Sephora Kid เทรนด์เด็กหญิงแต่งหน้าเป็นสาว กระแสหรือแผนการตลาด?

ไม่รู้ว่าเรื่องนี้มันเป็นแค่กระแสฮิตที่คนเอามาทำตามเอง? หรือที่จริงแล้วเกิดจาก “แผนการตลาด” อันแยบยลของแบรนด์เครื่องสำอาง เราลองมาวิเคราะห์กันดูว่าความจริงคือแบบไหนกันแน่

ถ้าใครที่เล่น TikTok เชื่อว่าต้องเคยเห็น “Sephora Kid” ซึ่งก็คือเทรนด์ฮิตที่บรรดาเด็กๆ หันมาแต่งหน้าสวยๆ ด้วยเครื่องสำอางเพื่อให้ดูเป็นสาวมากขึ้น

เรื่องนี้มีที่มาที่ไปจากบรรดา Gen Alpha ในอเมริกา ซึ่งกลุ่ม Gen Alpha ที่ว่านี้คือนิยามที่ใช้เรียกผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันก็มีอายุมากสุดเพียง 13-14 ปีเท่านั้น และการหันมาแต่งหน้าสวยๆ ด้วยเครื่องสำอางเพื่อให้ดูโตเกินวัยจนแพร่หลายใน TikTok ได้ขยายวงกว้างจากในอเมริกาไปถึงประเทศอื่น เป็นที่มาของเทรนด์ที่ชื่อว่า “Sephora Kid”

ซึ่งคำว่า Sephora คือร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นนำสัญชาติฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จและมีสาขาทั่วโลก โดย Sephora Kid ก็เป็นคำใช้เรียกเด็กๆ อายุน้อยอย่าง Gen Alpha ที่มักเข้าไปซื้อเครื่องสำอางและสกินแคร์ใน Sephora นั่นเอง

Sephora Kid

ภาพจาก https://citly.me/YcbtU

ถ้าเรามาดูว่ามูลค่าตลาดเครื่องสำอางในกลุ่ม Gen Alpha เป็นอย่างไรจะพบว่า

  • คาดว่า ปี 2028 มูลค่าตลาดจะเพิ่มเป็น 380 ล้านดอลลาร์ (ราว 13,500 ล้านบาท)
  • คาดว่า ปี 2028 กลุ่ม Gen Alpha ทั่วโลกจะอยู่ที่ราว 160 ล้านคน
  • มูลค่าตลาดสินค้า Gen Alpha จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.46 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 195 ล้านล้านบาท) ในปี 2029
  • ประเมินว่ามูลค่าตลาดเครื่องสำอางและครีมทาหน้าทาผิวสำหรับ Gen Alpha ทั่วโลกที่จะโตต่อเนื่องปีละ 7.71%

จะเห็นว่าแนวโน้มธุรกิจเครื่องสำอางในกลุ่ม Gen Alpha ทิศทางน่าสนใจมาก เหตุผลมาจากอะไรวิเคราะห์ได้หลายแนวทาง อาจเป็นเพราะการที่เด็กกลุ่ม Gen Alpha เกิดมาพร้อมสื่อโซเชี่ยลบางคนเรียกว่าเล่นโทรศัพท์เป็นก่อนที่จะพูดได้ด้วยซ้ำ ก็นำไปสู่การสัมผัสสินค้าและคอนเท้นต์จนถึงขั้นที่ซึมลึกอย่างไม่รู้ตัว

หรือการที่คนใน Gen อื่นๆ ไม่ว่าจะ Gen Z (อายุระหว่าง 14 – 27) Gen X (อายุระหว่าง 44- 70 ปี) คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นพี่น้อง พ่อแม่ ญาติสนิท มักเอาใจเหล่า Gen Alpha และต้องการให้ลูกหลานดูสวยดูดี ก็นำไปสู่เทรนด์ Sephora Kid ได้เช่นกัน

Sephora Kids

ภาพจาก https://citly.me/4gtpa

เมื่อโอกาสมาถึงขนาดนี้มีหรือที่บรรดาแบรนด์เครื่องสำอางจะพลาด เราจึงได้เห็นหลายแบรนด์ขยับตัวพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์กลุ่ม Gen Alpha มากขึ้น ดังตัวอย่างเช่น

  • Dunk Elephant ซึ่งเป็นครีมสำหรับ Gen Alpha ที่ทาง Shiseido ทุ่มเงินกว่า 845 ล้านดอลลาร์ (ราว 30,000 ล้านบาท)ซื้อมาเป็นแบรนด์ในเครือเมื่อปี 2019
  • แบรนด์ e.l.f ที่ฮิตมากในหมู่ Gen Alpha ก็มียอดขายที่โตขึ้นถึง 203%

รวมถึงอีกหลายแบรนด์เครื่องสำอางที่ตอนนี้ได้พัฒนาสินค้ามาตอบโจทย์กลุ่ม Gen Alpha มากขึ้น นอกจากการเติบโตเพิ่มยอดขายของแบรนด์แล้วบรรดา Skinfluencer ที่เป็นกลุ่ม Gen Alpha ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มมากด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดีกระแส Sephora Kid นี้ก็มีหลายฝ่ายที่วิตกว่าจะทำให้ “เด็ก” กลายเป็นเหยื่อทางการตลาด หรือวิเคราะห์มองลึกไปว่า จะมีผลเสียต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาวหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ การที่ให้เด็กซึ่งยังถือว่าเป็นวัยน่ารักสดใส และในกรณีที่พ่อแม่ตามใจลูกมาก การแต่งหน้าที่อาจจะเกินวัย ย่อมนำมาสู่ค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่มากขึ้นด้วย

ดังนั้นหากจะให้เรื่องนี้บาลานซ์มากที่สุด คือพ่อแม่ต้องคอยใกล้ชิดและให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่บุตรหลาน สอนให้รู้จักคุณค่าของเงิน และรู้จักการหาเงินอย่างถูกต้อง เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เก่งและสวยได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด