5 ข้อคิดการทำธุรกิจจากปรากฏการณ์ นมอัดเม็ด-ไมโลก้อน

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นฮือฮาเล็กๆเกี่ยวกับ สินค้ามาใหม่ ที่คนไทยมักจะตื่นตัวและตื่นตูมกันเป็นธรรมดากับเจ้าไมโลก้อนหรือที่ในทางตลาดเรียกสินค้านี้ว่า Milo Energy Cube ถึงขนาดที่ขนาดมีการปั่นราคาจากหลักร้อยต้นๆ กลายเป็นเกือบถึงหลักพัน

สิ่งที่ทำให้สินค้าอย่างไมโลก้อนที่ความจริงก็ไม่น่าจะแปลกใหม่อะไรนักหนาแต่ด้วยความที่เป็นของใหม่คนไทยไม่เคยลองและยังไม่มีวางขายในเมืองไทยจึงกลายเป็นกระแสที่แว่วมาว่าในมาเลเซียเองที่ผลิตสินค้าตัวนี้มียอดการผลิตที่แทบจะไม่ทันกับการซื้อ

ซึ่งความจริงแล้วเจ้าไมโลก้อนที่ว่านี้มีฐานการผลิตจริงๆอยู่ที่ไนจีเรียแต่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ และหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนก็จะเห็นการตลาดที่คล้ายคลึงกันนี้กับนมอัดเม็ดของสวนดุสิตที่มีลูกค้าทัวร์จีนเข้ามาเที่ยวเมืองไทยและติดใจนมอัดเม็ดดังกล่าวและกว้านซื้อกลับประเทศกันจำนวนมากในช่วงหนึ่งถึงกับทำให้ของเกือบขาดตลาด

www.ThaiSMEsCenter.com ดูเรื่องราวของสินค้า 2 ตัวนี้ ก็เห็นว่าหากในอนาคตใครก็ตามที่อยากทำธุรกิจตัวเองแล้วต้องเจอกับปัญหาสินค้าบูมสุดขีดแบบนี้ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องน่ายินดีแต่หากไม่มีวิธีรับมือที่ดีจากดาวรุ่งอาจกลายเป็นดางร่วง ดังนั้นลองมาดู 5 วิธีที่เราได้เรียนรู้การทำธุรกิจจากปรากฏการณ์ของนมอัดเม็ดและไมโลก้อนกันสักหน่อยดีกว่า

1.ต้องค้นหาจุดสูงสุดของกำลังการผลิต

สินค้ามาใหม่

ก่อนตัดสินใจเปิดตัวสินค้าใดออกไป เราควรประเมินศักยภาพกำลังการผลิตไว้ตั้งแต่ต้นว่าเราสามารถผลิตสินค้าได้ประมาณวันละเท่าไหร่ และหากสูงที่สุดหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะสามารถทำได้ที่เท่าไหร่ ต้องใช้วิธีการเตรียมการอย่างไร เพื่อให้สามารถเพิ่มการผลิตได้ ศึกษาไว้เป็นข้อมูลเก็บไว้ เพื่อวันหนึ่งที่อาจฉุกละหุกจะได้ตั้งรับได้ทัน

ซึ่งการกำลังการผลิตที่ว่านั้นหมายถึงองค์ประกอบทุกอย่างที่ใช้ในกระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ แรงงานคน ประสิทธิภาพของเครื่องจักร รวมไปถึงรายละเอียดเสริมเล็กๆ น้อยๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้หีบห่อ ศักยภาพการขนส่ง และที่สำคัญ คือ เงินทุนหมุนเวียน

2.รู้จักการวางแผนการขายและกำลังการผลิตให้สอดคล้องกัน

ty6

ในการทำธุรกิจแน่นอน ใครๆ ก็อยากขายสินค้าหรือบริการ ยิ่งขายดี ก็ยิ่งอยากทำออกมาขายเยอะๆ อีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าแผนการขายหรือการทำตลาดออกไป ควรทำให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตที่สามารถรับได้จริงด้วย

เพราะหากสินค้าได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นมา แต่ไม่สามารถผลิตออกมาได้ทันตามความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค มีความล่าช้ามากกว่าปกติ จากผลดีอาจกลายเป็นผลร้ายได้

3.สามารถเรียงลำดับความสำคัญทางการตลาดได้

ty5

แม้จะเตรียมวางแผนมาไว้อย่างดี แต่บางทีโอกาสก็มักจะมาแบบไม่ให้เราได้ทันตั้งตัว ฉะนั้นหากขายดีจริงๆ แต่ไม่สามารถผลิตได้ทัน อาจลองใช้วิธีให้สั่งจองไว้ล่วงหน้า พร้อมเงินมัดจำ กำหนดระยะเวลาการผลิตที่แน่นอน เรียงลำดับเป็นคิวๆ ไปก็น่าจะพอช่วยได้ แต่หากคิดว่าได้ทำทุกอย่างเต็มกำลังสุดความสามารถแล้ว ก็ยังไม่สามารถผลิตให้ได้ทัน ควรรีบแจ้งกับลูกค้าได้ทราบ เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน

หรือหากไม่สามารถรอได้ จะได้ไม่เป็นการทำให้ลูกค้าเสียเวลารอ ดีกว่ารับปากไว้ทุกอย่าง แต่สุดท้ายทำไม่ได้ เพราะเมื่อเทียบกับยอดขายที่อาจหายไปแล้ว น่าจะคุ้มกว่าการเสียชื่อเสียงหรือความไว้วางใจระยะยาว

4.ไม่ควรเร่งผลิตสินค้ามากจนเกินไปป้องกันปัญหาสินค้าล้นสต๊อก

ty3

เมื่อเห็นว่าสินค้าขายดี ควรรอดูเวลาอีกสักระยะหนึ่ง เพื่อหาความน่าจะเป็นจากความต้องการที่แท้จริง หรือค่อยๆ เพิ่มการผลิตขึ้นทีละนิดๆ เพราะถึงแม้จะขายดียังไง แต่วันหนึ่งยอดขายก็ต้องลดน้อยลงมากกว่าช่วงแรกอยู่ดี อยู่ที่ว่าจะลดลงมาเหลือเท่าไหร่

เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จากสินค้าขายดี อาจกลายเป็นสินค้าค้างสต๊อกจำนวนมากก็เป็นไปได้ และเมื่อสินค้าค้างสต็อกมากๆก็เท่ากับต้นทุนของเราไปจมอยู่ในนั้น สุดท้ายเราอาจได้ไม่คุ้มเสียก็เป็นได้

5.ตั้งสติให้ดีและเลือกทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด

ty4

ในการทำธุรกิจ โอกาสอาจเป็นสิ่งสำคัญที่ใครหลายคนอยากได้ แต่สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเราต้องการจะเลือกสิ่งใดมากกว่า เพราะถึงแม้เราจะทำตามโอกาสที่เข้ามาได้

แต่หากต้องแลกกับหลายสิ่งที่ลองเอามาชั่งน้ำหนักดูแล้ว กลับเสียมากกว่าได้ ทั้งคุณภาพ หรือการโหมงานที่หนักเกินไป การเลือกที่จะอยู่นิ่งๆ ไปก่อน ทำตามแผนที่ได้วางไว้ เตรียมตัวให้พร้อม และค่อยเริ่มต้นใหม่ก็ได้ หากเราเชื่อมั่นและคิดว่าทำดีแล้ว ยังไงก็ต้องดี เราอาจไม่ได้ยอดขายถล่มทลาย แต่อาจกลายเป็นที่จดจำ กล่าวขวัญไปในระยะยาว

ty1

ก็ถือว่าเป็นบทเรียนที่ดีถึงแม้จะไม่ใช่ประเด็นใหญ่โตนักแต่ก็พอทำให้เราฉุกคิดได้ว่าวิถีทางของธุรกิจนั้นใช่ว่าจะพลีพลามหรือเดินลุยไปข้างหน้าแบบไร้แผนการมารองรับ ธุรกิจที่ดีต้องมีแผนสำรองในกรณีฉุกเฉินเพื่อให้ลดความเสี่ยง

และแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้เสียหายต่อภาพรวมของธุรกิจได้ดีที่สุดสำหรับใครก็ตามที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองควรศึกษาวิธีการทางตลาดเหล่านี้ในหลากหลายรูปแบบจะได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มากพอที่จะขับเคลื่อนธุรกิจตัวเองให้มีประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุด

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณรูปภาพจาก goo.gl/SiOdy7 , goo.gl/hVreqG

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด