ปรับขึ้นราคาอาหารอย่างไร ลูกค้าไม่หาย

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของบรรดาร้านอาหาร เมื่อต้องปรับขึ้นราคาแต่ละครั้ง คือ กลัวลูกค้าจะหายไป ใครที่เจอปัญหาแบบนี้ ไม่ควรพลาด มีเคล็ดลับ ปรับขึ้นราคาอาหารอย่างไร แบบไม่เสียลูกค้า แถมยอดขายยังปังอีกด้วยนะคะ

ปรับขึ้นราคาอาหารอย่างไร

1. อธิบายลูกค้าตรงไปตรงมา

ไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่านี้แล้ว ควรบอกลูกค้าด้วยถ้อยคำสุภาพ ชัดเจน ตรงไปตรงมา เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าใจ ชี้แจงสาเหตุของการขึ้นราคา รวมถึงอัพเดทราคาวัตถุดิบในปัจจุบันให้ลูกค้าทราบด้วย

2. แจ้งปรับราคาล่วงหน้า

นอกจากจะบอกลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา คุณควรแจ้งปรับราคาให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า ไม่ต่ำกว่า 1-2 สัปดาห์ เพื่อแสดงความจริงใจต่อลูกค้า ไม่ควรแจ้งลูกค้าตอนจ่ายเงินหลังจากทานอาหารสร็จแล้ว คุณสามารถแจ้งลูกค้าทราบได้หลายช่องทาง ทั้งติดป้ายหน้าร้าน เว็บไซต์ รวมถึงช่องทางโซเชียลมีเดียของร้าน

ปรับขึ้นราคาอาหารอย่างไร

3. นำเสนอคุณค่าเพิ่ม

เมื่อขึ้นราคาอาหารแล้ว อย่าลืมมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ เช่น ใช้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ ตกแต่งบรรยากาศให้ดูดี สวยงาม สะอาด จดจำเมนูที่ลูกค้าสั่งประจำ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อลูกค้า

4. สร้างสรรค์เมนูใหม่

ถ้าร้านอาหารปรับขึ้นราคาอาหารแล้ว แต่ลูกค้ายังได้อะไรแบบเดิมๆ ลูกค้าอาจรู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ร้านอาหารควรสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ของทางร้านให้น่าสนใจ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกอยากติดตาม อยากลองชิม ดึงดูดให้ลูกค้่ากลับมาใช้บริการอีกนั่นเอง

ปรับขึ้นราคาอาหารอย่างไร

5. บริการลูกค้าดีกว่าเดิม

ไม่ว่าจะเป็นการยกมือไหว้ต้อนรับ กล่าวทักทายสวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาสุภาพอ่อนหวาน เสิร์ฟอาหารรวดเร็ว บริการด้วยความจริงใจ สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้อย่างดี เชื่อว่าแม้ราคาอาหารจะสูงขึ้น เมื่อลูกค้าได้สัมผัสกับบรรยากาศดีๆ ในร้าน อาจรู้สึกว่าเงินที่จ่ายไปคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับกลับคืนมา

6. ปรับราคาบางเมนู

เป็นอีกวิธีทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ไม่ต้องจ่ายอาหารเพิ่มในทุกเมนู เช่น ปรับราคาเมนูขายดีของร้าน หรือปรับราคาเมนูที่วัตถุดิบแพงขึ้น หาซื้อยาก ขาดตลาด สิ่งสำคัญควรติดป้ายแจ้งลูกค้าในร้าน หากวัตถุดิบราคาลดลง ทางร้านจะปรับราคาอาหารลงตามด้วย เพื่อแสดงความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า

สำหรับใครที่เปิดร้านอาหารอยู่ หากต้องการปรับขึ้นราคาอาหาร แต่กลัวว่าจะเสียลูกค้า ลองนำแนวทางทั้ง 6 ข้อ ไปปรับใช้ได้ เชื่อว่าลูกค้าต้องเข้าใจ ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มอย่างแน่นอน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช