ซื้อแฟรนไชส์ ชาตรามือ ราคาเท่าไหร่

เป็นอีกหนึ่งร้านเครื่องดื่มที่มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 145 สาขาทั่วประเทศ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2468 แถวๆ ถนนเยาวราช ก่อนจะถูกส่งไม้ต่อมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 แตกบริษัทฯ ในเครือบริหารร้านเครื่องดื่มชาตรามือขึ้นมาโดยเฉพาะ สร้างรายได้มากกว่า 785 ล้านบาท ทุกสาขาบริษัทดำเนินการเอง ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก https://www.cha-thai.com/history

ผลิตภัณฑ์หลักของร้านที่ขายตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ชาจีน ชาอู่หลง ชาเขียว จากนั้นเริ่มนำเข้าชาแดงมาในประเทศไทย แปรรูปทำเป็นชาไทยและชาดำ โดยชาแดงใช้ทำชานม ส่วนชาดำไทยใช้ใส่น้ำแข็ง หรือ “ชาเย็น” นั่นเอง ต่อมาในปี 2488 ทางร้านได้เริ่มขายชายี่ห้อ “ชาตรามือ” มีพื้นปลูกชาเองที่จังหวัดเชียงราย โดยตั้งโรงงานผลิตในกรุงเทพฯ

พอมาถึงปี 2532 บริษัทฯ สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในชื่อ “โรงงานใบชาสยาม” จดทะเบียนเป็น บริษัท ชาไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จนถึงปัจจุบัน ต่อมา “คุณดิฐพงศ์” ทายาทรุ่นที่ 2 ได้สืบทอดกิจการต่อจากพ่อ ตั้ง บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด ในปี 2537 ผลิตและขายผลิตภัณฑ์ชาบรรจุกระป๋อง

ต่อมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 คือ พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช ในปี 2564 ก่อตั้งบริษัท ทิพย์ธารี จำกัด ดูแลและบริหารจัดการร้านขายเครื่องดื่มชาตรามือโดยเฉพาะ ซึ่งหนึ่งในผลงานสร้างความฮือฮา คือ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ชากุหลาบ” และซอฟต์เสิร์ฟรสชาติต่างๆ อย่างไอศกรีมชาไทย ได้รับความนิยมอย่างมากจนถึงทุกวันนี้

ส่วนรายได้ของ “ร้านขายเครื่องดื่มชาตรามือ” จากการตรวจผลประกอบการบริษัท ทิพย์ธารี จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ปี 64 มีรายได้ 419.8 ล้านบาท กำไร 40.2 ล้านบาท และ ปี 65 มีรายได้ 785.2 ล้านบาท กำไร 116.4 ล้านบาท นับว่าเป็นร้านขายเครื่องดื่มชาไทยที่มีรายได้สูงทีเดียวเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ

ชาตรามือ ไม่ขายแฟรนไชส์ในไทย

คำถามที่เห็นบ่อยๆ คือ แฟรนไชส์ชาตรามือ ราคาเท่าไหร่ หรือ สนใจแฟรนไชส์ชาตรามือ ต้องทำอย่างไร? ทางทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์มีข้อมูลมาเรียนแจ้งให้ทราบว่า “ชาตรามือ” ยังไม่มีนโยบายขายแฟรนไชส์ในประเทศไทย แต่ขายแฟรนไชส์ต่างประเทศ ได้แก่ พม่า, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, ฮ่องกง, จีน, กัมพูชา และบรูไน

ส่วนในประเทศไทย “ชาตรามือ” ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ และ บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้ใช้โลโก้ของชาตรามือ หรือชื่อร้านชาตรามือ เนื่องจากชื่อและเครื่องหมายการค้าชาตรามือเป็นลิขสิทธิ์ของทาง บริษัทฯ แต่คนที่สนใจอยากเปิดร้านเครื่องดื่มสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ของชาตรามือวางตกแต่งหน้าร้านได้ บริษัทฯ อนุญาตให้ใช้ชื่อและโลโก้ของร้านตัวเองได้เลย

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช