รวม 10 อาชีพเพื่อคน “ตาบอด” พร้อมสร้างรายได้! ให้ครอบครัว

ความบกพร่องทางร่างกายไม่ว่าทางใดทางหนึ่งไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องหมดโอกาสไปตลอดชีวิต สำคัญคือ เราต้องมีกำลังใจที่พร้อมจะเดินหน้าต่อ โดยเฉพาะกับผู้พิการทางสายตา ที่แม้จะมองไม่เห็นแต่ชีวิตนี้ยังมีโอกาสประสบความสำเร็จได้

ซึ่งในทางการแพทย์ คนที่บกพร่องทางการมองเห็นหมายถึงผู้ที่มองไม่เห็น หรือ พอเห็นแสง เห็นเลือนลาง และมีความบกพร่องทางสายตา ทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนปกติ

www.ThaiSMEsCenter.com ต้องการเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นได้ลุกขึ้นสู้และเราได้รวบรวมข้อมูลน่าสนใจที่ระบุชัดเจนว่ามีหลายอาชีพที่คนบกพร่องทางการมองเห็นสามารถทำเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

1.จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล

อาชีพเพื่อคนตาบอด

เป็นอาชีพที่คนทั่วไปก็ให้การอุดหนุนแก่กลุ่มผู้พิการเพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้มีรายได้สำหรับเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ข้อมูลระบุว่ามีผู้พิการทางสายตาที่จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ประมาณ 10,000 คน (ข้อมูลตามที่ลงทะเบียน) และมีผู้พิการ(ไม่ใช่เฉพาะสายตา) ลงทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 1,600,000 ราย ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้จัดสรรสลากผู้พิการรายย่อยกว่า 5,300 ราย และมูลนิธิ สมาคมและองค์กรผู้พิการที่ได้รับการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงการกุศล อีกกว่า 250 แห่ง โดยมีรายได้จากส่วนลดการจำหน่ายสลาก ร้อยละ 7 – 9 ก่อให้เกิดรายได้โดยรวม ไม่น้อยกว่า 56,043,400 บาทต่องวด หรือประมาณเกือบ 1,345,041,600 บาทต่อปี

2.ช่างทำเฟอร์นิเจอร์ / ช่างไม้

อาชีพเพื่อคนตาบอด

ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอดของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ถือเป็นสถานที่ฝึกอาชีพสำหรับผู้ที่พิการทางสายตา ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาได้สามารถมีอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ซึ่งอาชีพช่างไม้ก็ได้รับความสนใจอย่างมาก มีหลายผลิตภัณฑ์ที่ฝึกงานเช่น โต๊ะสนาม ตู้เสื้อผ้า เตียงนวดแผนไทย เป้าหมายของการฝึกสอนคือต้องการอบรมและเพิ่มทักษะให้ผู้พิการทางสายตานำไปประกอบอาชีพ สามารถผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว

3.นวดแผนไทย

อาชีพเพื่อคนตาบอด

ที่ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอดของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยมีการฝึกอบรมผู้พิการทางสายตาหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคืออาชีพนวดแผนไทย ที่ข้อมูลจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยระบุว่ามีผู้พิการทางสายตาประกอบอาชีพนี้อยู่ประมาณ 30,000 คน และถือเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยผู้พิการทางสายตาจะได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการนวดที่ถูกต้องตามหลักและมีการออกใบอนุญาติให้อย่างถูกต้องด้วย รวมถึงให้ผู้พิการทางสายตาที่ผ่านการฝึกอบรมเข้าทำงานในสถานที่ต่างๆที่เข้าร่วมโครงการกับศูนย์ฝึกได้ทันที

4.นักร้อง / นักดนตรี

อาชีพเพื่อคนตาบอด

เราต้องยอมรับว่าผู้พิการทางสายตาบางคนมีความสามาถสูงมาก หลายคนสามารถเป็นนักร้อง นักดนตรีมืออาชีพได้เลยทีเดียว ข้อมูลจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยระบุว่ามีผู้พิการทางสายตาที่เป็นนักร้องนักดนตรีในที่สาธารณะ ประมาณ 5,000 คน ซึ่งในต่างประเทศก็มีตัวอย่างความสำเร็จของผู้พิการทางสายตาที่กลายมาเป็นนักดนตรีระดับโลกหลายคนเช่น Stevie Wonder นักดนตรีบรรเลงที่มีทักษะการใช้เปียโนขั้นสูง หรือ Andrea Bocelli นักดนตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งโอเปราที่มองไม่เห็นมาตั้งแต่อายุ 12 ปี เป็นต้น

5.โปรแกรมเมอร์

อาชีพเพื่อคนตาบอด

ความบกพร่องทางการมองเห็นไม่ได้ทำให้หมดโอกาสในการทำงานด้านไอที มีหลายคนที่ประสบความสำเร็จจากการเป็นโปรแกรมเมอร์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการฝึกฝนทักษะเฉพาะทางเพื่อให้ทำงานด้านนี้ได้ อย่างไรก็ดีผู้พิการที่ได้ผ่านการฝึกฝนอบรมสามารถเขียน code เตรียม source ต่างๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ในการใช้งาน สามารถคนพูดคุยกับลูกค้าเพื่อวิเคราะห์และออกแบบการทำงาน ออกแบบโปรแกรมได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ยกเว้นเพียงแค่ด้านการออกแบบความสวยงามเท่านั้นที่ต้องดึงทีมดีไซเนอร์มาช่วยเพื่อความสมบูรณ์มากขึ้น

6.ช่างซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์

อาชีพเพื่อคนตาบอด

ผู้บกพร่องทางการมองเห็นหลายคนมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรถ หรือซ่อมนาฬิกา แม้แต่ในศูนย์ฝึกก็มีหลักสูตรนี้ให้เรียนรู้เพราะสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้จริง และมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จสร้างรายได้อย่างดี ช่างซ่อมที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นส่วนใหญ่จะมีวิธีการทำงานที่ละเอียดและใส่ใจงานของลูกค้าอย่างมาก ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามีงานซ่อมต่างๆเข้ามาให้ทำอย่างต่อเนื่อง

7.งานศิลปะ

อาชีพเพื่อคนตาบอด

เราเห็นศิลปินหลายคนมีความบกพร่องทางการมองเห็น แต่ไม่อาจปิดกั้นความสามารถด้านศิลปะที่เป็นจุดเด่นได้ ศิลปินหลายคนสามารถสร้างสรรค์ภาพวาดที่สวยงามและสามารถขายได้ในราคาสูงมาก แม้แต่ในเวทีศิลปะระดับโลกก็มีตัวอย่างความสำเร็จหลายคนเช่น John Bramblitt ผู้ที่มองไม่เห็นและต้องใช้เวลากว่า 1 ปีเอาชนะความสิ้นหวัง และเริ่มฝึกทำงานศิลปะ จนกลายเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ภาพวาดที่มีชื่อเสียง และจุดประกายไอเดียให้กับคนพิการอีกจำนวนมากได้ลุกขึ้นสู้อีกครั้ง

8.นักกีฬาทีมชาติ

นอกจากคนปกติทั่วไปคนพิการหรือบกพร่องทางร่างกายก็สามารถเป็นนักกีฬาทีมชาติและได้โอกาสในการแข่งขันระดับโลกอย่างเช่นพาราลิมปิก เกมส์ ที่ตอนนี้มีนักกีฬาหลายคนที่มีความบกพร่องแต่มุ่งมั่นตั้งใจฝึกซ้อม เอาชนะความสิ้นหวัง ก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ และได้รับชื่อเสียง เงินทองมากมาย เช่นนักฟุตบอลที่พิการทางสายตา ซึ่งในการแข่งขันจะใช้ลูกบอลที่มีเสียง เพื่อให้นักเตะแต่ละคนรู้ว่า ลูกฟุตบอลอยู่ตรงไหนของสนาม แน่นอนว่าจำเป็นต้องมีการฝึกฝนอย่างหนักแต่ผลจากความพยายามที่ได้ก็ถือว่าคุ้มค่าและสามารถสร้างชื่อเสียงเงินทองได้

9.ทำขนม / อาหาร

56

สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นแต่มีความสามารถด้านการทำอาหาร สามารถสร้างเป็นอาชีพได้เช่นกัน มีหลายคนที่ประสบวามสำเร็จ นอกจากการทำอาหาร ทำขนมส่งขายตามร้าน ในสมัยนี้อาจทำขายในแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ด้วย แต่อย่างไรก็ดีการทำอาหารและขนมจำเป็นต้องมีผู้ช่วยแต่หากผู้พิการทางสายตามีสูตรเมนูอาหารที่อร่อย จะกลายเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงและรายได้ที่ดีอย่างมาก

10.งานแฮนด์เมด

52

มีหลายโครงการที่พร้อมฝึกอบรมผู้พิการทางสายตาให้สามารถสร้างรายได้จากงานแฮนด์เมด เช่น โครงการ “ปักจิตปักใจ” สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ผู้พิการทางสายตา ผ่านงานฝีมือที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความงดงาม ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นงานผ้าหลากหลายรูปแบบ ที่สามารถให้เป็นของขวัญของฝากแก่ผู้รับได้เป็นอย่างดี

รวมถึงยังมีการฝึกฝนงานแฮนด์เมดเพื่อผู้พิการทางสายตาในรูปแบบอื่นอีกมากมายด้วย ในปัจจุบัน มีหลายหน่วยงานให้การดูแลและส่งเสริมการดำรงชีพของผู้พิการ เช่นหน่วยงานหลักอย่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลคนพิการราว 1,300,000 คนทั่วประเทศ ในอัตราคนละ 800 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้กู้เงินเพื่อประกอบอาชีพรายละไม่เกิน 40,000 บาท โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน องค์กรมูลนิธิต่างๆ อีกมากมาย ที่ให้การสนับสนุนและเป็นกำลังใจในด้านต่างๆ แต่ปัญหาของผู้พิการที่แท้จริงคือโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ยังไม่ดีนัก อาจทำให้ผู้พิการทางสายตาถูกจำกัดอาชีพหรือความสามารถต่างๆ และสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนมักมองว่าผู้พิการทางสายตามีอาชีพที่จำกัดเพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งที่จริงผู้พิการทางสายตาทำได้ทุกอย่าง ในต่างประเทศจะพบว่าผู้พิการทางสายตาประสบความสำเร็จในหลากหลายอาชีพ เช่นเป็นนักกฎหมาย ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา เป็นต้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3clGQ73 , https://bbc.in/3PXe36g , https://bit.ly/3Q1RrBD , https://bit.ly/3wFPILB , https://bit.ly/3PXhN7V , https://bit.ly/3CIU7S1 , https://bit.ly/3cqeTuL , https://bit.ly/3wsyRfh , https://bit.ly/3RgY0lb , https://bit.ly/3B3GThv , https://bit.ly/3QSX2LY

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pVph0I


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด