หายสงสัย! 7-Eleven ของบริษัทแม่ CP กับของแฟรนไชส์ แตกต่างกันยังไง ดูตรงไหน?

เชื่อว่ามีหลายคนสงสัยและอยากรู้ว่าร้านสะดวกซื้อชื่อดังของไทยอย่าง 7-Eleven สาขาไหนเป็นของบริษัทแม่ซีพีออลล์ และสาขาไหนเป็นของแฟรนไชส์ซี วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลและวิธีการดูมานำเสนอให้ทราบ

ปัจจุบัน 7-Eleven แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้ออันดับหนึ่งของประเทศไทย มีจำนวนร้านค้ากว่า 13,838 สาขาทั่วประเทศ มีจำนวนสาขามากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่ญี่ปุ่นที่มีจำนวน 22,700 สาขา ซึ่ง 7-Eleven ในประเทศไทยมีจำนวนลูกค้า 916 คน/สาขา/วัน ลูกค้ารวมทุกสาขาเฉลี่ย/วัน 56.8 ล้านคน และรายได้/วัน 76,582 บาท/สาขา โดยมีสัดส่วนรายได้รวมทุกสาขา แบ่งออกเป็น สินค้าอุปโภค 26% และอาหาร 74%

สำหรับการลงทุนเปิดร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ร้านสาขาบริษัทดำเนินการเอง 49%, ร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต (Sub Area) 6% และ ร้านสาขาประเภทร่วมลงทุน หรือ Store Business Partner 45% ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยม และเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไป

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ https://bit.ly/3yRQVQx ล่าสุดระบุไว้ว่าการร่วมธุรกิจร้าน 7-Eleven หรือ การเป็น Store Business Partner มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้

7-Eleven ของบริษัทแม่

รูปแบบที่ 1

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการเปิดร้าน 480,000 บาท
  • เงินประกันความเสียหาย 1,000,000 บาท
  • ระยะเวลาการทำสัญญา 6 ปี
  • โครงการสินเชื่ออัตราพิเศษ Store business partner โดยธนาคาร รูปแบบ 1 (วงเงินกู้ ไม่เกิน 600,000 บาท ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี)

#รวมค่าใช้จ่าย 1,480,000 บาท

รูปแบบที่ 2

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการเปิดร้าน 1,730,000 บาท
  • เงินประกันความเสียหาย 900,000 บาท
  • ระยะเวลาการทำสัญญา 10 ปี
  • โครงการสินเชื่ออัตราพิเศษ Store business partner โดยธนาคาร รูปแบบ 2 (วงเงินกู้ ไม่เกิน 900,000 บาท ระยะเวลา สูงสุดไม่เกิน 8 ปี)

#รวมค่าใช้จ่าย 2,630,000 บาท

7-Eleven ของบริษัทแม่

วิธีดู 7-Eleven ร้านไหนเป็นของซีพีออลล์กับของแฟรนไชส์ซี

วิธีการดูว่า 7-Eleven สาขาไหนเป็นของผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี สังเกตได้ง่ายๆ ที่หน้าร้านกระจกจะเขียนข้อความติดไว้ ดังนี้ ชื่อบริษัทแม่จะอยู่บนสุด ถัดลงมาเป็นรหัสของสาขา ถัดลงมาล่างสุดเป็นสถานที่ตั้งของสาขา 7-Eleven นั้นๆ

  • CP ALL บมจ. ซีพี ออลล์
  • 12121
  • ถนนสุขุมวิท 20 ซอยต้นสน หรือ ปตท. ปทุมธานี บางเลน

ส่วนร้าน 7-Eleven สาขาของซีพีออลล์ทำเอง ให้สังเกตที่หน้าร้านจะเขียนข้อความเหมือนร้านแฟรนไชส์ซี แต่จะสลับที่กัน คือ รหัสของสาขาจะอยู่แถวบนสุด ถัดลงมาเป็นสถานที่ตั้งของสาขา 7-Eleven ถัดลงมาล่างสุดเป็นชื่อบริษัทซีพีออลล์

  • 13131
  • CP TOWER 3
  • บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

7-Eleven ของบริษัทแม่

สำหรับร้าน 7-Eleven ในปั้มน้ำมัน ปตท. นั้น ถือเป็นของแฟรนไชส์ซีด้วยเช่นกัน เพราะเจ้าของปั้มน้ำมันเป็นผู้ลงทุนเอง ไม่ใช่บริษัทซีพีออลล์เป็นผู้ลงทุนทำเอง แต่ถ้าสังเกตตามตึกใหญ่ๆ หรือสถานที่ประชุมใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น CP TOWER 3 และตึกอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านสาขาของบริษัทซีพีออลล์บริหารเอง

นั่นคือ วิธีการดูว่าร้าน 7-Eleven สาขาไหนเป็นของบริษัท และสาขาไหนเป็นของแฟรนไชส์ซี 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช