15 วิธีพลิกฟื้นธุรกิจแฟรนไชส์ให้แข็งแกร่งในปี 2021

ในช่วงปี 2020 เป็นปีที่ ธุรกิจแฟรนไชส์ ในสหรัฐอเมริกาได้รับความเสียหายหนักมากจากโควิด-19 แต่สำหรับผู้ประกอบการแล้วกลับมองว่าการพลิกฟื้นธุรกิจของตัวเองให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง ต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ แม้จะท้ายก็ตาม

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีมุมมองและแนวทางในการพลิกฟื้นธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกามานำเสนอให้ทราบ มาดูกันว่า 15 วิธีในการค้นพบวิธีสร้างความแข็งแกร่งในช่วงเวลาที่ยากลำบากทำอย่างไร

1.ลดต้นทุนด้วย Ghost Kitchen

15 วิธีพลิกฟื้น

ภาพจาก bit.ly/37wVXFz

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังต่อสู้กับโควิด-19 แฟรนไชส์ Daily Jam ร้านอาหารแนวเบเกอรี่ แซนด์วิช เปิดให้บริการอาหารมื้อสายๆ และมื้อกลางวัน ได้เปิดร้านในรูปแบบ Ghost Kitchen แบบไม่ต้องหน้าร้าน เน้นรับออเดอร์อาหารผ่านแอปพลิเคชั่นจัดส่งอาหารต่างๆ เพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่ในพื้นที่บริเวณที่กำหนดเท่านั้น ช่วยให้สามารถประหยัดต้นทุน และแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆได้ โดยในปี 2021 จะมุ่งเน้นนวัตกรรม Ghost Kitchen เพื่อเพิ่มยอดขายต่อไป (Berekk Blackwell ประธาน Daily Jam)

2.สร้างความจงรักภักดีให้ลูกค้า

14

ภาพจาก bit.ly/34mqrIa

Burn Boot Camp เป็นแฟรนไชส์ฟิตเนส ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างวัฒนธรรมการออกกำลังกายของผู้หญิง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่โรงยิมในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ยังขาดอยู่ ก็คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ โดยเปิดรองรับลูกค้าผู้หญิงโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องการให้ลูกค้าผู้หญิงมาออกกำลังกายอย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าผู้ชายจะยุ่มย่าม แม้โรงยิมที่ให้บริการเฉพาะเจาะจงกลุ่มลูกค้า มีความเสี่ยงในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่เป้าหมายการสร้างวัฒนธรรมให้ลูกค้าจงรักภักดีกับแบรนด์ จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ (Devan Kline ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Burn Boot Camp)

3.กระจายแหล่งรายได้หลายทาง

13

ภาพจาก bit.ly/3mC01Zu

ปัจจุบันการทำธุรกิจต้องมีตลาดที่หลากหลาย เพราะเราไม่สามารถเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียวได้ หากตะกร้าหลุดมือก็อาจทำไข่แตกทั้งหมด เช่นเดียวกับ Dippin ’Dots แฟรนไชส์ไอศกรีมแช่แข็ง จำเป็นต้องขยายธุรกิจที่หลากหลายต่อไป ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับการแช่แข็งและใช้สิทธิบัตรในการแช่แข็งที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งการรักษาแหล่งรายได้ที่หลากหลายจะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน (Scott Fischer ซีอีโอ Dippin ’Dots)

4.สานต่อสัมพันธ์กับแฟรนไชส์ซี

12

ภาพจาก bit.ly/2KfvZNU

Code Ninjas แฟรนไชส์การศึกษาที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หลังเจอปัญหาวิกฤติโควิด-19 เราต้องเร่งสานต่อความสัมพันธ์กับแฟรนไชส์ซี ซึ่งถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดในการนำพาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง โดยการโทรสอบถามปัญหาต่างๆ รวมถึงวางแผนการดำเนินงานหลังโควิด-19 คลี่คลาย ปรับปรุงระบบแฟรนไชส์ การเขียนโปรแกรมรักษาลูกค้า (Justin Nihiser ซีอีโอ Code Ninjas)

5.ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

11

ภาพจาก bit.ly/38gprX7

การระบาดโควิด-19 ยิ่งทำให้บริษัทให้ความเอาใจต่อลูกค้าที่เป็นสมาชิกในชุมชน รวมถึงแฟรนไชส์ซีของ Edible Brands เพราะแฟรนไชส์ซีเหล่านี้จะเป็นผู้ส่งมอบอาหารที่สดใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งถึงบ้านอย่างปลอดภัยแก่ลูกค้า ซึ่งช่วงการเกิดวิกฤติโถวิด-19 บริษัทได้สร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และมุ่งเน้นในเรื่องการจัดส่งเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่กักตัวและทำงานที่บ้าน นำเสนอกล่องบรรจุสำหรับจัดส่งให้สดใหม่ (Cheikh Mboup ประธาน Edible Brands)

6.มองหาโอกาสที่คนอื่นทำไม่ได้

10

ภาพจาก bit.ly/2WsQsBq

วิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารหลายๆ แห่งต้องปิดตัวลง ซึ่งท่ามกลางวิกฤติได้สร้างโอกาสให้เรา และพันธมิตรแฟรนไชส์ของเราในการค้นหาทำเลและสถานที่ที่ถูกต้อง จนสามารถพลิกแนวทางการดำเนินธุรกิจได้อย่างง่าย โดยไม่ต้องสร้างร้านอาหารใหม่เลิศหรู แต่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ลูกค้าเอื้อมถึง (Robert Maynard ซีอีโอ Famous Toastery)

7.ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

9

ภาพจาก bit.ly/37shoay

แฟรนไชส์ความงาม Amazing Lash โดย 2 ใน 3 แห่ง ยังคงปิดให้บริการเป็นเดือนที่ 6 ซึ่งบทเรียนที่ใหญ่ที่สุดที่เจ้าของร้านได้เรียนรู้ คือ การมุ่งเน้นเฉพาะสิ่งที่ตัวเองสามารถควบคุมได้ ทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เข้ามา ช่วยลดความเครียด และช่วยให้มีสมาธิมุ่งเน้นไปที่การเติบโต แม้ไม่สามารถให้บริการลูกค้าภายในอาคารได้ แต่ก็มุ่งเน้นไปที่วิธีการให้บริการกลางแจ้ง (Raquel Hernandez แฟรนไชส์ซี Amazing Lash)

8.ยอมรับวิธีการทำงานใหม่ๆ

8

ภาพจาก bit.ly/37w0g3P

เมื่อ Checkers & Rally’s แฟรนไชส์ร้านแฮมเบอร์เกอร์ ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 จึงจำเป็นต้องปิดร้านและวางโครงสร้างการทำงานจากที่บ้าน โดยมีการสร้าง Restaurant Support Center (RSC) เพื่อให้การสนับสนุนร้านอาหาร เมื่อพนักงานได้กลับไปทำงานที่บ้าน ปรากฏว่าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองได้ดี หลังจากนั้นเราจึงต้องเปิดใจแนวคิดการทำงานจากที่บ้าน ซึ่งหลังจาก 6 เดือนผ่านไป พนักงานก็ยังคงทุ่มเทให้กับงานอย่างไม่น่าเชื่อ (Frances Allen ซีอีโอ Checkers & Rally’s)

9.สรรหาคนที่มีความสามารถใหม่

7

ภาพจาก bit.ly/2K76oH2

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้คนเก่งจำนวนมากต้องตกงาน ว่างงาน ซึ่งหลายๆ คนได้มองหาโอกาสใหม่ด้วยการเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นเจ้านายตนเอง ซึ่งการลงทุนแฟรนไชส์เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจ สำหรับแฟรนไชส์ Pinch A Penny Pool Patio Spa ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับบริษัทมากที่สุด โดยมีความยืดหยุ่นและนำเสนอให้เห็นถึงวิธีการสร้างผลกำไรให้กับผู้ลงทุนแฟรนไชส์ (Michael Arrowsmith ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนา Pinch A Penny Pool Patio Spa)

10.เปิดรูปแบบการสื่อสารใหม่

6

ภาพจาก prn.to/38gbmsP

Chem-Dry แฟรนไชส์ทำความสะอาดพรม ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการสื่อสารกับเจ้าของธุรกิจในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและบ่อยขึ้น ในฐานะแบรนด์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพรมอายุ 43 ปี Chem-Dry ได้ค่อยๆ ก้าวไปสู่การส่งข้อความดิจิทัลไปยังแฟรนไชส์ของเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ปี 2020 สอนเราว่าเราจำเป็นต้องเพิ่มความถี่เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราทุกคนกำลังต่อสู้ฝ่าฟันไปด้วยกัน สิ่งนี้เริ่มต้นจากการอัปเดตรายวัน โดยพัฒนาเป็นวันเว้นวันจากนั้นสัปดาห์ละ 2 ครั้งและปัจจุบันจะดำเนินต่อไปทุกสัปดาห์ แม้ว่าบางครั้งจะรู้สึกว่าเกินวัง ช่วยให้เราสร้างความไว้วางใจที่แข็งแกร่งขึ้น และแนะนำโครงการต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะทำให้เราอยู่ในสภาวะปกติ (Ed Quinlan ประธาน Chem-Dry)

11.สร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายเดียวกัน

5

ภาพจาก bit.ly/3azLjQn

เราได้เรียนรู้ว่าผู้คนต้องการความสัมพันธ์และความสนิทสนมกัน ท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด-19 Office Evolution ได้เปิดตัวแคมเปญโซเชียลมีเดีย โดยมีเป้าหมายที่จะโอบกอดลูกค้าของเรา เราถือว่าแฟรนไชส์ซีและสมาชิกโคเวิร์กกิ้งสเปซแต่ละรายเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวเดียวกัน สมาชิกและแฟรนไชส์ซีทุกคนได้รับเสื้อยืด และได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวทางโซเชียลมีเดียตามที่เรารับทราบ พร้อมก้าวเดินไปด้วยกัน ( Andrea Pirrotti-Dranchak หัวหน้าฝ่ายการพัฒนา Office Evolution)

12.เริ่มต้นใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่

4

ภาพจาก bit.ly/3nyfJWB

หลังเจอวิกฤติโควิด-19 แฟรนไชส์ด้านบริการสุขภาพ ATC Healthcare Services เริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ เริ่มต้นใหม่ได้ตามปกติ การเปลี่ยนมุมมองนี้ทำให้เราสามารถปรับแต่ง สร้างใหม่ และสร้างสรรค์ได้ เรายกระดับทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ใหม่ พันธมิตรทางการตลาด ระบบการจัดหาพนักงาน และการสรรหาบุคลากรที่ปรับปรุงใหม่ และเริ่มดึงดูดลูกค้าใหม่ เรามีแรงบันดาลใจและมีความหวังและกำลังก้าวเข้าสู่ปี 2021 (Kayla Briggs, แฟรนไชส์ซี ATC Healthcare Services)

13.เชื่อมั่นใจประสบการณ์ตัวเอง

3

ภาพจาก bit.ly/38eAL6n

ในฐานะเป็นผู้ประกอบการ เราได้สำรวจวิกฤตครั้งใหญ่บางอย่างที่โลกต้องเผชิญในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Y2K, 9/11, ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008 ปัจจุบันโควิด-19 ทุกครั้งเราได้เรียนรู้ที่จะเอาชนะปรับตัวและก้าวต่อไป ตัวอย่างเช่นหลังเหตุการณ์ 9/11 เราคิดว่าจะไม่มีใครกล้าบินอีกแล้ว ใช่แล้วกระบวนทัศน์ทางสังคมเปลี่ยนไป มีการถอดรองเท้าที่การรักษาความปลอดภัยของสนามบิน แต่ชีวิตยังคงดำเนินต่อไป เราสร้างใหม่ เราได้รับความยืดหยุ่น นี่จะไม่ใช่วิกฤตครั้งสุดท้ายที่เราเผชิญ ( Abid Abedi ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ iCode)

14.จัดลำดับความสำคัญของทีมงาน

2

ภาพจาก bit.ly/3h2X1nx

กฎข้อแรกในการรักษาการเติบโต คือ การให้ความสำคัญกับบุคลากรของคุณเป็นอันดับแรก เพื่อให้มีทีมงานที่แข็งแกร่งที่สามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายการเติบโตได้ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายมันง่ายมาก เพียงแค่จัดลำดับความสำคัญของสุขภาพร่างกายและการเงินของทีมงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกัน การเพิ่มขีดความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ (Travis Davis แฟรนไชส์ซี Marco’s Pizza)

15.คิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงรุก

1

ภาพจาก bit.ly/3mvF6XQ

เมื่อสามปีก่อนฉันได้เปิดแพลตฟอร์มเสมือนจริงสำหรับคลาส Bodybar Pilates ทีมงานทุกคนทำเพื่อสิ่งนี้ แต่เราไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่จะจัดการกับความคิดริเริ่มที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ จนถึงเดือนมีนาคม 2020 เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องเปิดตัวแพลตฟอร์มเสมือนจริง ตอนนี้เราต้องย้อนกลับไปคิดว่าจุดประสงค์ใดที่เราต้องการให้ Bodybar Live! ที่จะให้บริการในปี 2021 เป็นเรื่องง่าย ที่ต้องทำประจำวัน ซึ่งรู้สึกว่าสำคัญกว่าการระดมความคิดและการวางแผน แต่เราได้เรียนรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการอยู่รอด (Brittney Watson ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด Bodybar Pilates)

ทั้งหมดเป็น 15 วิธีพลิกฟื้น ธุรกิจแฟรนไชส์ให้แข็งแกร่งในปี 2021 ของบรรดาผู้ประกอบการ นักการตลาด ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งในสหรัฐอเมริกาถือว่าสาหัสมากที่สุด แต่ธุรกิจต้องเริ่มต้นใหม่ เพื่อก้าวไปข้างหน้า


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ลดต้นทุนด้วย Ghost Kitchen
  2. สร้างความจงรักภักดีให้ลูกค้า 
  3. กระจายแหล่งรายได้หลายทาง
  4. สานต่อสัมพันธ์กับแฟรนไชส์ซี 
  5. ตอบสนองความต้องการของลูกค้า 
  6. มองหาโอกาสที่คนอื่นทำไม่ได้ 
  7. ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  8. ยอมรับวิธีการทำงานใหม่ๆ 
  9. สรรหาคนที่มีความสามารถใหม่ 
  10. เปิดรูปแบบการสื่อสารใหม่
  11. สร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายเดียวกัน
  12. เริ่มต้นใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ 
  13. เชื่อมั่นใจประสบการณ์ตัวเอง
  14. จัดลำดับความสำคัญของทีมงาน
  15. คิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงรุก

แหล่งข้อมูลจาก https://bit.ly/2KzreOX

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/37BJIr0

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช