อย่าหาทำ! 8 ลักษณะธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ควรลงทุน

แม้ว่าการลงทุน ธุรกิจแฟรนไชส์ จะเป็นทางลัดในการธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาในก่อร่างสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จัก ผู้ลงทุนมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง หากเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีมีคุณภาพ

แต่ถ้าเลือกแฟรนไชส์ที่ไม่ดีก็มีโอกาสเจ๊งสูงเช่นกัน แล้วธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ดี ไม่น่าลงทุนมีลักษณะแบบไหน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

อย่าหาทำ

1. แบรนด์ไม่มีชื่อเสียง

ใครที่กำลังมองหาแฟรนไชส์ลงทุน ควรหลีกเลี่ยงธุรกิจแฟรนไชส์ที่แบรนด์ไม่มีชื่อเสียง เนื่องจากซื้อไปเปิดแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยกว่าแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ผู้บริโภครู้จักในวงกว้าง ยกตัวอย่าง 7-Eleven เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ผู้คนถึงอยากลงทุน เมื่อซื้อไปเปิดแล้วขายสินค้าได้ และมีคนใช้บริการอย่างแน่นอน

2. สินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์

แม้ว่าแบรนด์จะดีมีชื่อเสียง แต่ถ้าสินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้าง ก็ไม่ควรที่จะลงทุนเช่นกัน เนื่องจากซื้อไปแล้วขายได้น้อย หรือขายไม่ได้เลย เมื่อสินค้าไม่ดี ไม่ตอบโจทย์ รสชาติไม่อร่อย ก็ทำให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้ออีก

11

3. จำนวนสาขาแฟรนไชส์น้อย

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสาขาน้อย หรือไม่มีสาขาแฟรนไชส์เลย ก็เป็นอีกแบรนด์แฟรนไชส์ที่ควรหลีกเลี่ยงลงทุน เพราะหากเป็นแฟรนไชส์ที่ดีจริง ก็ต้องมีคนสนใจลงทุนจำนวนมาก เหมือนแฟรนไชส์กาแฟอเมซอน ในแต่ละเดือนมียอดสมัครกว่า 400 ใบ

4. ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่เจ้าของแฟรนไชส์บอกว่าได้กำไรมาก ก็ควรที่จะเลี่ยงลงทุนเช่นเดียวกัน เพราะอาจจะถูกหลอกเหมือนกับแชร์ลูกโซ่ แต่ถ้าหากจะลงทุนจริงๆ ก็ต้องดูว่าสินค้าและบริการตอบโจทย์ลูกค้ามากน้อยแค่ไหน

12

5. ไม่เก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิรายเดือน ค่าการตลาด ถือว่ามีความเสี่ยงในการลงทุน ควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นแฟรนไชส์ที่มุ่งขายวัตถุดิบและสินค้าอย่างเดียว โดยที่ไม่มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ที่ดี ใครมาซื้อก็ขายอย่างเดียวเพื่อหวังเงินจากการลงทุน เมื่อทำไปนานๆ อาจไม่มีมาตรฐาน สุดท้ายอาจเจ๊งได้

6. ระบบแฟรนไชส์ไม่มีมาตรฐาน

แฟรนไชส์ที่ดี น่าลงทุน ต้องมีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกๆ สาขา ไม่ใช่พอกินร้านนี้รสชาติอย่างนี้ แต่พอไปกินอีกสาขาหนึ่งรสชาติอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนเดิม แฟรนไชส์ลักษณะแบบนี้ก็ควรที่จะเลี่ยงลงทุนเช่นเดียวกัน

15

7. กระบวนการทำงานถ่ายทอดยาก

คุณลักษณะแฟรนไชส์ที่ควรหลีกเลี่ยงการลงทุน คือ แฟรนไชส์ที่มีกระบวนการทำงานซับซ้อน ถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ยาก เนื่องจากการลงทุนแฟรนไชส์เป็นการซื้อความสำเร็จ เป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ขั้นตอนทำงาน การผลิตต้องง่าย แต่ถ้าซื้อมาแล้วขั้นตอนการทำงาน การผลิตต่างๆ ยุ่งยาก และถ่ายทอดให้คนอื่นได้ยาก แม้แต่ลูกน้อง ก็ต้องหลีกเลี่ยง

8. คู่แข่งขันในตลาดมีจำนวนมาก

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคู่แข่งขันจำนวนมากในตลาด เช่น สินค้าเดียว หรือบริการเดียวกัน ก็ควรหลีกเลี่ยงลงทุนเช่นเดียวกัน แต่ถ้าชอบแฟรนไชส์นั้นจริงๆ ต้องพิจารณาด้วยว่า สินค้าและบริการมีความโดดแด่นกว่าคู่แข่งหรือไม่ หากไม่มีความโดดเด่นหรือแตกต่างจากคู่แข่ง ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะในระยายาวอาจไม่รอด เหมือนกรณี ชา 25 บาท ที่ช่วงหลังๆ เริ่มแผ่วลงไป

14

ได้เห็นกันแล้วว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ควรลงทุนมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง ใครที่กำลังจะซื้อแฟรนไชส์ อย่าหาทำ 8 ลักษณะธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ควรลงทุน ต้องห้ามไปพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ แล้วคุณจะได้แฟรนไชส์ที่ดีมีคุณภาพครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. แบรนด์ไม่มีชื่อเสียง
  2. สินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์
  3. จำนวนสาขาแฟรนไชส์น้อย
  4. ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก
  5. ไม่เก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  6. ระบบแฟรนไชส์ไม่มีมาตรฐาน
  7. กระบวนการทำงานถ่ายทอดยาก
  8. คู่แข่งขันในตลาดมีจำนวนมาก

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mIKRC6

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช