ช้าบางก็ดี! กลยุทธ์ค้าปลีกของห้างTesco ในสก็อตแลนด์

บางครั้งเรื่องเล็กน้อยที่หลายคนมองข้ามอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญใน ผู้บริโภค ได้รู้สึกว่าตัวเองนั้นสำคัญและมีคุณค่าไม่ใช่แค่คนที่มาเสียเงินซื้อของแล้วก็เดินออกไปจากร้าน ในต่างประเทศเขาใส่ใจกับความรู้สึกของลูกค้ามาก

ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศนั้นเข้มงวดกว่าบ้านเรามาก รวมถึงผู้บริโภคในต่างประเทศส่วนใหญ่ก็มักจะใช้สิทธิของตัวเองในด้านต่างๆอย่างเต็มที่ก็เป็นผลมาจากระบบสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนต่างรู้หน้าที่กันดีและพยายามทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มที่ที่สุด

ผู้บริโภค

 ภาพจาก goo.gl/YgHx4A

ในฐานะที่ www.ThaiSMEsCenter.com เติบโตในแวดวงธุรกิจมานานก็ต้องยอมรับเช่นกันว่าหลายสิ่งหลายอย่างในตลาดเศรษฐกิจบ้านเรายังต้องได้รับการพัฒนาขึ้นไปมากกว่าที่เป็นอยู่

แต่มิใช่เราจะลอกเลียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาใช้แต่เราต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมของไทยแต่ในเรื่องที่จะยกตัวอย่างให้ทราบต่อไปนี้น่าจะเป็นเรื่องดีๆที่ห้างสรรพสินค้าในเมืองไทยน่าจะเอามาปรับใช้ได้ง่ายถ้าใครทำได้น่าจะเรียกศรัทธาและซื้อใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

yy2

ภาพจาก goo.gl/YgHx4A

โดยปัญหาส่วนหนึ่งที่เราพบในห้างสรรพสินค้าปัจจุบันคือความใจร้อนของคนที่มีไม่เท่ากัน โดยผลสำรวจจาก Google พบว่าคนส่วนใหญ่มักไม่ชอบการรอคอยที่นานเกินไป

แม้กระทั่งการโหลดข้อมูลต่างๆ เขามีความอดทนในการรอเพียงแค่ไม่วินาทีเท่านั้น และถ้าจะสังเกตเรื่องความในร้อนที่ว่านี้ดูได้ง่ายตามท้องถนนทั่วไปโดยเฉพาะกับข่าวรายวันเกี่ยวกับการขับรถและอุบัติเหตุทั้งหลายที่ส่วนหนึ่งคือความใจร้อนและรอคอยอะไรนานๆไม่ได้

yy5

ภาพจาก goo.gl/vnIokD

เรื่องนี้มีผลไปถึงการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าที่คนต่อแถวรอจ่ายเงินมีความอดทนที่สั้นลงไปเรื่อยๆ โดยจุดวิกฤติส่วนใหญ่ก็จะอยู่แถวแคชเชียร์จ่ายเงินที่บางครั้งเราเองก็ยังรู้สึกได้เลยว่าทำไมคนที่อยู่ข้างหน้าของที่ซื้อก็มีแค่นิดเดียวแต่ทำไมเสียเวลาคิดเงินนานมาก นั้นก็ยิ่งทำให้คนที่อยู่ในแถวลำดับถัดไปยิ่งมีอารมณ์ฉุนเฉียว

และยิ่งมาเจอกับลูกค้าบางรายที่เป็นผู้สูงอายุหรือคนที่ทำอะไรช้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้วกว่าจะหยิบเงิน กว่าจะหาเงินครบ เรียกได้ว่าคนข้างหลังอารมณ์กรุ่นๆกันเลยทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมช้าดังที่กล่าวมา มักจะได้รับการบริการที่แฝงด้วยความกดดันทั้งจากแคชเชียร์และคนอื่นที่ต่อแถวอยู่

yy6

ภาพจาก goo.gl/Q9C3ZS

และเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดนี้ ห้าง Tesco ในสก็อตแลนด์จึงมีการเปิด “เลนพิเศษ” สำหรับลูกค้าที่มีความต้องการพิเศษขึ้นมา เพื่อให้ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหรือออทิสติกได้ชำระเงินได้อย่างสบายใจมากขึ้น เนื่องจากเลนพิเศษนี้จะไม่เร่งรัดลูกค้าแต่อย่างใด แถมเจ้าหน้าที่แคชเชียร์ในเลนดังกล่าวก็ได้รับการฝึกอบรมพิเศษจาก Autism Scotland

เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการพิเศษของลูกค้ากลุ่ม Slower Customer นี้ด้วย แต่ข้อเสียของระบบนี้ก็คือไม่ได้เปิดบริการกันทุกวันแต่จะเปิดเลนพิเศษที่ว่านี้ให้บริการเฉพาะในช่วงเช้าของวันอังคารและวันพุธเท่านั้น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นช่วงการทดลองใช้งานหรือต้องการเปิดให้บริการแค่เฉพาะช่วงเวลาดังกล่าวเท่านั้น

ถ้าจะให้ดีก็น่าจะเพิ่มขยายวันและเวลาให้นานกว่านี้เพราะว่าคนที่ใช้บริการนั้นมีทุกวันและคนที่มีปัญหาดังกล่าวก็ต้องมีปะปนเข้ามาทุกวันซึ่งการเปิดบริการต่อเนื่องก็น่าจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงความประทับใจได้อย่างสูงสุดมากกว่า

yy1

ภาพจาก goo.gl/S3tF7Y

สำหรับในเมืองไทยเองใครอยากเอาไปเดียนี้ไปปรับใช้ก็คงไม่น่าสนใจไม่น้อยในโลกของธุรกิจที่เราต่างมุ่งหวังแข่งขันกันแต่ความรวดเร็ว สินค้าแทบทุกยี่ห้อล้วนคิดแต่จะทำอย่างไรให้บริการรวดเร็วพึงพอใจลูกค้า

ทำอย่างไรให้ความเร็วตอบสนองความพอใจได้อย่างสูงสุด หากคิดในมุมกลับลองทำธุรกิจที่ช้าๆดูบ้างเราอาจพบคำตอบที่แตกต่างและอาจสร้างความน่าสนใจให้เกิดขึ้นกับธุรกิจของเราก็เป็นได้

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/eyPVoK

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด