จะกลับมามั้ย? เปิดท้ายขายของ ยุคหลัง COVID 19

นับเป็นเวลาถึงตอนนี้ก็ 3 เดือนกว่า นับแต่ต้นปีที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของ COVID 19 จากที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและสถานการณ์ในประเทศไทยน่าจะ “เอาอยู่”

แต่ถึงตอนนี้ ผลกระทบเป็นที่ชัดเจนแล้วว่ารุนแรงหนักที่สุดทีเดียว ไม่ใช่ในเรื่องของยอดผู้ติดเชื้อหรือเสียชีวิตที่ถือว่าเรายังโชคดีที่จำนวนคนติดเชื้อและเสียชีวิตถ้าเทียบกับประเทศอื่นถือว่าอยู่ในระดับที่น้อยกว่าชัดเจน แต่ผลกระทบด้านเศรษฐกิจอันนี้ชัดเจน

เปิดท้ายขายของ

ภาพจาก bit.ly/2WWZIf2

ตัวเลขจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ผลกระทบในเมืองไทยอาจอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงความเสียหายอาจจะอยู่ในระดับ 500-700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.56 – 2.18 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.09-0.13% ของจีดีพี ทั้งปีของไทย แต่นั่นคือเรื่องของตัวเลขที่คาดการณ์ ซึ่งในความเป็นจริงน่าจะหนักยิ่งกว่าเพราะนับแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาชัดเจนกับการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่ขอความร่วมมือปิดสถานประกอบการ ห้างร้าน รวมถึงตลาดนัดและอีกหลายแห่ง

48

ภาพจาก www.facebook.com/Liabduan.nightmarket

จุดนี้เองที่ www.ThaiSMEsCenter.com สั่นคลอนประชาชนระดับรากหญ้าอย่างมากโดยเฉพาะบรรดา พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งก่อนหน้าที่ COVID 19 จะระบาดเราเห็นตลาดต่างๆ มีรถ มาเปิดท้ายขายของ ประชาชนพร้อมเดินจับจ่ายอย่างเนืองแน่น คำถามคือ หลังสถานการณ์ COVID 19 ผ่านพ้นไป เราจะมีโอกาสได้เห็นโฉมหน้าของการเปิดท้ายขายของในรูปแบบไหน หรือว่านี่จะเป็นจุดเปลี่ยนของสังคมไทยไปสู่ระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ

พ่อค้าแม่ค้าในตลาดได้รับผลกระทบ แค่ไหน?

47

ภาพจาก Thairath

หลายเสียงบ่นจากบรรดาพ่อค้า แม่ค้า ที่แม้จะทำใจยอมรับ และยอม “จบแต่เจ็บ” ด้วยการปิดร้าน ไม่ขายของ แต่เรื่องของรายจ่ายก็ยังมีต่อเนื่อง จากเมื่อก่อนที่รายได้หลักมาจากการขายของ ขายได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ยังพอให้ประทังชีวิต มีเงินไว้ซื้อข้าวกิน มีเงินไว้หมุนเวียนแต่นับตั้งแต่มีการปิดร้าน ตามที่ภาครัฐกำหนด กลายเป็นทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้า อย่างที่ตลาดประตูน้ำ จากที่เคยขายได้หลัก หมื่น รายได้หดหายมาเหลือวันละ1,000 กว่าบาท หรืออย่างร้านค้าในห้างสรรพสินค้าที่พอเปิดร้านไม่ได้ก็ต้องมาหาวิธีขายทางออนไลน์ จากที่เคยมีรายได้กว่าวันละ 20,000 บาท ก็กลายมาเป็นเหลือวันละไม่กี่พันบาท

46

ภาพจาก bit.ly/34T3dbR

ภาพรวมของตลาดระดับชาวบ้าน เช่น ตลาดนัด แม้จะยังเปิดดำเนินการได้ ไม่ได้ปิดเด็ดขาดแต่ผลกระทบก็ชัดเจนไม่แพ้กันอย่างที่ตลาดขวัญนรา จังหวัดนครศรีธรรมราช พ่อค้าแม่ค้าบอกว่าที่นี่คือตลาดเปิดท้ายขนาดใหญ่ มีพ่อค้าแม่ค้ามาเปิดท้ายขายของคนเดือนกันจำนวนมาก รายได้ดีในช่วงสถานการณ์ปกติ แต่พอมีประกาศปิดตลาด ที่นี่ก็เงียบเหงาและไม่มีคนมาเดินจับจ่ายใช้สอยผลกระทบหนักตกอยู่ที่พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายของเป็นหลัก

หาก COVID 19 ผ่านพ้นไป สิ่งที่อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับ “การเปิดท้ายขายของ”

45ภาพจาก bit.ly/2zgNMOJ

แน่นอนว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจและ “เจ็บเพื่อจบ”ของคนทำธุรกิจที่กัดฟันยอมปิดกิจการชั่วคราวเพื่อให้การแพร่กระจายของ COVID 19 ผ่านพ้นไป แต่สิ่งที่ต้องยอมรับหลังจากนี้หากสถานการณ์คลี่คลายจะต้องมีสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามมาด้วย

1. Social Distancing

44

ภาพจาก www.facebook.com/Greendaynight/

คำนี้น่าจะอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปอีกนาน แม้สถานการณ์ COVID 19 จะผ่านพ้นไปในอนาคต คำว่า ระยะห่างทางสังคมจะถูกนำมาใช้กับการค้าขาย จากที่เคยเข้าไปมุงซื้อของกันชนิดไหล่ชนไหล่ หายใจรดต้นคอ หลังจากนี้คนในสังคมจะมีความรู้สึก social distancing กันมากขึ้น เพราะ COVID 19 ได้สร้างแผลในใจให้เราทุกคนเข็ดขยาดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้

2. ความสะอาดและหน้ากากอนามัย

43

ภาพจาก bit.ly/2Klx9nw

การเปิดท้ายขายของหากจะกลับมาก็ต้องคู่กับความสะอาดของร้านค้าเป็นสำคัญ ต่อจากนี้หากร้านค้าไหนดูไม่สะอาด ดูไม่น่าเดินเข้าไปหาซื้อสินค้า ลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่กล้าเสี่ยงเพราะกลัวเรื่องการติดเชื้อ COVID 19 ที่ฝังใจ รวมถึงไอเท็มอย่างหน้ากากอนามัยจะกลายเป็นอุปกรณ์หลักที่พ่อค้าแม่ค้าเองก็ต้องสวมใส่ และลูกค้าเองก็ต้องสวมใส่ เชื่อว่าหน้ากากอนามัยจะยังต้องสวมใส่กันไปอีกนานทีเดียว

3. รูปแบบการขายเน้นเพิ่มออนไลน์มากขึ้น

42

ภาพจาก bit.ly/2RY0Uz4

แม้ภาพรวมหากสถานการณ์คลี่คลายคนทั่วไปจะพร้อมออกมาจับจ่ายใช้สอย แต่ในระยะที่มีการกักตัว หรืออยู่บ้าน ทำให้ช่องทางเดลิเวอรี่หรือการสั่งสินค้าออนไลน์ดูจะเติบโตเพิ่มมากขึ้น หลายแบรนด์เองได้หันมาทำตลาดด้านนี้กันมากขึ้น และนับต่อจากนี้ หากสถานการณ์ดีขึ้น คงไม่ใช่เรื่องดีหากจะทิ้งตลาดออนไลน์แล้วไปขายออฟไลน์เหมือนในอดีต เพราะช่องทางออนไลน์ถือเป็นหลักประกันแห่งอนาคตว่าหากมีสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เราจะได้ไม่ต้องไปเริ่มต้นจากศูนย์ในการสร้างลูกค้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์

4. สินค้าที่จะต้องตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น

41

ภาพจาก www.facebook.com/Carancientmarket

การเปิดท้ายหรือการขายของจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าหลังสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลายต้องหาสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ชัดเจน ประเภทสินค้าฟุ่มเฟือยจะถูกมองข้ามในช่วงแรก อันเนื่องมาจากผลกระทบด้านรายได้ที่หดหายไป คนจะมีกำลังซื้อน้อยลง ดังนั้นสินค้าที่ไม่จำเป็นจะไม่ค่อยมีคนสนใจผิดกับกลุ่มสินค้าที่สำคัญและจำเป็นคนจะให้ความสำคัญในการซื้อเป็นอันดับแรก

5. จับเอาสตอรี่ COVID 19 มาเป็นจุดขาย

40

ภาพจาก bit.ly/3axvCVP

เชื่อว่าหลังสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลายจะต้องมีพ่อค้าแม่ค้าหัวไสที่หยิบเอากระแสของ COVID 19 มาเป็นจุดขาย เพื่อกระตุ้นให้คนสนใจและอยากซื้อสินค้า สิ่งสำคัญกับการใช้สตอรี่จาก COVID 19 คืออย่าใช้เรื่องนี้เป็นจุดขายมากเกินไปเพราะคนยังฝังใจกับ COVID 19 และคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะลืมเรื่องราวนี้ได้

ภาพรวมของสถานการณ์แพร่ระบาด COVID 19 ตอนนี้ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่น้อยลงชัดเจน ยอดผู้เสียชีวิตเริ่มน้อยลง กราฟที่เคยพุ่งชันตอนนี้เริ่มอยู่ในแนวระนาบ แต่อย่างไรก็ดี COVID 19 ยังถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เรายังไม่รู้ต้นเหตุที่ชัดเจนและยังไม่มีวัคซีนป้องกันและรักษา ถ้ชะล่าใจและประมาทจนเกินไปจนกลับมาระบาดอีกครั้งความรุนแรงน่าจะหนักกว่าการระเบิดครั้งแรก ดังนั้นสังคมไทยจึงไม่ควรประมาทและระวังตัวในเรื่องนี้กันอยู่เสมอ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล
https://bit.ly/2zl5OzH , https://bbc.in/3aolmPY , https://bit.ly/3aqjaHJ

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3asDesN

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด