“ระบบแฟรนไชส์” เครื่องจักรผลิตเงิน ที่ตลาดไทยต้องการที่สุดในสหัสวรรษหน้า

เชื่อหรือไม่ว่าทุกวันนี้หลายๆ คนรวยเพราะโชค หลายคนรวยเพราะขยันทำมาหากิน แต่บางคนทำงานทุกวันยังไม่รวยสักที แถมรายได้ไม่พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ทำให้คนเหล่านี้มีความคิดอยากจะลาออกจากงานมาทำธุรกิจของตัวเอง แต่ด้วยความที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน กลัวว่าเมื่อลงทุนทำไปแล้วจะสูญเงินเปล่า

แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ปัจจุบันเราสามารถประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจของตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน แต่เราสามารถเลือกวิธีต่อยอดธุรกิจจากผู้ชนะในตลาดนั้นๆ ด้วยการลงทุนต่อยอดจากความสำเร็จของธุรกิจ โดยเปลี่ยนคู่แข่งให้กลายเป็นคู่ค้า นั่นคือ การเข้าสู่ “ระบบแฟรนไชส์

โดยเราสามารถเลือกธุรกิจที่น่าสนใจแล้วติดต่อขอร่วมทำธุรกิจในฐานะเป็นคู่ค้า (แฟรนไชส์ซี) ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีตลาดรองรับอยู่แล้ว หรือนำธุรกิจมาขยายสาขาแล้วบริการเองในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อสร้างรายได้ยั่งยืน

แฟรนไชส์… เครื่องจักรผลิตเงิน ในอนาคต

เครื่องจักรผลิตเงิน

อย่างไรก็ตาม จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเกิดการชะลอตัวและหยุดชะงัก ลูกจ้าง พนักงานองค์กรภาคธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงาน ว่างงาน โดนลดเงินเดือน จึงทำให้คนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวมองหาช่องทางในการสร้างอาชีพเพื่อหารายได้เพิ่ม

โดยมูลค่าตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 2.8-3 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งในตอนนั้นคาดว่ามูลค่าตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยจะมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตได้ดีในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี เพราะเป็นช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มของคนตกงาน ว่างงาน

ระบบแฟรนไชส์ถือเป็นธุรกิจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทั้งในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤตจากกรณีต่างๆ หรือในยามที่ประเทศมีความรุ่งเรือง โดยธุรกิจแฟรนไชส์พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศทุกรูปแบบ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจที่ทำให้คนไทยมีความอยู่ดี กินดี และมีความมั่นคงทางเงินระยะยาว

ข้อดีของระบบแฟรนไชส์

เครื่องจักรผลิตเงิน

  • ชื่อตรา ยี่ห้อ และชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาก่อน
  • แต่ละสาขามีมาตรฐานเดียวกันจากคู่มือการปฏิบัติงาน
  • ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเริ่มต้นธุรกิจ
  • มีโอกาสได้รับรายได้สูง ทั้งแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี
  • รูปแบบธุรกิจขยายกิจการได้รวดเร็ว องค์กรมีขนาดใหญ่ เครือข่ายประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

แฟรนไชส์…เครื่องจักรพัฒนาสหรัฐอเมริกา

คุณรู้หรือไม่ว่าแฟรนไชส์ช่วยให้อเมริกาเป็นประเทศที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ตั้งแต่ยุคอาณานิคมจนมาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม แฟรนไชส์ถือเป็นแนวหน้าในการพัฒนาประเทศ รูปแบบตลาดแฟรนไชส์ทั้งหมดหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นในลักษณะการบริการด้านอาหาร โดยได้ขยายตัวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุด

สงครามโลกครั้งที่ 2 และการเฟื่องฟูแฟรนไชส์ครั้งใหญ่ (ค.ศ. 1940 – 1950)

มาถึงช่วงการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง ประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดปรากฏการณ์การเฟื่องฟูของแฟรนไชส์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ เครื่องสำอางและบริการหลังการขายรถยนต์ (Midas Muffler), ร้านสะดวกซื้อ (7-Eleven Inc.), การบัญชีมืออาชีพ (H&R Block), การผลิตแว่นสายตาและแว่นตาเชิงพาณิชย์ (Pearle Vision)

ร้านอาหารจุดชนวนแฟรนไชส์อเมริกา

เครื่องจักรผลิตเงิน

  • ในปี ค.ศ. 1940 ร้านไอศกรีมแบบครอบครัว Dairy Queen นำเสนอธุรกิจแบบแฟรนไชส์ และในปี 1941 แฟรนไชส์ Dairy Queen มี 10 สาขา และขยายสาขาถึง 2,600 แห่งในเวลาไม่ถึง 10 ปี
  • ปัจจุบัน Dairy Queen อยู่ในอันดับที่ 6 ในการจัดอันดับ Entrepreneur 2017 Franchise 500 หลังจากดำเนินกิจการแฟรนไชส์มา 73 ปี มีสาขามากกว่า 6,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน อียิปต์ และอีกกว่า 20 ประเทศ
  • ในปี ค.ศ. 1952 Richard และ Maurice McDonald เปิดแฟรนไชส์แมคโดนัลด์สาขาที่ 2 จนกระทั่งในปี ค.ศ.1954 Ray Kroc ซื้อกิจการแมคโดนัลด์ และให้สิทธิ์นักลงทุนขยายสาขาแมคโดนัลด์นอกพื้นที่ โดยจ่ายเงินให้สองพี่น้อง 0.5% ของ 1% ของยอดขายทั้งหมด
  • ในปี ค.ศ .1958 แมคโดนัลด์ขายแฮมเบอร์เกอร์ได้ 100 ล้านชิ้น จนกระทั่งถึงวันที่ 21 เมษายน 1965 แมคโดนัลด์ได้เสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เป็นครั้งแรกที่ 30 ดอลลาร์ต่อหุ้น โดยเฉลี่ยหุ้นของแมคโดนัลด์ในปัจจุบันซื้อขายกันมากกว่า 600% ของมูลค่าเริ่มต้น

เปิดโลกของแฟรนไชส์ ค.ศ. 2017

vsv56899898989

อุตสาหกรรมบริการอาหารยังคงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและทำกำไรได้มากที่สุดในระบบแฟรนไชส์ มีบริษัทนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากกว่าเดิม และตลาดแฟรนไชส์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้แต่แบรนด์เนมชั้นนำก็ยังมีโอกาสขายแฟรนไชส์ในราคาที่เอื้อมถึง โดยแฟรนไชส์มีเกือบทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสากรรมการดูแลสุขภาพ

  • ในการจัดอันดับ 500 Franchise 500 ประจำปีของ https://www.entrepreneur.com/ พบว่า 4 ใน 5 ของแฟรนไชส์ชั้นนำ จะมีแฟรนไชส์ด้านอาหารติดอันดับ อาทิ 7-Eleven Inc, McDonald’s, Dunkin Donuts และ Jimmy John’s Gourmet Sandwiches
  • ใน Forbes Top 20 Franchise for the Buck เกือบครึ่งหนึ่งของแฟรนไชส์จะอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

แฟรนไชส์…เครื่องจักรฝ่าฟันทุกสถานการณ์

  • ในการจัดอันดับ 500 Franchise 500 ของ https://www.entrepreneur.com/ ปี 2018 พบว่าธุรกิจแฟรนไชส์เปิดใหม่ไม่เกิน 5 ปี มีกว่า 22%
  • ตลาดแฟรนไชส์ในอเมริกาจะเติบโต 0.6% มากกว่าปี 2016 โดยมีอัตราการเติบโต 2.7% ต่อเดือน ค่าประมาณนี้ได้มาจากข้อมูลการจ้างงาน ประมาณการผลผลิต และการคาดการณ์การเติบโตของสถานประกอบการแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ทั่วโลก…สัญญาณฟื้นตัว

vs65889889

แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 ตั้งช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา แต่ก็ยังมีสัญญาณบ่งบอกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา เริ่มที่จะฟื้นตัวหลับมาเหมือนเดิม แฟรนไชส์ซอร์หลายๆ แบรนด์เริ่มที่จะมองหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) รายใหม่ๆ หลังจากแฟรนไชส์ซีเดิมได้รับผลกระทบ

โดยรูปแบบของแฟรนไชส์ที่ขายออกไป จะมุ่งเน้นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายเล็กๆ ขนาดของธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่ใหญ่เหมือนเดิม แฟรนไชส์จะไซส์เล็กลง โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นกลุ่มคนที่ตกงาน หรือกลุ่มคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในงานประจำของตัวเอง อยากออกมาทำธุรกิจของตัวเอง อาจจะไม่ใหญ่โต และไม่ต้องเสียเวลาสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ จึงต้องการที่จะลงทุนแฟรนไชส์ เพราะเป็นทางลัดในการดำเนินธุรกิจ ที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์เตรียมระบบการทำงานไว้ให้เสร็จสรรพ

หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย “แมคโดนัลด์” ในอเมริกาประกาศจ้างพนักงานเพิ่มกว่า 260,000 คน ในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา เริ่มเปิดให้บริการลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้อีกครั้ง หลังจากปิดให้บริการ และให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานบ้านและใช้บริการเดลิเวอรี่แทน ในช่วงการระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา

การประกาศจ้างงานเพิ่มดังกล่าวของแมคโดนัลด์ เป็นไปตามแผนการจ้างงานที่คล้ายคลึงกันกับแฟรนไชส์ Subway, Taco Bell ของ Yum Brands, Panda Express และ Dunkin ที่สถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาเริ่มฟื้นตัว

Subway แฟรนไชส์ซีซึ่งเป็นบริษัทเอกชนผู้รับสิทธิรายใหญ่ในอเมริกาเหนือ ประกาศจ้างพนักงานราวๆ 50,000 คน หลังจากธุรกิจร้านอาหารเริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งการประกาศจ้างงานเพิ่มขึ้นของ Subway เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาพุ่งขึ้น 13.3% และร้านแฟรนไชส์ Subway จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ชูเมนูฟุตลองขายในราคา 5 เหรียญสหรัฐ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกครั้งหนึ่ง

การจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นในร้านอาหารเชนฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาหลายแสนคน ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดีในธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลก เพราะอเมริกาถือเป็นต้นกำเนิดแฟรนไชส์โลก ก่อนที่ขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับประเทศไทยในปัจจุบัน

สำหรับในประเทศไทยและอาเซียน ธุรกิจแฟรนไชส์และร้านอาหารต่างๆ ยังสามารถประคับประคองเอาตัวรอด และฝ่าวิกฤตโควิด-19 มาได้ ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์มีการปรับการขายหลากหลายช่องทาง ไม่ยึดโมเดลเดิม โดยธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยหลังจากนี้จะมีการเติบโต และได้รับความนิยม ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ไม่มากนัก โมเดลร้านแบบคีออส เคาน์เตอร์ ลงทุนต่ำ จะมีโอกาสเติบโตสูงมาก

วิธีผลิตเงิน!! ด้วยเครื่องจักรแฟรนไชส์

xdcfdxd58998989

ตัวอย่างวิธีก้าวสู่ความมั่งคั่งของ Greg Flynn แฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกา คือ การนำเงินที่ได้กำไรจากการเปิดร้านสาขาแรก ไปซื้อและขยายแฟรนไชส์สาขาที่ 2 หลังจากนั้นก็ทำเช่นเดิมนำกำไรจากร้านที่เปิดไปแล้วไปลงทุนซ้ำๆ เพื่อขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน ถ้าคุณเป็นแฟรนไชส์ซีหลายสาขาที่ประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต่างๆ ให้ความสนใจในตัวคุณ อยากให้คุณบริหารแบรนด์แฟรนไชส์ของพวกเขาในพื้นที่ของคุณ ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณสามารถสร้างความร่ำรวยด้วยการซื้อแฟรนไชส์แบรนด์อื่นๆ เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุน เช่น เดิมคุณบริหารแบรนด์ร้านแฟรนไชส์อาหารอยู่แล้ว หากต้องการกระจายพอร์ตการลงทุนก็สามารถไปซื้อแฟรนไชส์เครื่องดื่มเพิ่มกำไรได้

การเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์หลายสาขามีความเสี่ยงน้อยกว่าการเป็นเจ้าของแฟรนไชส์สาขาเดียว เพราะสาขาร้านแฟรนไชส์จะไม่กระจุกตัว จะกระจายออกไป ซึ่งมีข้อดีคือไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 หรือการชุมนุมประท้วงมากนัก หากคุณมีร้าน 10 สาขา มีเพียง 1 ร้านที่ตั้งอยู่ในทำเลใจกลางเมือง เมื่อประสบปัญหาร้านต้องปิดให้บริการชั่วคราว แต่ในเวลาเดียวกันก็สามารถสร้างรายได้จากร้าน 9 สาขาที่ตั้งอยู่ทำเลชานเมืองได้

นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์แบบ Multi-unit franchise จะมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจต่ำลง เนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้เมื่อขยายสาขาแฟรนไชส์เพิ่ม ที่สำคัญการเป็นเจ้าของแฟรนไชส์หลายสาขาจะช่วยป้องกันการขาดแคลนแรงงานระยะยาว เพราะสามารถย้ายพนักงานจากสาขาหนึ่งไปยังสาขาที่ขาดแคลนได้ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนแรงงานได้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้จัดการดูแลทุกร้าน อาจให้ผู้จัดการคนหนึ่งดูแลร้าน 3-4 สาขาได้

เจ้าของแฟรนไชส์แบบ Multi-unit franchise ยังสามารถลดต้นทุนในการซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ทีละมากๆ ในฐานะลูกค้ารายใหญ่ และที่สำคัญมากกว่านี้หากจะมั่งคั่งและร่ำรวยจาก Multi-unit franchise ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเลือกแบรนด์แฟรนไชส์เกิดใหม่ สินค้าตอบโจทย์ ผู้บริโภคซื้อซ้ำ เพราะอย่าลืมว่า McDonald’s และแบรนด์ดังอื่นๆ เริ่มต้นมาจากร้านแห่งเดียวก่อนที่จะเติบโต ในฐานะเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ย่อมอยากก้าวไปสู่การเจริญเติบโตกับแบรนด์นั้นๆ ตั้งแต่เริ่มต้น

นั่นคือตัวอย่างและรูปแบบของ “ระบบแฟรนไชส์” เครื่องจักรผลิตเงิน ที่ตลาดไทยต้องการที่สุดในสหัสวรรษหน้า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช