ส่อง 16 ร้านสะดวกซื้อทั่วโลก ที่ทำปั้มน้ำมัน!

ได้กลายเป็น กระแส ในโลกออนไลน์กันอย่างมาก กับกรณีที่มีการแชร์ภาพโดยอ้างว่าเป็น “ปั๊มน้ำมัน 7-Eleven” พร้อมกับระบุข้อความว่า เป็นธุรกิจปั๊มน้ำมันของกลุ่มซีพี ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างหลายแห่ง และเริ่มให้บริการแล้วในบางส่วน

ต่อกรณีดังกล่าว ได้รับการปฏิเสธจากซีพี ยืนยันว่า ภาพที่เห็นนั้น ไม่ใช่ปั๊มน้ำมันในประเทศไทย พร้อมระบุว่ายังไม่มีโครงการดังกล่าวแน่นอน ซึ่งภาพที่ส่งต่อกันในโลกออนไลน์ คือ ภาพปั๊มน้ำมัน 7-Eleven ในประเทศออสเตรเลีย ที่เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2540 ที่เป็นรูปแบบร้านสะดวกซื้อและปั๊มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม กระแสปั้มน้ำมัน 7-Eleven อาจมาจากข่าวกรณีปตท.ไม่ต่อสัญญา 7-Eleven ซึ่งกำลังจะหมดสัญญาในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เพื่อนำเอาร้านสะดวกซื้อจิ๊ฟฟี่ในเครือเข้ามาแทน ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเครือซีพีมีเงินทุนมหาศาล สามารถที่จะทำธุรกิจอะไรใหม่ๆ ก็ได้ ยิ่งถ้าจะทำปั้มน้ำมัน 7-Eleven ก็ไม่เห็นจะแปลก อีกทั้งเครือซีพียังมีธุรกิจร้านกาแฟในมือมากมาย

ปัจจุบัน 7-Eleven เปิดสาขาในปั้มน้ำมันปตท.แล้วกว่า 1,400 สาขา และทั้งสองพันธมิตร ก็มีแผนร่วมกันที่จะขยายร้าน 7-Eleven เพิ่มเป็นจำนวน 1,700 แห่ง และต่อสัญญาเพิ่มอีก 6 ปี หลังจากหมดสัญญาที่จะถึงนี้

แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า “ร้านสะดวกซื้อ” ไม่เฉพาะ 7-Eleven เท่านั้น ที่หันมาทำธุรกิจปั้มน้ำมัน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีร้านสะดวกซื้อจำนวนมาก เป็นทั้งร้านสะดวกซื้อ และปั้มน้ำมัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอ

1. 7-Eleven

กระแส

ภาพจาก https://bit.ly/2KAeiGi

7-Eleven อเมริกามีร้านสะดวกซื้อกว่า 8,600 แห่ง หลายๆ สาขาเปิดให้บริการสถานีน้ำมันทั่วอเมริกาด้วย 7-Eleven มีวัตถุประสงค์ต้องการให้การทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเรื่องง่ายและสะดวก

บริษัทให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรซึ่งหมายความว่า ให้บริการแฟรนไชส์ซีทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของตนเอง เปิดร้านได้อย่างเต็มรูปแบบ

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มต้น แต่ละแฟรนไชส์ซีจะจ่ายจำนวนเงินไม่เท่ากัน ตามลักษณะและรูปแบบของร้านด้วย รวมถึงแฟรนไชส์จะต้องจ่ายเงินงวดแรกในการสต็อกสินค้าเข้ามาในร้านประมาณ 20,000 เหรียญสหรัฐ

2. AMPM

74

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

AMPM ก่อตั้งขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2521 ธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และขยายไปสู่ธุรกิจปั้มน้ำมัน และร้านสะดวกซื้อในปั้มน้ำมันด้วย รวมๆ แล้วประมาณหลายร้อยแห่งทั่วสหรัฐอเมริกา

ผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ AMPM ต้องมีการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งในปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ และต้องจ่ายเงินลงทุนครั้งแรกหรือค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าประมาณ 400,509 เหรียญสหรัฐ และ 7,807,883 เหรียญสหรัฐ รวมถึงเงินสดเพื่อจ่ายค่าน้ำมัน 800,000-1,200,000 เหรียญสหรัฐ

3. Circle K

73

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

แฟรนไชส์ Circle K ตั้งอยู่ในกว่า 20 รัฐทั่วอเมริกาเหนือ เป็นแฟรนไชส์ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่อยากจะร่ำรวยเป็นเถ้าแก่ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 211,450 – 1,601,500 เหรียญสหรัฐ และค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ต่อเนื่อง 25,000 – 25,000 เหรียญสหรัฐ

4. LUKOIL

72

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

LUKOIL เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจปั้มนั้น LUKOIL ตามสถานที่ต่างๆ โดยแฟรนไชส์ LUKOIL ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล อยากเป็นอิสระ เข้ามาร่วมเป็นครอบครัวแบรนด์ LUKOIL

5. Street Corner

71

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Street Corner ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เริ่มต้นทำแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 1995 การลงทุนเริ่มต้นที่ 45,645 เหรียญสหรัฐ ถึง 1,479,800 เหรียญสหรัฐ นอกจากนั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของแฟรนไชส์ เช่น อุปกรณ์ตกแต่ง ระบบทำบัญชี คลังสินค้าและค่าจ้างพนักงาน

6. Sunoco APlus

70

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

ร้านสะดวกซื้อ Sunoco APlus เปิดให้บริการปั้มน้ำมันอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ รวมถึงฝั่งตะวันตกยาวไปยังนิวยอร์กและโอไฮโอ แฟรนไชส์ Sunoco APlus

เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจปั้มนน้ำมันและร้านสะดวกซื้อของตนเอง นักลงทุนต้องมีประสบการณ์ มีเงินทุน ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มต้น 25,000- 600,000 เหรียญ

7. Alliance Energy

69

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Alliance Energy เปิดให้เช่าสถานีบริการน้ำมันในหลายพื้นที่ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของ บริษัทต้องการผู้สมัครแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ โดยจะได้รับเครื่องมือและระบบการขนส่งต่างๆ ที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อสร้างและรักษาธุรกิจของตน

8. Dash In

68

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Dash In มีสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อทั่วสหรัฐอเมริกา Dash In เริ่มทำแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 1979 ปัจจุบันมี 58 สาขาแฟรนไชส์สถานีบริการน้ำมัน เงินลงทุนรวม 138.6 – 187.2K เหรียญสหรัฐ

9. Express Convenience

67

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Express Convenience ทำแฟรนไชส์ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อตั้งแต่ 2527 ปัจจุบันมีจำนวน 19 สถานีบริการน้ำมัน ตั้งอยู่ในมิดเวสต์ โดยแฟรนไชส์ซีจะได้รับการฝึกอบรมก่อนเริ่มทำธุรกิจ

เงินลงทุนโดยรวมประมาณ 165,000 – 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดย Express Convenience สามารถจัดหาเงินทุนให้กับนักลงทุนด้วย

10. Marathon

66

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

สถานีบริการน้ำมันมาราธอนและร้านสะดวกซื้อ เปิดให้นักลงทุนที่สนใจอยากเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ปั้มน้ำมัน Marathon และร้านสะดวกซื้อทั่วสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2015 ปั้มน้ำมัน Marathon

สามารถขายปลีกน้ำมันขายประมาณ 5.02 พันล้านแกลลอนเชื้อเพลิงรถยนต์ แฟรนไชส์ซีสามารถได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ของแบรนด์มาราธอน และการสนับสนุนตลอดการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ

11. Kangaroo Express Convenience

65

ภาพจาก https://bit.ly/2P7l4Yg

Kangaroo Express Convenience เป็นผู้ดำเนินการร้านสะดวกซื้อชั้นนำในตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนร้านค้าประมาณ 1,500 ร้านค้าใน 13 รัฐ

โดย Kangaroo Express เป็นโลโก้ปั้มน้ำมันของ Pantry เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุนแฟรนไชส์ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ Kangaroo Express

12. Quik Stop

64

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Quik Stop Markets ร้านสะดวกซื้อที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจำนวนสาขากว่า 100 แห่งใน Northern California และ Northern Nevada แฟรนไชส์ Quik Stop เปิดโอกาสให้ผู้สนใจอยากทำธุรกิจค้าปลีกค้าปลีก

และสถานีบริการน้ำมันเป็นของตนเอง แฟรนไชส์ซีของ Quik Stop จะได้รับการฝึกอบรมการทำธุรกิจทุกขั้นตอน ส่งเสริมการตลาดและการขาย ทำระบบบัญชี ตลอดจนให้คำปรึกษาเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตยั่งยืน

13. Murphy USA

63

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Murphy USA เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ และให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้มีโอกาสใช้ประสบการณ์ และทักษะทางวิชาชีพที่มีอยู่ เพื่อสร้างร้านสะดวกซื้อที่เจริญรุ่งเรืองและธุรกิจสถานีบริการน้ำมันด้วย

แฟรนไชส์ซีจะต้องประกอบอาชีพอิสระ หรือเคยดำรงตำแน่งระดับผู้บริหารด้วย เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 100,000 เหรียญสหรัฐ

14. On the Run

62

ภาพจาก https://bit.ly/30qrHpB

On the Run เป็นแฟรนไชส์กับบริษัท TMC Franchise ซึ่งเป็นบริษท ย่อยของ Couche-Tard นอกจากนี้ยังมีร้านขายของชำและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย

สถานีบริการน้ำมัน On the Run ให้บริการอาหารว่าง อาหารจานด่วน อุปกรณ์เพื่อสุขภาพและความงาม และอื่นๆ อีกมากมาย ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ เงินทุนหมุนเวียน 100,000 ดอลลาร์

15. Shell

61

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Shell เป็นหนึ่งในแบรนด์ปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา เชลล์มีเครือข่ายของสถานีบริการในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งให้บริการร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่หลากหลาย

เชลล์ให้โอกาสคนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจปั้มน้ำมัน และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยจะต้องมีเงินสดอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนทั้งหมด สามารถกู้ผ่านสถาบันการเงินได้

16. Extra Mile

60

ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL

Extra Mile จำหน่ายน้ำมันเบนซินของเชฟรอน ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก และมีร้านแฟรนไชส์ขายปลีก Extra Mile ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 และขยายสาขาไปแล้วกว่า 200 แห่ง

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ Extra Mile จะได้ได้รับการสนับสนุนจาก Chevron Corporation ในด้านการฝึกอบรม การโฆษณารวมถึงคำแนะนำทางธุรกิจ และการใช้เครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง การลงทุนทั้งหมดประมาณ 1.5 – 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งหมดเป็น 16 ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากมองในแง่ของเครือซีพี ถ้าหากจากเปิดปั้มน้ำมัน 7-Eleven ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะมีประสบการณ์มาก่อน

โดยเมื่อเดือนกันยายน 2536 ซีพี ร่วมลงทุนกับ “ซิโนเปค” บริษัทปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของจีน จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมชื่อ “ปิโตรเอเชีย” ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปั้มน้ำมัน โดยเชิญการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เข้าร่วมทุนด้วย โดยสัดส่วนการถือหุ้น ซีพีถือหุ้น 35% ปตท.ถือหุ้น 35% และซิโนเปค 30%

ยุคนี้!!! ไม่มีอะไรที่เครือซีพีทำไม่ได้ ปั้มน้ำมัน 7-Eleven ก็สามารถเกิดขึ้นได้ จะเกิดในประเทศหรือต่างประเทศ…ต้องจับตามอง


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/3h6aj3k

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช