต เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันของตลาดประเทศไทย มีผลตั้งแต่ 27 ต.ค. 2566

12.ร้านไอศกรีม Baskin Robbins

ภาพจาก www.facebook.com/BaskinRobbinsThailand

บริหารโดยบริษัท โกลเด้น สกู๊ป จำกัด ดำเนินกิจการในไทย 27 ปี มีจำนวนสาขาทั้งหมด 34 สาขา ประกาศปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 จากปัญหาขาดทุนสะสม โดยในปี 2565 มีรายได้ 76 ล้านบาท ขาดทุน 2 ล้านบาท

13.ร้านเครื่องดื่มน้ำผลไม้ปั่น Squeeze by Tipco

ภาพจาก www.facebook.com/SqueezeOfficialThailand

บริหารโดยบริษัท ทิปโก้ รีเทล จำกัด ดำเนินกิจการกว่า 20 ปี มีสาขาทั้งหมด 28 สาขา ประกาศปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 จากปัญหาขาดทุนสะสม โดยในปี 2565 มีรายได้ 75 ล้านบาท ขาดทุน 56 ล้านบาท

14.ร้าน Farm Design

ปิดกิจการ

ภาพจาก www.facebook.com/FarmDesignThailand

ร้านเบเกอรี่ชื่อดังจากฮอกไกโด บริหารโดยบริษัท เอส คอมพานี (1993) จำกัด ในเครือบุญรอดฯ ดำเนินกิจการกว่า 14 ปีในไทย มีสาขาทั้งหมด 26 สาขา ประกาศปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 จากปัญหาขาดทุนสะสม โดยในปี 2565 มีรายได้ 90 ล้านบาท ขาดทุน 12 ล้านบาท

15.ร้านพิซซ่า Mr.Pizza

ภาพจาก www.facebook.com/mrpizzathailand.mpt

บริหารโดยบริษัท มิสเตอร์พิซซ่า (ไทยแลนด์) จำกัด ในเครือฟู้ดแลนด์ ดำเนินกิจการในไทย 7 ปี 5 เดือน มีสาขาทั้งหมด 4 สาขา ประกาศปิดกิจการตั้งแต่ 24 ตุลาคม 2566 จากปัญหาขาดทุนสะสม โดยในปี 2565 มีรายได้ 5.2 ล้านบาท ขาดทุน 5.8 ล้านบาท

16.ร้านอาหารจีนชื่อดังจากฮ่องกง Tim Ho Wan

ปิดกิจการ

ภาพจาก www.facebook.com/TimHoWanTH

บริหารโดยบริษัท ติ่มซำ วันเดอร์แลนด์ จำกัด ในเครือฟู้ดแลนด์ ดำเนินกิจการในไทยมากว่า 8 ปี มีสาขากว่า 5 สาขา ประกาศปิดกิจการตั้งแต่สิ้นปี 2566 จากปัญหาขาดทุนและหมดสัญญาแฟรนไชส์ โดยในปี 2565 มีรายได้ 80 ล้านบาท ขาดทุน 43 ล้านบาท

นั่นคือ 16 ธุรกิจที่ดำเนินกิจการในประเทศ ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย การระบาดโควิด-19 การแข่งขันของธุรกิจ ทำให้ต้องปิดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน ตลอดทั้งปี 2566 หวังว่าธุรกิจที่ยังอยู่น่าจะสามารถปรับตัวมือกับสถานการณ์และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในปี 2567 ได้นะครับ

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช