15 ข้อ ถ้าตอบไม่ได้! อย่าเปิดร้านอาหาร

ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 มีแนวโน้มเติบโต 5.4% ด้วยมูลค่า 3.85 แสนล้านบาท ถ้าวิเคราะห์เจาะลึกลงไปพบว่า การเปิดร้านอาหารคือธุรกิจที่คนสนใจมากที่สุดเพราะอาหารคือหนึ่งในปัจจัยดำรงชีวิตที่สำคัญ

แต่ใช่ว่าคิดเปิดร้านอาหารแล้วจะมีกำไรได้ทุกคน www.ThaiSMEsCenter.com ต้องการให้วางแผนดีๆ คิดให้รอบคอบ รอบด้าน โดยเฉพาะในยุคที่ค่าครองชีพแพงแบบนี้ เราจึงควรตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อน ถ้าคิดจะมีธุรกิจร้านอาหาร

1.ชอบทำอาหารหรือเปล่า?

อย่าเปิดร้านอาหาร

ต้องถามตัวเองก่อนว่าทำไมถึงอยากเปิดร้านอาหาร เพราะเราเป็นคนชอบกิน ชอบทานอาหาร หรือเพราะว่าเห็นคนอื่นทำแล้วขายดี อะไรก็ตามที่ทำเพราะใจรักมักทำได้ดีเสมอ เช่นคนที่รักการทำอาหารก็จะคิดและต่อยอดเมนูต่างๆ และมีความสุขความสนุกกับการได้ทำอาหาร แม้จะเจอปัญหาในการทำงานบ้างแต่ด้วยความชอบและใจรักที่อยากทำก็จะก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ได้ ถือเป็นคำถามแรกที่สำคัญที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน

2.จะเลือกขายอาหารประเภทไหน?

14

ถ้าตัดสินใจเปิดร้านขายอาหารแน่นอนก็ต้องตอบได้เหมือนกันว่าเราจะขายอะไร เลือกกลุ่มลูกค้าแบบไหน เพราะอาหารมีหลายประเภทเช่นอาหารตามสั่ง , ร้านก๋วยเตี๋ยว , ร้านสเต็ก , ร้านข้าวมันไก่ , ร้านข้าวขาหมู เป็นต้น ซึ่งอาหารแต่ละประเภทก็มีฐานลูกค้าที่นิยมในเมนูนั้น ๆ ยังไม่นับรวมเรื่องสูตรเด็ดเคล็ดลับของการทำอาหารที่ต้องให้มีความพิเศษ มีเอกลักษณ์ของตัวเองเพื่อสร้างจุดขายได้มากขึ้น

3.คอนเซ็ปต์ของร้านคืออะไร?

20

ร้านอาหารที่มีคอนเซ็ปชัดเจนแต่แรก จะช่วยให้การวางแผนขั้นตอนอื่น ๆ ง่ายขึ้นมาก ตั้งแต่เรื่องจัดสรรงบลงทุน สไตล์การออกแบบร้าน การเลือกรูปแบบตกแต่งร้าน การเลือกแสง สี เสียง บรรยากาศภายใน ภายนอกร้าน โต๊ะเก้าอี้ ชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ ยูนิฟอร์มพนักงาน รูปแบบการให้บริการ การคัดเลือกพนักงาน การออกแบบเมนูอาหาร การตกแต่งจัดจานอาหาร การตั้งชื่อเมนูอาหาร การกำหนดราคาอาหาร ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญกับธุรกิจร้านอาหารอย่างมาก

4.จะตั้งชื่อร้านว่าอะไร?

7

ปัจจุบันธุรกิจต้องมีความโดดเด่นแม้แต่ร้านอาหารซึ่ง “ชื่อร้าน” คือสิ่งแรกที่ลูกค้ารับรู้เทคนิคการตั้งชื่อร้านอาหารมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเอาชื่อตัวเองมาตั้ง หรือตั้งชื่อตามทำเลที่อยู่หรือตั้งชื่อโดยอิงกับประเภทสินค้าที่เราขาย และพยายามหลีกเลี่ยงชื่อร้านที่เรียกได้ยาก ไม่คุ้นหู รวมไปถึงชื่อร้านที่คล้ายๆ กับคู่แข่ง รวมถึงต้องไม่ลืมว่าชื่อร้านต้องให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในแง่ของการประชาสัมพันธ์ในอนาคตได้ด้วย

5.จะเลือกเปิดร้านที่ไหน?

6

การเลือกทำเลนั้นไม่มีสูตรตายตัวว่าต้องเป็นทำเลแบบนั้นแบบนี้ถึงจะดีที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงคือกลุ่มลูกค้าหลักที่อยู่ในรัศมีโดยรอบของร้าน ที่จะเป็นฐานลูกค้าสำคัญที่สุดควรเน้นดึงกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ก่อนอันดับแรก เมื่อกลุ่มลูกค้าหลักรู้จักเรามากขึ้น ก็จะนำมาซึ่งกลุ่มลูกค้ารองที่อยู่นอกรัศมีของร้านส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มาเพราะกระแสความดัง มาเพราะคนบอกต่อ เป็นต้น

6.มีแผนธุรกิจที่ดีพอไหม?

18

การลงทุนเปิดร้านอาหารยิ่งเป็นร้านขนาดใหญ่ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการตลาด ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการให้บริการ รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน การมีแผนธุรกิจที่ดีทำให้กำหนดทิศทางของร้านอาหารของเราได้ง่ายและมองเห็นภาพรวมของทิศทางการเติบโตในอนาคตได้อีกด้วย

7.มีแหล่งเงินทุนสำรองหรือเปล่า?

2

การลงทุนทำร้านอาหาร เราต้องวางแผนเงินลงทุนตั้งต้นช่วงก่อนเปิดร้าน เช่น เงินมัดจำค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง ค่าอุปกรณ์ครัว ค่าวัตถุดิบในตอนต้น ค่าโฆษณาและต้องเผื่องบประมาณฉุกเฉินไว้อีก 10% เพราะมักมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือแผนเสมอ

เช่น ค่าทำกราฟฟิก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้กระทั่งค่าขออนุญาตต่างๆนอกจากนี้ยังต้องมีแหล่งเงินทุนสำรองไว้สำหรับช่วงเปิดร้าน 3 เดือนแรก อย่างน้อยก็ต้องให้เพียงพอกับค่าเช่า เพราะบอกไม่ได้ว่าช่วงแรกที่เปิดร้านจะมีลูกค้ามากน้อยแค่ไหน การวางแผนเงินทุนสำรองจะช่วยให้ร้านผ่านช่วงเวลาในการเริ่มต้นนี้ได้

8.เข้าใจคำว่า “จุดคุ้มทุน” มากแค่ไหน?

5

จุดคุ้มทุนของร้านอาหารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน รูปแบบการบริหารจัดการ ทำเลที่ตั้ง และปัจจัยอื่นอีกมาก คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องเข้าใจเรื่องนี้และมีระยะเวลาที่สามารถรอคอยได้

ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องแผนธุรกิจที่ต้องวางเป้าหมายภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือว่า 1 ปี ร้านอาหารของเราควรอยู่ในจุดไหน บางร้านอาจใช้เวลาในการคืนทุนประมาณ 1-2 ปี หรือถ้าเป็นร้านขนาดเล็กเวลาก็อาจจะน้อยกว่าหรือถ้าขนาดร้านใหญ่มากก็ต้องใช้เวลาไปถึงจุดคุ้มทุนมากขึ้นเช่นกัน

9.รู้วิธีการตั้งราคาขายหรือไม่?

15

ร้านอาหารโดยทั่วไป ต้นทุนอาหารต่อจานอยู่ที่ 30-35% หรือมีกำไรขั้นต้นต่อจานหลังหักต้นทุนวัตถุดิบที่ประมาณ 65-70% สาเหตุที่ต้นทุนอาหารควรอยู่ที่ 30-35% เพราะว่า ค่าใช้จ่ายภายในการทำร้านอาหารไม่ได้มีแค่ต้นทุนอาหารซึ่งหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายต้นทุนอาหารเสร็จแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องหักออกก่อนเหลือเป็นกำไรสุทธิ

เช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าบริหารจัดการ ค่าการตลาดต่างๆ รวมถึงต้องตั้งราคาที่ให้ร้านมีกำไรได้ในระดับหนึ่ง และราคาดังกล่าวต้องไม่ทำให้ลูกค้าหนักใจในการจ่าย จะเรียกว่าเป็นราคาที่เหมาะสมมาก ส่วนใหญ่ในแต่ละร้านจะมีเมนูหลายอย่างและราคาอาหารที่หลากหลายก็เป็นเทคนิคในการตั้งราคาที่ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกรับประทานเมนูที่เหมาะสมกับตัวเองได้

10.เข้าใจการออกแบบแผนผังร้านอาหารดีแค่ไหน?

19

ก่อนคิดเปิดร้านอาหารเราต้องรู้จักวิธีจัดการพื้นที่ในครัว, การเลือกอุปกรณ์ครัวขั้นพื้นฐาน แบบไหนควรมี แบบไหนไม่ควรซื้อ ส่วนหน้าร้านก็ต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่สามารถรับลูกค้าได้มาก ทำยอดขายได้เยอะ ไม่ใช่เน้นแต่ความสวยงาม

รวมถึงการจัดวางรูปแบบโต๊ะ ให้สามารถรับลูกค้าได้ครอบคลุมทุกความต้องการ และต้องไม่ลืมเรื่องประสิทธิภาพของการใช้พื้นที่ในร้านให้พ่อครัวสามารถหยิบจับอุปกรณ์ทำอาหารได้คล่องตัว พนักงานสามารถเสิร์ฟอาหารได้รวดเร็ว เป็นต้น

11.เข้าใจขั้นตอนการขอใบอนุญาติ ?

17

ร้านอาหารก็เหมือนธุรกิจอื่น ๆ จะต้องมีการขออนุญาตดำเนินการเช่นกัน เริ่มด้วยการขอจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเราได้เริ่มประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีสถานที่ตั้งเป็นกิจจะลักษณะมีชื่ออยู่ในระบบของกระทรวงพาณิชย์

ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล และในกรณีต้องการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ต้องขออนุญาตจำหน่ายสุราด้วย อีกกฎหมายที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องทราบก็คือ กฎหมายด้านสาธารณสุข ที่เน้นเรื่องสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร รวมถึงกฎหมายแรงงานที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดด้วย

12.จะหาซื้อวัตถุดิบได้จากที่ไหน?

8

วัตถุดิบคือพื้นฐานสำคัญของการทำร้านอาหาร ไม่ใช่แค่เน้น “ประหยัด” อย่างเดียวแต่ต้องมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ร้านอาหารหลายแห่งมีแหล่งวัตถุดิบของตัวเอง ที่สามารถออร์เดอร์วัตถุดิบได้ตามต้องการ ซึ่งการบริหารจัดการวัตถุดิบเป็นหัวใจหลักของร้านอาหารก็ว่าได้

เช่นดูว่า ของที่ซื้อมาสามารถใช้ประโยชน์ได้ 100% หรือ เกือบ 100% หรือไม่ วัตถุดิบที่เน้นราคาถูกแต่ใช้งานจริงแล้วต้องตัดแต่งส่วนเน่าเสียไปมากก็เรียกว่าอาจไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ควรมีแหล่งวัตถุดิบสำรองในกรณีฉุกเฉินเช่นต้องการใช้วัตถุดิบปริมาณมาก หรือแหล่งวัตถุดิบเดิมมีปัญหาในการจัดส่ง การมีแหล่งสำรองจะทำให้การเปิดร้านอาหารคล่องตัวมากขึ้น

13.ต้องการลงทุนเองหรือเลือกระบบแฟรนไชส์?

4

ปัจจุบันมีระบบแฟรนไชส์ให้เลือกลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจร้านอาหารให้สำเร็จได้รวดเร็วโดยมีแฟรนไชส์น่าสนใจเช่น กะเพราขุนช้าง , ธงไชยผัดไทย , รสเด็ดก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบน , สุขใจใบกะเพรา , ฮิปสเตอร์ สเต็ก , เลอมง ราเมง , สเต็กลุงใหญ่ , ลำแต๊โคเรียนชิกเก้น , โชกุนสเต็ก , เกาเหลาเนื้อ ธัญรส , สเต็กเด็กแนว , ซานตงขาหมู ซุปเปอร์เล้ง

ข้อดีของการลงทุนแฟรนไชส์คือมีแพคเกจลงทุนให้เลือก มีทีมงานมืออาชีพให้คำปรึกษา มีการสอนเทคนิคเปิดร้าน การสนับสนุนวัตถุดิบอุปกรณ์พร้อมเปิดร้าน สามารถต่อยอดสร้างรายได้ทันที ในกรณีที่ต้องการลงทุนเองมีข้อดีคือสามารถสร้างจุดเด่น เอกลักษณ์สินค้าได้ตามต้องการ และในอนาคตมีโอกาสต่อยอดพัฒนาให้เป็นระบบแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ของตัวเองได้

14.จะหาพนักงานได้จากที่ไหน?

11

ขึ้นชื่อว่าร้านอาหารเจ้าของร้านไม่สามารถทำเองได้ทุกอย่าง จำเป็นมากที่ต้องมีลูกจ้าหรือพนักงาน ก็ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะหาลูกจ้างได้จากที่ไหนเพราะการหาพนักงานต้องคำนึงถึงคุณภาพและมีความเหมาะสมในแต่ละหน้าที่เช่นแคชเชียร์ , พนักงานเสิร์ฟ , คนล้างจาน , พ่อครัว เป็นต้น หากได้พนักงานที่เก่งมีความสามารถมีทัศนคติที่ดีก็ทำให้ธุรกิจพร้อมเติบโตได้รวดเร็ว

15.มีแผนสำรองในกรณีฉุกเฉินอย่างไรบ้าง?

16

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงแม้เราจะมีแผนการตลาดอย่างดี สำรวจข้อมูลก่อนเปิดร้าน มั่นใจในสินค้าและบริการอย่างมาก แต่เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจย่อมต้องมีปัญหาตามมาเช่นการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ , กำลังการซื้อที่ลดลง , การตัดราคา , การถูกโจมตีจากคู่แข่ง รวมถึงปัญหาอื่น ๆ อีกมากสิ่งเหล่านี้ควรต้องมีแผนสำรองเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นการคิดและเตรียมแผนเผื่อไว้ล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

คำถามเหล่านี้ล้วนแต่สำคัญและจำเป็น คนอยากเปิดร้านอาหารควรมีคำตอบของคำถามเหล่านี้อยู่ในใจ และไม่ใช่แค่นั้นการลงทุนเปิดร้านก็ควรมีวิสัยทัศน์มีมุมมองการตลาด มีแนวคิดในการต่อยอดที่ดี เพราะทุกการลงทุนมาคู่กับความเสี่ยง จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ก็อยู่ที่แผนดำเนินธุรกิจที่เราควรชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น

สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดร้านค้าขาย , ร้านค้าขนาดเล็ก, SMEs, แฟรนไชส์” และสนใจเช่าพื้นที่ “หน้าโลตัส/ Lotus’s” ทั่วประเทศ คลิก https://forms.gle/V4r1VYTWVU8zdEsWA

หรือธุรกิจใดต้องการสร้างระบบภายในร้าน สามารถใช้บริการ FoodStory
คลิก https://forms.gle/NXsbPMRY9UfitLNM9


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3xXOyfh , https://bit.ly/3xYRsjO , https://bit.ly/3UI8cFH , https://bit.ly/3CcDD3M

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3UPj6cM

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด