จากโรงงานหลังคาสังกะสี สู่ “ทองการ์เด้น” ธุรกิจขายถั่ว รายได้กว่า 1,500 ล้านบาท

“ทองการ์เด้น” แบรนด์ขนมขบเคี้ยวมีจุดเริ่มจากการขาย “ถั่ว” สู่อาณาจักร 1,500 ล้านบาทในประเทศไทย ไม่ได้เป็นแบรนด์ของไทย แต่เป็นแบรนด์ของสิงคโปร์ มีเจ้าของเป็นคนจีน เรื่องราวของ “ทองการ์เด้น” น่าสนใจอย่างไร มาดูกัน

ทองการ์เด้นมีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1933 อ๋อง ตง กวน (Ong Tong Guan) ชาวฝูเจี้ยน ประเทศจีน ได้อพยพจากบ้านเกิดเมืองนอนแบบเสื่อผืนหมอนใบไปยังประเทศสิงคโปร์ โดยหวังว่าตัวเองเขาและครอบครัวจะมีอนาคตที่ดีรออยู่ที่นั่น แต่ความเป็นจริงกลับไม่ได้ดีกว่าที่หวังไว้ เขาใช้จักรยานคู่ใจขี่ไปทำมาหากิน และเก็บถั่วไว้กินในยามหิวประทังชีวิต

ทองการ์เด้น

เขาใช้เวลานานกว่า 30 ปี ผันตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจ มีโรงงานเป็นของตัวเอง แต่ไม่ใช่โรงงานใหญ่ๆ เป็นเพียงโรงงานสังกะสีเล็กๆ มีคนงานไม่กี่คนเท่านั้น ในปี 1963 ฮ๋อง ตง กวน และครอบครัว เริ่มขายสินค้าตัวแรก คือ ถั่วลิสง เป็นพันธุ์มาจากกรุงปักกิ่ง

โดยลูกค้ากลุ่มแรกเป็นชาวจีนด้วยกันเองที่อพยพไปอยู่สิงคโปร์ พอขายไปได้สักระยะหนึ่ง ถั่วลิสงของเขาเริ่มขายดีเรื่อยๆ มีลูกค้าประจำแวะเวียนมาซื้อไม่ขาดสาย จนเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น จึงอยากขยับขยายกิจการ

ทองการ์เด้น

ในปี 1966 อ๋อง ตง กวน เริ่มแตกไลน์สินค้าให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ถั่วปากอ้า ถั่วลันเตา เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บิสกิต แครกเกอร์ ฯลฯ หลังจากนั้นธุรกิจของเขาเริ่มขยายตัวอย่างต่อเนือง จนกระทั่งในปี 1980 เขาได้นำบริษัท ทองการ์เด้น จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในประเทศสิงคโปร์ รวมถึงสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้น

ในปี 1984 ทองการ์เด้นได้มีการยกระดับสินค้าขึ้นไปอีกขั้น นำถั่วพิสตาชิโอที่มีภาพลักษณ์เป็นถั่วระดับพรีเมียมราคาค่อนข้างแพง โดยได้บรรจุในแพ็คเกจจิ้งใหม่เป็นแบบอะลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยทำให้การเก็บรักษาคุณภาพถั่วได้ยาวนานและคงรสชาติความอร่อยได้ดีดว่าคู่แข่ง ส่งผลให้ทองการ์เด้นก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดถั่วพิสตาซิโอ้ในเวลาไม่นาน

ในปี 1989 ทองการ์เด้นมีโรงงานผลิตในต่างประเทศ 3 แห่ง คือ มาเลเซีย ฮ่องกง และไทย จนกระทั่งในปี 1990 ทองการ์เด้นเปิดตัวแบรนด์ใหม่ NOI มีอัลมอนด์ แมคคาเดเมีย เมล็ดทานตะวัน เกาลัด ตลอดจนมันฝรั่งทอดกรอบ ผลไม้อบแห้ง คุกกี้ สาหร่าย ของกินเพื่อสุขภาพ เมื่อมีสินค้าหลากหลายขึ้น ได้มีการนำเข้าเมล็ดถั่วจากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และอื่นๆ

ทองการ์เด้น

ปัจจุบันทองการ์เด้นในสิงคโปร์กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดถั่วและขนมขบเคี้ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการส่งออกสินค้าถั่วและธัญพืชไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมากกว่า 35 ประเทศ ในปี 2014 ทองการ์เด้นได้รับรางวัลจากการประกวด Singapore Prestige Brand Award กลายเป็นแบรนด์ที่ทรงคุณค่าในประเทศสิงคโปร์

สำหรับทองการ์เด้นในประเทศไทย อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท ทองการ์เด้น จำกัด จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท มีนายอ่อง เต็ก ชวน, นางสาวกาญจนา อาศิระวิชัย และนางทิพวิมล ต๊ะปวง เป็นกรรมการ

รายได้ทองการ์เด้นในประเทศไทย

จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน บริษัท ทองการ์เด้น จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนี้

  • ปี 63 รายได้ 1,322 ล้านบาท กำไร 57.6 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 1,291 ล้านบาท กำไร 47.3 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 1,520 ล้านบาท กำไร 74 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่ารายได้ของทองการ์เด้นเพิ่มขึ้นทุกปี อาจเป็นเพราะบริษัทได้มีการพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น เท่าที่สำรวจดูแล้วพบว่า สินค้าของทองการ์เด้นที่วางจำหน่ายในเมืองไทยมีมากกว่า 80 รายการ มีหลากหลายกลุ่ม อาทิ ถั่วลิสง อัลมอนด์ พิสตาชิโอ มะม่วงหิมพานต์ มันฝรั่งทอด อินทผาลัม เมล็ดทานตะวัน แมคคาเดเมียร์ ถั่วลันเตา ถั่วปากอ้า ลูกเกด เกาลัด สาหร่ายทอด เมล็ดฟักทอง มันสำปะหลังทอด คุกกี้ ลูกพรุน เป็นต้น

สินค้าทองการ์เด้นวางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ครบคลุมทุกพื้นที่ เอาแค่ร้าน 7-Eleven ช่องทางขายเดียวมีมากถึง 14,000 สาขา อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ทองการ์เด้นมียอดขายเพิ่มขึ้นทุกปีอยู่ที่ “นวัตกรรม” บริษัทมีแพ็คเกจจิ้งแบบอะลูมิเนียมฟอยล์ช่วยรักษาคุณภาพสินค้าได้นาน สร้างมูลค่าให้กับสินค้าไปในตัวด้วย

ภาพจาก https://www.facebook.com/TongGardenThailand/

เรื่องราวของทองการ์เด้น จากโรงงานมุงสังกะสีเล็กๆ ในประเทศสิงคโปร์ เริ่มต้นจากขายถั่วลิสงจนแตกไลน์เป็นสินค้าหลากหลายชนิดมากกว่า 80 รายการ วางขายทั่วประเทศในเอเชีย สะท้อนให้กับคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ ต้องกล้าที่จะทำ แม้ว่าเราจะไม่มีต้นทุนเหมือนคนอื่น รู้จักวิเคราะห์ มองหาตลาด สร้างนวัตกรรม เพิ่มความหลากหลายของสินค้า

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช