คุณเป็นคนซื้อแฟรนไชส์แบบไหน? Operator หรือ Investor

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ขอถามก่อนว่า คุณให้คุณค่ากับธุรกิจแฟรนไชส์มากแค่ไหน คุณวางเป้าหมายซื้อแฟรนไชส์ไว้อย่างไร ต้องการดำเนินการเอง เป็นเจ้าของกิจการ (Operator) หรือแค่อยากได้เงินจากการลงทุน (Investor) ทั้งสองมีความแตกตางกัน

ซึ่งการเป็น Investor สามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่น หรือลงทุนในธุรกิจอื่นๆ พร้อมกันได้ ในทางกลับกันหากซื้อแฟรนไชส์แบบ Operator คุณจะต้องมีเวลาทุ่มเทให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ตลอดทั้งวัน บริหารจัดการ ดูแลธุรกิจเองทั้งหมด ก่อนอื่นมาดูว่าไลฟ์สไตล์ของคุณเป็นอย่างไร เพื่อวางเป้าหมายสำหรับการซื้อแฟรนไชส์ว่าเป็น Operator หรือ Investor

1. คุณพร้อมทำงานหนักแค่ไหน

Operator หรือ Investor

ถ้าคุณอยากมีเวลาไปกับสิ่งอื่นๆ ให้ทีมงาน หรือผู้จัดการร้านทำงานหนักแทน คุณก็เหมาะกับ Investor แต่ถ้าคุณอยากมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับธุรกิจแฟรนไชส์ อยากทำงานหนัก เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ คุณก็เหมาะกับ Operator

2. คุณมีทักษะทางธุรกิจอะไรบ้าง

Operator หรือ Investor

หากคุณมีทักษะในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ทำอาหารเก่ง ชอบสอนเด็กๆ คุณจะทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ได้ดี ก็เหมาะกับการซื้อแฟรนไชส์แบบ Operator เพราะจะทำให้คุณมีความสุขกับธุรกิจที่ทำ ธุรกิจจะสำเร็จได้ง่าย แต่ถ้าคุณไม่มีทักษะการทำธุรกิจใดๆ เลย ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ด้วยการซื้อแฟรนไชส์แบบ Investor สร้างทีมงานช่วยบริหารธุรกิจแทนได้

3. คุณพร้อมเรียนรู้มากแค่ไหน

Operator หรือ Investor

ผู้ประกอบการที่ดีมักจะเป็นคนชอบเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ อยากลองผิดลองถูก เพื่อหาวิธีแก้ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ลองความคิดใหม่ๆ ยอมรับในคำวิจารณ์ สร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ คุณก็เหมาะกับการซื้อแฟรนไชส์แบบ Operator แต่ถ้าคุณไม่ชอบที่จะเรียนรู้ แต่ชอบใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญของตัวเองแก้ปัญหาให้กับคนอื่นหรือองค์กร ถนัดคิดภาพใหญ่ๆ มอบงานให้ทีมงานหรือแผนกนั้น แผนกนี้ทำแทน คุณก็เหมาะกับการซื้อแฟรนไชส์แบบ Investor

4. คุณชอบบริหารคนหรือไม่

เจ้าของธุรกิจจริงๆ มักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการบริหารจัดการทีมงานและพนักงานในองค์กรของตัวเอง ตั้งแต่การจ้างงาน ฝึกอบรม พัฒนาทักษะต่างๆ ให้พนักงาน หากคุณชอบแบบนี้ก็เหมาะกับการซื้อแฟรนไชส์แบบ Operator แต่ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ตัวเอง ซื้อแฟรนไชส์ตามกระแสมาแรง อยากสร้างรายได้หลายด้านเพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง ไม่อยากยุ่งกับพนักงาน แต่ให้ผู้จัดการร้านทำแทนทุกอย่าง คุณก็เหมาะกับการซื้อแฟรนไชส์แบบ Investor

5. คุณซื้อแฟรนไชส์ต่ออาชีพ

Operator หรือ Investor

ถ้าคุณอยู่ในวัยใกล้เกษียณ แต่ยังมีไฟเหลือล้น อยากทำงานต่อ ไม่อยากเกษียณตัวเองด้วยการอยู่บ้านเปล่าๆ การซื้อแฟรนไชส์เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้คุณได้ทำงานที่ตัวเองต้องการและถนัดมากที่สุด โดยมีอิสระในการทำงาน เป็นนายของตัวเอง แต่การเป็นแฟรนไชส์ซีที่ดีนั้น ต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของแฟรนไชส์ซอร์ คุณถึงจะเหมาะกับการเป็น Operator

6. คุณมีเงินพร้อมลงทุนหรือไม่

การซื้อแฟรนไชส์ประเภท Investor ต้องมีเงินพร้อมลงทุน เพราะแฟรนไชส์ประเภทนี้มักจะใช้เงินลงทุนสูงกว่า Operator ถ้าลงทุนหลายสาขา หลายแบรนด์ ต้องใช้งบลงทุนที่สูงแน่นอน และยังต้องจ้างคนทำงานในแต่ละสาขาด้วย

สรุปก็คือ การเป็นคนซื้อแฟรนไชส์แบบไหน? Operator หรือ Investor ทั้งสองมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าคุณมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างไร คำถาม 5 ข้อข้างต้นน่าจะให้คำตอบให้คุณแล้วว่า คุณจะเลือกซื้อแฟรนไชส์แบบไหน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช