รวม 10 ธุรกิจ #มันจบแล้วครับนาย

ปัญหาเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ สงคราม ดอกเบี้ย เทคโนโลยีดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ล้วนกระทบต่อธุรกิจ เวลาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน ทำให้หลายๆ ธุรกิจปิดตัว ไปต่อไม่ได้ มาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง ที่จบแล้วหรือใกล้จะไปต่อไม่ได้แล้ว

1.ธุรกิจโรงพิมพ์/สิ่งพิมพ์

มันจบแล้วครับนาย

ดิจิทัล คือ เทคโนโลยีที่เป็นตัวทำลายรูปแบบธุรกิจเดิมๆ จำพวกสิ่งพิมพ์ วารสาร หนังสือ หนังสือพิมพ์ เพราะคนที่ต้องการอ่านข่าวหรือหาข้อมูลความรู้ต่างๆ หันไปดูบนอินเทอร์เน็ตกันหมด ทำให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไปต่อไปไม่ได้ ปิดกิจการ ไปกระทบกับธุรกิจโรงพิมพ์อีกทอดหนึ่ง ทำให้งานน้อยลง แต่อาจจะมีงานพวกแผ่นพับ โบรชัวร์ และงานพิมพ์เล็กๆ เท่านั้น

2.ธุรกิจร้านขายหนังสือ

มันจบแล้วครับนาย

เมื่อคนอ่านหนังสือน้อยลง มัวแต่ก้มหน้าก้มตาอยู่กับโทรศัพท์มือถือ เวลาจะหาข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ ก็กดมือถือเพียงแค่ปลายนิ้ว คนเขียนหนังสือหรือข้อมูลความรู้ต่างๆ ก็หันมาเผยแพร่ทางออนไลน์ ง่าย สะดวก ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าพิมพ์เป็นหนังสือ เมื่อคนอ่านหนังสือน้อย คนไม่อยากทำหนังสือ กระทบร้านหนังสือ เวลาไปเดินตามห้างแทบไม่มีร้านหนังสือแล้ว

3.ธุรกิจร้านถ่ายรูป/อัดรูป

ถ้าถามว่าตอนนี้ร้านถ่ายรูป อัดรูป ยังมีอยู่ไหม ก็ต้องบอกว่ายังมีอยู่ แต่มีไม่เยอะเหมือนแต่ก่อน คนยังต้องการอัดรูป ขยายรูปเก็บไว้ดูอยู่ต่างหน้า ซึ่งเก็บไว้ได้นานกว่าภาพในมือถือ แต่อีกไม่นานธุรกิจร้านถ่ายรูปจะเป็นแค่ภาพในอดีตเท่านั้น

4.ธุรกิจร้านขายของชำ

มันจบแล้วครับนาย

ร้านขายของชำในรูปแบบสมัยรุ่นอากงอาม่าแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว ถ้าจะมีก็เห็นตามตลาดสดดั้งเดิมใหญ่ๆ ที่เราเห็นทุกวันนี้เป็นร้านโชว์ห่วยที่ปรับร้านให้ทันสมัย แข่งกับร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่สำคัญยังมีร้านในรูปแบบ “ถูกดี มีมาตรฐาน” และ “ร้านโดนใจ” มาช่วยพัฒนาร้านขายของชำให้ดูดีเทียบชั้นร้านสะดวกซื้อ ทำให้ร้านขายของชำแบบเดิมค่อยๆ หายไป

5.ธุรกิจโรงเรียนเอกชน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 โรงเรียนต่างๆ ต้องปิดการเรียนการสอนตามมาตรการป้องกันการระบาดโควิด กระทบธุรกิจโรงเรียนเอกชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะพ่อแม่ผู้ปกครอง ว่างงาน ขาดรายได้ ทำให้ค้างจ่ายค่าเทอมให้แก่โรงเรียน เมื่อโรงเรียนไม่มีรายได้ก็ไปต่อไม่ได้ ปิดกิจการเป็นจำนวนมาก

6.ธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา

มันจบแล้วครับนาย

กระแสกัญชามาแรงตั้งแต่สมัยรัฐบาล “พล.อ. ประยุทธ์” จากการผลักดันของพรรคภูมิใจไทย แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลที่เป็นฝ่ายต่อต้านกัญชามาโดยตลอด เมื่อพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็จะทำให้นโยบายกัญชาเสรีดับสูญไปโดยปริยาย ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านขนม เครื่องดื่ม อาจต้องลดหรือเลิกการผสมกัญชาไป

7.ธุรกิจร้านสะดวกซัก

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมธุรกิจร้านสะดวกซักไปต่อไม่ได้ แต่จริงๆ ธุรกิจร้านสะดวกซักยังไปได้เรื่อยๆ แต่ไม่หวือหวาเหมือนช่วง 2-3 ปีก่อน ใครที่เปิดร้านตั้งแต่ตอนนั้นรู้ดี ใครเริ่มต้นธุรกิจก่อนได้เปรียบ แต่รายได้ไม่ดีเหมือนที่คิดไว้ มีค่าใช้จ่ายเยอะ ส่วนคนที่เพิ่งจะลงทุนก็เจอปัญหามากมาย ใช้เงินลงทุนสูง หลักล้านบาทขึ้นไป คู่แข่งก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นหลายๆ รายประกาศเซ้งร้านไปก็หลายที่ จึงทำให้มีคนมองว่าธุรกิจร้านสะดวกซักไปต่อได้ลำบาก

8.นักข่าว สื่อสารมวลชน

มันจบแล้วครับนาย

เห็นหรือไม่ว่าในตอนนี้ประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถรายงานข่าวหรือให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้โดยที่ไม่ได้เป็นนักข่าว หรือเรียนทางด้านสื่อสารมวลชนมาเลย แต่สามารถมีสำนักข่าวเป็นของตัวเองได้ ใครมีเฟสบุ๊คส่วนตัวหรือเพจเฟสบุ๊ค ช่องยูทูป ก็สามารถรายงานข่าว และให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ แบบสดๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียได้ทันที

9.ตลาดนัดขายเสื้อผ้า

มันจบแล้วครับนาย

แต่ก่อนเราจะเห็นตลาดนัดขายเสื้อผ้า เครื่องประดับมากมาย มาตอนนี้แทบไม่มีแล้ว ไม่เพียงตลาดนัดขายเสื้อผ้าเท่านั้น ยังมีตลาดนัดขายของทั่วๆ ไป ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ คนซื้อออนไลน์ พ่อค้าแม่ขายมากกว่าคนซื้อ ลงทุนหลักหมื่นขายได้หลักร้อย ที่สำคัญพ่อค้าแม่ค้าก็หันไปเปิดร้านขายเสื้อผ้าทางออนไลน์มากด้วยเช่นกัน

10.บัตร ATM / กระเป๋าสตางค์

ถ้าถามว่าตอนนี้ใครยังใช้บัตร ATM กดเงินจากตู้บ้าง เชื่อว่าคงจะมีน้อยคน เพราะเท่าที่เห็นคนส่วนใหญ่ถอนเงินจากตู้โดยใช้โทรศัพท์มือถือผ่านแอปฯของธนาคารต่างๆ หรือแม้แต่จะโอนเงินก็โอนทางมือถือ ไม่ว่าจะโอนให้เพื่อน ชำระสินค้า หรือแม่จ่ายค่าอาหาร ง่าย สะดวก รวดเร็ว เมื่อไม่พกเงินสดติดตัว ก็ไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋าสตางค์ติดตัวให้เกะกะอีกต่อไป

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช