อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการก่อสร้าง การตกแต่งร้าน อุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีที่เกิดจากรายได้และอื่นๆ ถ้าถามว่ามีภาษีอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการจะ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

1. ภาษีที่ต้องเสียทุกคน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการใดๆ ที่มีรายได้จากการทำธุรกิจ ต้องยื่นภาษีอากรประมวลรัษฎากร มีอัตราเสียภาษีสูงสุด 20% โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมี 2 แบบ ได้แก่ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 (ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วัน หลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี) และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน หลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เจ้าของธุรกิจต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถือเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า สามารถขอคืนได้ โดยกฎหมายกำหนดให้เจ้าของธุรกิจที่จ่ายเงินให้คู่ค้าที่ซื้อสินค้าจากเรา หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย เป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนด กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย เป็นไปตามประเภทของเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด อาทิ 1% สำหรับค่าขนส่ง, 2% สำหรับค่าโฆษณา, หรือ 3% สำหรับค่าบริการ คนที่หักภาษีไว้นั้นต้องนำส่งแบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีหักบุคคลธรรมดา และ ภ.ง.ด. 53 กรณีหักนิติบุคคล ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เจ้าของธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการ โดยในปัจจุบันมีการเก็บอัตราคงที่อยู่ที่ 7% ผู้ประกอบการมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการและออกใบกำกับภาษี เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี โดยต้องมีรายได้ต่อปี ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม)

อากรแสตมป์

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

อีกหนึ่งภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องเสีย ก็คืออากรแสตมป์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก แต่ก็จัดเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง ส่วนมากจะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว รายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านแบบเจาะลึกได้ที่เว็บของสรรพากร

2. ภาษีเพิ่มเติม

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีแบบนี้ด้วย โดยภาษีธุรกิจเฉพาะจะถูกจัดเก็บในธุรกิจที่เป็นแบบเฉพาะเจาะจงจริงๆ อาทิ กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 30 วันนับตั้งแต่เริ่มกิจการ และต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีโดยใช้แบบ ภ.ธ.40 เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม

ภาษีบำรุงท้องที่

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เจ้าของธุรกิจ เจ้าของที่ดิน หรือผู้ที่เช่าพื้นที่ดินนั้นๆ ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ด้วย ซึ่งภาษีนี้จะเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้เช่าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นที่ดินว่างเปล่า หรือพื้นที่ที่มีสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเจ้าของที่ดินหรือผู้เช่าจะต้องมีหน้าที่เสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ภ.บ.ท.5 ที่ผลประโยชน์กองคลังเทศบาลทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้กรรมสิทธิ์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ภาษีป้าย

เจ้าของธุรกิจที่มีหน้าร้านที่ทำป้ายโลโก้ หรือป้ายโฆษณาต่างๆ จะต้องเสียภาษีป้ายด้วย ไม่ว่าจะเป็นป้ายร้าน ป้ายโฆษณา ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยจะต้องยื่นประเมินเพื่อเสียภาษี ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมของปีนั้นๆ และจะคิดอัตราภาษีตามขนาดของป้าย หากไม่แจ้งหรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายอาจถูกปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3y2CdWv

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช