รวม แฟรนไชส์เบเกอรี่ จ่ายค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียว

ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการมาลงทุน เริ่มที่ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ ที่แฟรนไชส์ซี จะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ

โดยแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจ รวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี

สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายระบบแฟรนไชส์อีกอย่างก็คือ เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเรียกว่า ค่ารอยัลตี้ (Royalty Fee) เป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนหนึ่งเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสร ที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง

โดยเงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ โดยปกติแฟรนไชส์ซี จะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ซึ่งปัจจุบันก็มีแฟรนไชส์บางประเภทไม่เรียกเก็บค่า Royalty Fee เพื่อเป็นข้อเสนอให้สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาซื้อแฟรนไชส์ง่ายและสะดวกมากขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากจะขอแนะนำธุรกิจ แฟรนไชส์เบเกอรี่ ที่ไม่เรียกเก็บค่า Royalty Fee หรือค่าธรรมเนียมการจัดการ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ในแต่ละเดือน พูดง่ายๆ คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จ่ายครั้งเดียวในครั้งแรกจบ แล้วได้ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นมาทำธุรกิจเลย

1.ชูการ์เฮ้าส์ (SugarHOUSE)

แฟรนไชส์เบเกอรี่

SugarHouse แฟรนไชส์ขนมหวาน แบรนส์แรกในเมืองไทยที่สร้างความแตกต่าง ด้วยเมนูขนมและเครื่องดื่มที่หลากหลาย ตามกระแสนิยม ไม่ว่าจะเป็น บิงซู

ซึ่งมีมากกว่า 10 รสชาติ, ขนมปังโทสต์อบร้อนหน้าต่างๆ, ชอคโกแลตลาวา, แพนเค้ก วาฟเฟิล และเครื่องดื่มต่างๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 50 เมนู เพื่อตอบรับกลุ่มลูกค้า ทุกเพศทุกวัย ด้วยเงินลงทุนไม่มากและสามารถคืนทุนได้รวดเร็ว

จุดเด่นของ SugarHOUSE คือ การขายสินค้าที่เป็นที่นิยม มีมูลค่าเพิ่มสูง และมีเมนูให้ลูกค้าเลือกหลากหลาย ขายได้ราคาดี ต้นทุนต่ำ กำไรสูง (กำไร>60% ของยอดขาย) สามารถคืนทุนได้รวดเร็ว อีกทั้งยังบริหารจัดการง่าย เนื่องจากวัตถุดิบที่เราคัดเลือกมาใช้ทุกตัว สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลาหลายเดือน จึงแทบไม่เกิดของเสีย

การลงทุน ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท (แถมเครื่องบิงซู + วัตถุดิบที่จำเป็นในการเปิดร้านมูลค่ารวม 20,000 บาท)

ข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ goo.gl/ssXN1f

2.ปังแมน (Pungman)

gar1

Pungman “แฟรนไชส์ปังแมน ปังไส้ไหล” เป็นร้านขายขนมปังไส้ทะลักหลากรสชาติ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบสำหรับลูกค้าที่ชอบขนมปังปิ้งพร้อมยัดไส้เยอะๆจนทะลัก มีให้เลือกทั้งขนมปังก้อนและขนมปังแผ่น โดยทาเนยสดและปิ้งบนเตาจนมีกลิ่นหอม กรอบนอก-นุ่มใน พร้อมยัดไส้แปลกๆ อาทิ ไส้นมฮอกไกโด ไส้ชาเขียวมัทฉะ ไส้เมล่อน ไส้พิซซ่า เป็นต้น

จุดเด่นของแฟรนไชส์ Pungman คือ การทำไส้ขนมปังจาก “ผงไส้สำเร็จรูป” ที่แค่ต้มกับน้ำเปล่าก็สามารถเสิร์ฟได้เลย ทำให้ง่ายต่อการทำและเก็บรักษา พร้อมการออกแบบร้านที่แปลก เตะตา เคลื่อนย้ายสะดวก และเมนูที่แปลกและหลากหลาย

การลงทุน เริ่มต้นที่ค่าแฟรนไชส์ ราคา 8,900 บาท ได้รับ (โต๊ะขนาด 120 cm.และป้ายตกแต่ง + เตาปิ้งขนมปัง+ เตาไฟฟ้า+ป้ายเมนู+วัตถุดิบ/อุปกรณ์ครบทุกรายการ)

ข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ goo.gl/CZCCKY

3.กะหรี่พัพเสวย (Curry Puff Sewy)

gar2

กะหรี่พัพเสวย ก่อตั้งเมื่อปี 2554 เริ่มจากทำขายเพื่อเสริมรายได้จากร้านอาหาร ที่เปิดขายแต่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่มาทานอาหารซื้อทาน ซื้อกลับบ้าน และเป็นของฝาก จัดเป็นกระเช้าขนม สั่งออเดอร์จัดชุดขนมเบรค

จนต้องส่งให้ลูกค้าที่ต่างจังหวัด จากนั้นจึงพัฒนารูปแบบกะหรี่พัพให้เก็บได้นาน ทอดกรอบ ไส้แน่นเข้มข้น และบรรจุแพ็คแช่แข็งให้ลูกค้าที่สนใจนำไปทอดเอง จนมีลูกค้าต่างจังหวัดมาติดต่อขอรับไปทอดขายเอง กะหรี่พัพ มี ไส้ไก่(ขายดีอันดับ1) ไส้หวาน (ถั่วเหลือง) ไส้สับปะรด ไส้ถั่วแดง ไส้ปลากะพง (สำหรับคนชอบทานปลา)

การลงทุน ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า ราคา 7,999 บาท ได้รับอุปกรณ์ครบพร้อมขาย ป้ายไวนิล ถุงใส่ขนม อุปกรณ์ทอด ชุดจัดวางพร้อมขาย กะหรี่พัพ 50 ชิ้น ไม่มีข้อผูกมัด เพียงสั่งสินค้าจากร้าน จัดส่งให้ตามออเดอร์ ต่างจังหวัดสั่งล่วงหน้า 2 วัน

ข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ goo.gl/pVXS2P

4.สวีทการ์เด้น (Sweet Garden)

gar3

สวีทการ์เด้นเป็นร้านเค้กและเบเกอรี รูปแบบใหม่ที่มีความโดดเด่นทั้งรูปแบบของร้าน และความหลากหลายของสินค้าที่ให้บริการ โดยสินค้าที่ร้านมีให้เลือกมากกว่า 60 ชนิด

ไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็งบิงซูรสชาติต่างๆ เช่น บิงซูมะม่วง, บิงซูสตรอเบอรี ที่มาพร้อมซอสโฮมเมดสูตรพิเศษของทางร้าน ขนมอบร้อน เช่น โทสรสชาติต่างๆ, ชอคโกแลตลาวา, วาฟเฟิล, เครป และแพนเค้ก

เค้กพร้อมเสิร์ฟหลากหลายกว่า 30 ชนิด ทั้งหน้านิ่ม, มูส, ชีส, พาย และเครื่องดื่มอันหลากหลายเพื่อเติมเต็มเมนูเค้กและเบเกอรี ไม่ว่าจะเป็น กาแฟสด, ชานมไข่มุก, ชาเขียว, เครื่องดื่มผลไม้ต่างๆ หากมีโอกาสแวะมาที่ร้านสาขาของเรา จะทราบถึงความแตกต่างที่คุณสามารถเป็นเจ้าของเองได้

เงินลงทุนค่าแฟรนไชส์ 1 แสนบาท สัญญา 6 ปี ใช้พื้นที่เริ่มต้น 45 ตร.ม.ขึ้นไป ไม่เก็บค่า Royalty Fee ของยอดขาย ไม่เก็บค่า Marketing Fee ของยอดขาย ระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 2 ปี กำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 50% จากราคาขาย

ข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ goo.gl/Wxptbd

5.ขนมถังทอง ถนอมมิตร (Mini Tangtong)

gar4

ขนมมินิถังทอง ถนอมมิตร หรือ ขนมถังแตก เป็นขนมไทยๆ ที่มีมาตั้งแต่โบราณ แต่ปัจจุบันได้พัฒนากันขึ้นมา ขนมมินิถังทอง ถนอมมิตร หรือ ขนมถังแตก เป็นขนมไทยๆที่มีมาตั้งแต่โบราณ แต่ปัจจุบันได้พัฒนากันขึ้นมา ทำให้ชิ้นเล็กลงและมีไส้หลากหลายเพิ่มขึ้น เพื่อให้ถูกปากถูกใจลูกค้าได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย

ขนมถังทอง เป็นขนมที่ทำกำไรได้ดีมากๆ ต้นทุนแป้ง ชิ้นละ 1บาท ขาย ชิ้นละ 10-12 บาทไส้แต่ละอย่าง แล้วแต่จะกำหนดเอง เช่น มะพร้าว ฝอยทอง เม็ดขนุน ข้าวโพด ลูกเกตุ สังขยา เผือก ฯลฯ

เป็นขนมที่ขายง่าย ขายดี กำไรงาม ชนิดนี้ขายแบบเกลี่ยนกลาดทั่วไป สามารถเข้ามาแวะชิมความอร่อย ที่ตลาดถนอมมิตร ซอย วัชรพล ถนนรามอินทรา กม 5 บางเขน กทม.

ทางร้านไม่คิดค่าเรียนแพงจนเกินไป เมื่อเปรียบกับราคาสูตรในท้องตลาด เพราะเข้าใจถึงคนที่ต้องการลงทุน ต้องการเริ่มต้น ว่าต้องมีค่าใช้จ่าย ในด้านอุปกรณ์เพิ่ม

ค่าเรียน 3,900 บาท ไม่เสียค่าแฟรนไชส์ เรียนได้ 2 คน ไม่บังคับชื้ออุปกรณ์หลัก แต่มีจำหน่าย

ข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ goo.gl/BQKBKc

ทั้งหมดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์เบเกอรี่ ที่ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือนให้แก่เจ้าของแฟรนไชส์ เพียงแค่จ่ายค่าแฟรนไชส์แรกเข้าครั้งเดียวเท่านั้น ก็สามารถทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้แล้ว เรียกได้ว่า “กำไร” ก็เข้ากระเป๋าตัวเองไปเลย

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
หรืออยากลงทุนแฟรนไชส์อื่นๆ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/34Fqqz7

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช