คนไทยดื่ม “ชานมไข่มุก” มากที่สุด เผยบริโภคอาเซียนนิยมสั่งซื้อผ่าน Grab Food ช่วงเที่ยง

ชานมไข่มุก นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มตัวแทนชาวเอเชียแล้ว ยังเป็นเครื่องดื่มที่ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นิยมสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น Grab Food มากที่สุด

ร่วมกับเมนูอาหาร และกาแฟพรีเมี่ยมจากร้าน ในช่วงมื้อเช้า กลางวัน เย็น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจากผู้ให้บริการ Grab Food สัญชาติสิงคโปร์

นอกเหนือจากมื้อเช้า กลางวัน และเย็นแล้ว ผู้ให้บริการ Grab Food สัญชาติสิงคโปร์ยังพยายามสร้างความแข็งแกร่ง ด้วยการนำเสนอและจัดส่งอาหารและเครื่องดื่มตลอด 24 ชั่วโมง

โดยวางเป้าหมายเป็นแอปพลิเคชั่นส่งอาหารตลอดเวลา เรื่อองราวดังกล่าวจะเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ทราบกันครับ

ชานมไข่มุก

ภาพจาก bit.ly/2O7dfxR

Grab ได้เปิดตัวธุรกิจบริการจัดส่งอาหารในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2559 ก่อนที่จะขยายรูปแบบการให้บริการไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ปัจจุบันมีอยู่ในกว่า 200 เมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ถือเป็นแพลตฟอร์มการจัดส่งอาหารของบริษัท และปัจจุบันได้กลายเป็นผู้นำตลาดจัดส่งอาหาร 5 ใน 6 ประเทศที่มีให้บริการ

สำหรับในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้าน Grab Foods ถือเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารอันดับต้นๆ และเป็นคู่แข่งสำคัญของ GoJek ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารในท้องถิ่นที่ได้รับความนิยม แต่อินโดนีเซียยังคงเป็นตลาดหลักของ Grab Foods ซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้จัดส่งอาหารอันดับ 1 ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า

สำหรับสแกนของ Grab Food ในวันนี้ ก็คือ “ทำให้ชีวิตสะดวกสบาย” โดยปรัชญาหรือสโลแกนดังกล่าว ทำให้ Grab เป็นผู้ให้บริการมากกว่าการขัดส่งอาหารและชำระเงิน แต่ขยายบริการไปสู่การจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน การช็อปปิ้ง ซื้อของตามร้านค้าปลีก ตลอดจนการให้บริการทางการแพทย์

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศอาเซียนจะช้า เมื่อเทียบกับจีนและสหรัฐอเมริกา แต่ผู้ให้บริการ Grab, GoJek ยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในการสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเรื่อย

13

ภาพจาก bit.ly/2QgtRGc

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีมูลค่าสูงถึง 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 หลังจากมีการเติบโตกว่า 3 เท่าเมื่อ 4 ปีก่อนหน้านี้ จากการสำรวจร่วมกันระหว่าง Google, Temasek และ Bain & Co

ปัจจุบันเศรษฐกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะสูงถึง 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 จากการเกิดขึ้นของสมาร์ทโฟนและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ แห่งอนาคตในอาเซียน ที่สำคัญผู้บริโภคชาวเอเชียยังมีการโหลดแอปพลิเคชั่นมากที่สุดในโลกด้วย

ผู้บริโภคเอเชียเลือกใช้ Grab ในฐานะผู้ให้บริการท้องถิ่น

12

ภาพจาก bit.ly/2NLXSw7

ปัจจุบัน Grab ไม่เพียงแต่เป็นคู่แข่งสำคัญของ GoJek ผู้ให้บริการสัญชาติอินโดนีเซียในอาเซียนเท่านั้น ยังคู่แข่งหน้าใหม่อื่นๆ เช่น Foodpanda และ Deliveroo รวมถึงผู้ให้บริการขนาดเล็กอื่น ๆ และร้านอาหารที่มีแอปพลิเคชั่นจัดส่งอาหารด้วย

แต่ Grab พยามที่จะพัฒนาการให้บริการของตัวเอง โดยวางจุดแข็งเป็น “ผู้ให้บริการท้องถิ่นแต่ระดับอินเตอร์” และฉีกตัวเองจากคู่แข่งแบรนด์ต่างชาติ ที่สำคัญผู้บริโภคในภูมิภาคให้ความสำคัญในเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น

ยกตัวอย่างเมื่อช่วงปี 2012 Uber ได้เปิดตัว ‘Ice Cream Day’ ในเอเชีย ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อของหวานและไอศกรีมได้ทันทีบนแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น Uber ในช่วงฤดูร้อน

11

ภาพจาก bit.ly/2CFO4xb

แต่ถึงอย่างไร ปี 2015 Grab ได้เกมด้วยการเปิดตัวแคมเปญ GrabDurian บริการจัดส่งผลไม้ทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้เอเชีย ผลปรากฏว่าลูกค้าเลือกใช้แคมเปญของ Grab มากกว่า Uber เพราะมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้

ความสำเร็จของ Grab Food ในอาเซียน

10

ภาพจาก bit.ly/32MSY5Y

Grab ผู้นำด้านซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศความสำเร็จของ GrabFood ธุรกิจการให้บริการสั่งอาหารแบบออนดีมานด์บนแอปพลิเคชั่นด้วยยอดสั่งอาหารกว่า 4 ล้านออเดอร์ภายใน 4 เดือนแรกของปี 2562 แซงหน้าความสำเร็จในปี 2561 ที่มียอดสั่งอาหารตลอดปี 3 ล้านออเดอร์

โดย GrabFood ได้ขึ้นแท่นเป็นผู้นำตลาดด้านสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นในเดือนตุลาคมปี 2561 ใช้เวลาเพียงแค่ 8 เดือนหลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว

จากการวิจัยทางการตลาดโดยกันตาร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 GrabFood ขึ้นแท่นเป็นแพลตฟอร์มการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นอันดับ 1 ของผู้บริโภคในไทย โดย 44 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคลงคะแนนให้ Grab Food เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคนิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นแพลตฟอร์มบริการส่งอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้บ่อยที่สุด

คนไทยดื่ม “ชานมไข่มุก” มากสุดในอาเซียน 6 แก้ว/คน/เดือน

9

ภาพจาก bit.ly/2O8gk0R

นอกจากนี้ ยังมีรายงานข้อมูลจาก Grab เกี่ยวกับการดื่ม “ชานมไข่มุก” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ว่า

  • ผู้บริโภคชาวไทยดื่มชานมไข่มุกมากที่สุดในอาเซียน ประมาณ 6 แก้ว/คน/เดือน
  • ผู้บริโภคฟิลิปปินส์ดื่มประมาณ 5 แก้ว/คน/เดือน
  • เฉลี่ยรวมผู้บริโภคอาเซียน ดื่มชานมไข่มุก 4 แก้ว/คน/เดือน
  • ผู้บริโภคอาเซียนสั่งชานมไข่มุกทางออนไลน์ เพิ่มขึ้น 3,000% ในปี 2018
  • ชานมไข่มุกที่ผู้บริโภคอาเซียนนิยมสั่งซื้อมากที่สุด คือ รสเฮเซลนัท
  • ช่วงเวลากลางวัน (เที่ยง) เป็นช่วงที่ผู้บริโภคอาเซียนนิยมสั่งซื้อชานมไข่มุก

คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/35IGy36

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช