เปิดสูตรคิดต้นทุน “ร้านจิ้มจุ่ม” ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง!

ร้านจิ้มจุ่ม ,หมูกระทะ , ชาบูชาบู รูปแบบของร้านอาหารสไตล์นี้คล้ายกันบางทีแยกกันไม่ออก ต่างกันที่รูปแบบเล็กน้อย บางร้านที่เป็นหมูกระทะเขาก็เมนูจิ้มจุ่มให้ลูกค้าที่ต้องการหรือร้านชาบูชาบู

ก็คือสไตล์ร้านปิ้งย่างที่อัพเกรดให้พรีเมี่ยมขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้ารับประทานได้อย่างเย็นสบายในห้องติดแอร์ ปัจจุบันการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้มีแฟรนไชส์ให้เลือกลงทุนได้ตามความเหมาะสม ราคาก็แตกต่างกันไป โอกาสที่จะมีกำไรก็ขึ้นอยู่กับทำเลและการบริหารจัดการร้านเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตามด้วยความที่เป็นร้านสไตล์ปิ้งย่าง ย่อมต้องมีเมนูและวัตถุดิบที่หลากหลาย และก็เป็นเหตุผลว่าต้นทุนที่แท้จริงของร้านจะต้องไปอยู่ที่วัตถุดิบเหล่านี้ ยิ่งเป็นสไตล์บุฟเฟ่ต์บางทีการคำนวณหา “จุดคุ้มทุน” จะยิ่งยากแสนยาก แต่ขอบอกว่ายากแค่ไหนก็ต้องหาจุดคุ้มทุนตัวเองให้ได้

www.ThaiSMEsCenter.com เลยจัดเอาสูตรคิดต้นทุนสำหรับร้านสไตล์ปิ้งย่าง หรือจิ้มจุ่มมาเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ลองพิจารณาดูเผื่อใครอยากเปิดร้านจะได้รู้ว่าราคาขายที่แท้จริงควรเป็นเท่าไหร่ที่จะทำให้ร้าน “ไม่เจ๊ง”

ต้นทุนหลักของร้านจิ้มจุ่ม

ร้านจิ้มจุ่ม

ภาพจาก www.facebook.com/Faak.tong

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าร้านจิ้มจุ่มสิ่งที่ต้องมีในร้านคือ น้ำซุป น้ำจิ้ม (สูตรเด็ดยิ่งอร่อยคนยิ่งชอบ) เนื้อต่างๆ ผักและเห็ดต่างๆ เมนูเส้น เครื่องเคียง ของหวาน เครื่องดื่ม ลองคิดต้นทุนสำหรับการเปิดร้านเอาจำนวน 10 โต๊ะ เป็นเกณฑ์

เงินลงทุนเบื้องต้นรวมทุกสิ่งอย่างประมาณ 50,000 –100,000 บาท (แล้วแต่การจัดแต่งร้าน) แต่อาจมีข้อแย้งว่า จิ้มจุ่มริมทางอาจจะเริ่มต้นได้ด้วยเงินไม่เกิน 10,000 บาท

อันนี้ก็แล้วแต่รูปแบบการลงทุน ซึ่งขนาดร้านที่ใหญ่กว่าก็มีโอกาสรับลูกค้าได้มากกว่า เพราะอย่าลืมว่า “จิ้มจุ่ม” ลูกค้าส่วนใหญ่จะนั่งกันทีละนานๆ หากเปิดร้านเล็ก มีแค่โต๊ะ 2 โต๊ะ ลูกค้าหมุนเวียนก็จะไม่มาก รายได้เราก็จะน้อยแปรผันกันตามนี้

ซึ่งร้านจิ้มจุ่มก็ถือเป็น ร้านอาหาร รูปแบบหนึ่ง โดยเกณฑ์เฉลี่ยของร้านอาหารผู้สันทัดกรณีได้กล่าวไว้ว่า “ต้นทุนอาหารควรอยู่ที่ 25-30% และต้นทุนด้านแรงงานควรอยู่ที่ 15-20%

นอกจากนี้ยังมีเรื่องต้นทุนคงที่ได้แก่ ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน เฉลี่ยแล้วควรอยู่ที่ 15-20% รวมถึงต้นทุนผันแปร เช่นค่าแก๊ส ค่าน้ำ ค่าไฟ จิปาถะในแต่ละเดือนควรอยู่ที่ 10-15%

รู้ต้นทุนของร้านแล้วจะทำอย่างไรให้ร้านมีกำไร?

s4

ภาพจาก www.facebook.com/rachajimjum

เมื่อรู้ต้นทุนของร้านว่าต้นทุนแต่ละชนิดควรอยู่เท่าไหร่แบบไหน ก็จะนำมาสู่การบริหารจัดการที่ขอบอกว่าร้านจิ้มจุ่มที่อยู่รอดไม่รอดก็เพราะ “เทคนิคการบริหารจัดการร้าน” ที่แต่ละคนมีความชำนาญไม่เท่ากัน บางร้านขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่สุดท้ายกำไรไม่มี สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ต้นทุน ก็ควรมากำหนด “ยอดขายในแต่ละวัน”

ยอดขายในแต่ละวันก็ขึ้นอยู่กับขนาดร้านเป็นสำคัญด้วย ในทีนี้ขอพูดถึงร้านขนาดกลางขึ้นไป มีโต๊ะที่นั่งประมาณ 10 โต๊ะ การตั้งเป้ายอดขายในแต่ละวันขั้นต่ำต้องประมาณ 10,000 บาท ซึ่งยอดขายนี้หากนำมาหักลบกับต้นทุนเมื่อคิดเปอร์เซ็นต์จะพบว่า ยอดขาย 10,000

  • ต้นทุนอาหารควรอยู่ที่ 2,500 – 3,0000 บาท
  • ต้นทุนแรงงานควรอยู่ที่ 1,500 – 2,500 บาท
  • ต้นทุนคงที่ ควรอยู่ที่ 1,500 – 2,500 บาท
  • ต้นทุนผันแปร ควรอยู่ที่ 1,000 – 1,500 บาท

ซึ่งการตั้งเป้า “ยอดขาย” จะทำให้ประมาณการได้ว่าเราจะมีกำไรต่อวันเท่าไหร่ ซึ่งการจะฟันธงว่าให้กำหนดราคาขายของจิ้มจุ่มว่าควรเป็นเท่าไหร่ ค่อนข้างพูดยาก

เพราะต้องขึ้นอยู่กับ ค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่งร้าน ค่าการตลาด ค่าราคาวัตถุดิบในแต่ละวัน รวมถึงคู่แข่งที่อยู่โดยรอบ สิ่งเหล่านี้ผู้ลงทุนต้องอาศัยความชำนาญในการหาเทคนิคลดต้นทุนตัวเองให้ได้มากที่สุดเพื่อโอกาสในการมีกำไรที่มากขึ้น

4 แนวทางทำร้านจิ้มจุ่มให้มีกำไร

s3

ภาพจาก www.facebook.com/rachajimjum

1.ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า

ลูกค้าส่วนใหญ่อาจไม่ได้สนใจว่าราคาของเราจะถูกหรือแพงแต่เขาสนใจแค่ว่าคุ้มหรือไม่คุ้มมากกว่า ฉะนั้นไม่ว่าเราจะตั้งราคาต่อคนต่อหัวเท่าไหร่ จะ 99 บาท 299 หรือ 399 จงมั่นใจว่าทุกเมนูที่เสิร์ฟให้ลูกค้า จะทำให้เขารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

s2

ภาพจาก www.facebook.com/isanatarena

2.บริหารจัดการต้นทุนให้ดี

เราต้องรู้ก่อนว่าในแต่ละเมนูมีต้นทุนเท่าไหร่ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง อย่างละกี่กรัม เมนูไหนออกมากหรือออกน้อย การรู้ความต้องการของลูกค้าที่สัมพันธ์กับเมนูสามารถลด food costs ได้

3.บริหารของเสียให้เหลือน้อยที่สุด

หนึ่งในรูปแบบที่น่าสนใจคือลดขนาดของอาหารให้น้อยลง ก็อาจลดโอกาสที่ลูกค้าจะกินเหลือให้น้อยลงได้ เนื่องจากพฤติกรรมของคนกินมักชอบลองอะไรหลายๆ อย่าง การที่แต่ละเมนูมีขนาดไม่ใหญ่นัก จะทำให้ลูกค้ามีโอกาสลองเมนูอื่นๆ มากขึ้น

s1

ภาพจาก www.facebook.com/isanatarena

4.คิดให้ดีก่อนทำโปรโมชั่น

โดยเฉพาะพวกโปรลดราคา หรือมา 3 จ่าย 2 อะไรพวกนี้แม้จะดึงดูดลูกค้าได้แต่โอกาสเสี่ยงเจ๊งก็มีสูง วิธิที่ดีที่สุดคือเราต้องรู้ตัวเองว่าขายอะไรและขายใคร โปรโมชั่นอาจทำให้ได้ลูกค้าใหม่แต่ก็อาจเสียฐานลูกค้าเก่าได้เช่นกัน ดังนั้นโปรโมชั่นจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนและไม่ควรมีบ่อยมากจนเกินไป

แต่ถ้าใครคิดว่าการเปิดร้านจิ้มจุ่มมันเป็นเรื่องยากและตัวเองไม่มีความถนัดในการคิดสัดส่วนต้นทุนให้ลดลงแต่ก็อยากลงทุนในธุรกิจนี้ขอแนะนำให้ซื้อแฟรนไชส์ที่ส่วนใหญ่มีอุปกรณ์และวัตถุดิบให้เราพร้อม และมีเทคนิคการขายต่างๆ มาแนะนำให้เรา ซึ่งเบื้องต้นหากเราลองขายและเริ่มมีความชำนาญในอนาคตเราอาจขอเปิดร้านเป็นกิจการตัวเองแบบไม่ต้องใช้แฟรนไชส์ก็ได้

*** สูตรการคิดคำนวณราคาขายดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RIQBhs


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด