สัญญาแฟรนไชส์และภาระภาษีที่แฟรนไชส์ซีต้องรู้

องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของระบบแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องจัดทำขึ้นมาเพื่อแจ้งให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ทราบ นั่นคือ สัญญาแฟรนไชส์ เป็นการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์มีการกำหนดและเงื่อนไขอะไรบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

รายละเอียดที่ระบุชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะมีข้อตกลงและข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับแฟรนไชส์ซอร์ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) และ ค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) รวมถึง Marketing Fee กำหนดให้แฟรนไชส์ซีจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปี โดยจะคิดอัตรา 3-5% ของยอดขายในแต่ละเดือน

นอกจากนี้ ในสัญญาแฟรนไชส์ยังต้องระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขกรณีต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา และการยกเลิกสัญญาในที่สุด เช่น แฟรนไชส์ซีนำสินค้าจากที่อื่นวางขายในร้านสาขาแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีไม่ซื้อวัตถุดิบบางส่วน ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่สร้างความเป็นมาตรฐานจากแฟรนไชส์ซอร์ เป็นต้น

ภาระภาษีของผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

สัญญาแฟรนไชส์

  1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) เป็นรายจ่ายในด้านการลงทุนต้องทยอยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ได้แก่
    • สัญญาแฟรนไชส์ไม่จำกัดระยะเวลา หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกินอัตราร้อยละ 10 (10 ปี)
    • สัญญาแฟรนไชส์ระบุระยะเวลา หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกินอัตราร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้สิทธิแฟรนไชส์ (กำหนด 5 ปี ไม่เกินร้อยละ 20) กรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็ม 12 เดือน ต้องเฉลี่ยตามสัดส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
  2. ค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) เป็นรายจ่ายที่แฟรนไชส์ซีสามารถนำไปหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี (ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม)

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย

สัญญาแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ซีมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับจากวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการจ่ายเงินได้ตามสัญญาแฟรนไชส์ (เงินได้ประเภท 3) ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งเป็น

  • นิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แฟรนไชส์ซีต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่จ่าย
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แฟรนไชส์ซีต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่จ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สัญญาแฟรนไชส์

สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นการให้บริการ กรณีแฟรนไชส์ซอร์อยู่ต่างประเทศ แฟรนไชส์ซีเป็นมาสเตอร์รับสิทธิในประเทศไทย จะเข้าลักษณะเป็นการจ่าย “ค่าบริการ” ให้กับแฟรนไชส์ซอร์ที่อยู่ต่างประเทศ และแฟรนไชส์ซอร์ที่อยู่ต่างประเทศได้ให้มีการใช้บริการนั้นๆ ในประเทศของผู้รับสิทธิ โดยแฟรนไชส์ซี (ผู้รับบริการ) มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 83/6 (2) (แบบ ภ.พ.36)

นั่นคือ สัญญาแฟรนไชส์และภาระภาษีที่แฟรนไชส์ซีต้องรู้

เจ้าของธุรกิจสนใจขอรับคำปรึกษาธุรกิจแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/consult/
เจ้าของธุรกิจสนใจสมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ คลิก https://bit.ly/3Zwg6U3
 
รวมบริการ #ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ (Service of ThaiFranchiseCenter)
 
 
 
  • รับจดเครื่องหมายการค้า
  • รับเขียนแผนธุรกิจ
  • รับร่างสัญญาแฟรนไชส์
  • รับสร้างระบบแฟรนไชส์
  • รับปรึกษาแฟรนไชส์
  • รับบริหาร Social Media
  • รับทำ Proposal แฟรนไชส์
สนใจรับคำปรึกษาโทร.02-1019187, Line : @thaifranchise

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล  https://bit.ly/3ZsaTgi

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช