กรณีศึกษา “มินิบิ๊กซี” ไม่ไปต่อในระบบแฟรนไชส์

ปัจจุบันการแข่งขันของ ธุรกิจค้าปลีก มีความร้อนแรงต่อเนื่องทุกเซ็กเมนต์ ไม่เพียงการแย่งชิงมัดใจลูกค้าที่เป็นฐานหลักสำคัญ แต่ยังรวมถึงการแย่งชิงพื้นที่สำหรับการยึดสมรภูมิทำเลที่ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด

โดยเฉพาะค้าปลีกไซส์เล็ก หรือร้านสะดวกซื้อ ที่เป็นโมเดลที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในเวลานี้ แม้ว่าเจ้าตลาด 7-Eleven จะสยายปีกทิ้งห่างบรรดาคู่แข่งในตลาดไปหลายเท่าตัว แต่โอกาสทางธุรกิจและช่องว่างของตลาดค้าปลีกไซส์เล็ก

กลับไม่ได้ลดน้อยลงไป เห็นได้จากที่ผ่านมาค้าปลีกรายใหญ่ ต่างเข้ามาลงแข่งขันขันในสนามของร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มิติบิ๊กซี โลตัสเอ็กซ์เพรส CJ Express แฟมิลี่มาร์ท เจมาร์ท เป็นต้น

ธุรกิจค้าปลีก

ภาพจาก goo.gl/sHKt3f , goo.gl/sCxxoG

เมื่อธุรกิจประเภทไหนมีการแข่งขันกันสูง ใครที่มีระบบที่แข็งแกร่ง มีความชำนาญ มีความเป็นมาตรฐาน ก็จะสามารถยืนหยัดอยู่รอดในสมรภูมิการค้าได้ แต่ถ้าใครไม่มีความชำนาญ ไม่มีระบบที่เป็นมาตรฐาน ก็จะอยู่รอดยาก

เหมือนเช่นกรณีของ “มินิบิ๊กซี” ที่เป็นโมเดลธุรกิจร้านสะดวกซื้อของ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จํากัด (มหาชน) ได้มีกระแสข่าวออกมาว่า บริษัทฯ จะหยุดขายแฟรนไชส์ “มินิบิ๊กซี” เพื่อกลับมาตั้งหลักใหม่

เตรียมความพร้อมของตัวเองให้แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐานกว่าเดิม พัฒนาระบบหลังบ้าน-ทีมงานใหม่ รับมือการขยายตัวสู้ศึกค้าปลีกอีกรอบ พร้อมเบนเข็มทดลองฟอร์แมตค้าปลีกโมเดลใหม่ๆ ย่อสเกลสาขาบิ๊กไซส์รับไลฟ์สไตล์ลูกค้าเปลี่ยน

12

ภาพจาก goo.gl/F8bmnq

การหยุดขายแฟรนไชส์ “มินิบิ๊กซี” ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ผ่านมา www.ThaiSMEsCenter.com ได้เห็นร้านมินิบิ๊กซีปิดสาขาไปจำนวนไม่น้อยในหลายพื้นที่ เพราะแข่งขันกับคู่แข่งไม่ได้ ที่สำคัญสินค้าไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเท่ากับ 7-Eleven รวมถึงร้านสะดวกซื้ออื่นๆ จึงทำให้บางสาขาของมินิบิ๊กซีต้องปิดกิจการ

ปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการไม่ขายแฟรนไชส์มินิบิ๊กซีเป็นการชั่วคราว โดยเฉพาะเรื่องของความไม่เชี่ยวชาญในโมเดลธุรกิจไซส์เล็กๆ ของบริษัทบิ๊กซีฯ รวมถึงการสร้างระบบแฟรนไชส์ยังไม่แข็งแกร่งเป็นมาตรฐานดีพอ

13

ภาพจาก goo.gl/rvxXTX

นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุที่ทำให้บริษัท บิ๊กซีฯ หยุดขายแฟรนไชส์ชั่วคราว แต่บริษัทยังจะเป็นผู้ลงทุนเปิดสาขาใหม่เอง มาจากกรณีพาร์ทเนอร์แฟรนไชส์ซีอย่าง บริษัทบางจากฯ ได้พิจารณาไม่ขยายแฟรนไชส์มินิบิ๊กซีในสถานีบริการน้ำมันอีกต่อไป กล่าวคือ ไม่ต่อสัญญาแฟรนไชส์ เปลี่ยนโมเดลการขยายซูเปอร์มาร์เก็ตแบรนด์”สพาร์” ในปั้มบางจากแทน เพราะ

  1. มินิบิ๊กซีไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมถึงบริษัท บิ๊กซีฯไม่มีความเชี่ยวชาญในการขยายซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก
  2. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ มีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ และมีความเป็นไปได้ ที่บริษัทแม่ในต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศที่ทำรายได้ให้มากกว่า

ส่วนกรณีที่ บางจากมีสัญญาร่วมกันกับบิ๊กซี ในทางปฏิบัติสามารถยกเลิกได้ หากทั้ง 2 ฝ่ายมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจุบันมินิบิ๊กซีอยู่ในปั้มน้ำมันบางจากประมาณ 166 แห่ง และยังคงดำเนินการต่อไปจนกว่าจะหมดอายุสัญญา

14

ภาพจาก goo.gl/pLThaa

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทบิ๊กซีฯ ได้ออกแพ็กเกจราคาขายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “มินิบิ๊กซี” 3 รูปแบบ คือ เงินลงทุนระดับราคา 1-2 ล้านบาท, ระดับราคา 2-3 ล้านบาท และระดับราคา 3-4 ล้านบาท และสัดส่วนการแบ่งกำไรขั้นต้น คือ บริษัทบิ๊กซีฯ เจ้าของแฟรนไชส์ได้ 27% จากกำไรขั้นต้น และอีก 73% เป็นของผู้ซื้อแฟรนไชส์ อายุสัญญาแฟรนไชส์ 9 ปี

ปัจจุบันบิ๊กซีมีสาขารวมทั้งหมดประมาณ 900 สาขา แบ่งเป็นรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต 40 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 60 สาขา มินิบิ๊กซี 700 สาขา และร้านเพียว 100 สาขา

11

ภาพจาก goo.gl/CEGNMu

จะเห็นได้ว่า การหยุดขายแฟรนไชส์ของมินิบิ๊กซี เกิดจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อมินิบิ๊กซี ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแม่บ้าน ที่ซื้อของเข้าบ้าน ที่สำคัญบริษัทบิ๊กซีฯ ได้ประเมินตัวเองว่า

ระบบแฟรนไชส์ของตัวเองยังไม่แข็งแกร่งดีพอ โดยเฉพาะเรื่องของบุคลากร และระบบหลังบ้าน ที่จะต้องพัฒนาให้มีมาตรฐานมากขึ้น เหมือนกับระบบแฟรนไชส์ 7-Eleven ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของระบบแฟรนไชส์


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

v1

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/q7qi6M
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน goo.gl/NQC91r

แหล่งข้อมูล https://goo.gl/khoji8

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3aZz7XM

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช