กลยุทธ์ Lazada & Shopee ครองตลาดอีคอมเมิร์ชในอาเซียน

ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจะมีอนาคตที่สดใส แบรนด์ออนไลน์ต่างๆ กำลังออกไปแสวงหาผู้ซื้อออฟไลน์ด้วยส่วนลดและสร้างความสะดวกสบาย รวมถึงความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์

ไม่เฉพาะในสหรัฐอเมริกา หรือจีนเท่านั้น ที่ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมอย่างบ้าคลั่ง แต่ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ก็ได้รับความนิยมไม่น้อยหน้าเช่นกัน

โดยเฉพาะแอปช็อปปิ้งออนไลน์ต่างทุ่มเงินมหาศาล เพื่อครองใจนักช้อปปิ้งออนไลน์ชาวอาเซียน โดยเฉพาะคู่แข่งสำคัญอย่าง Lazada และ Shopee วิธีการของสองแบรนด์นี้เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมาเสนอให้ทราบ

ที่ผ่านมาว่ากันว่า Lazada เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในทางกลับกันวันนี้ Shopee สามารถแซง Lazada ของ Alibaba ที่เปิดบริการมาก่อน 3 ปี

และ Tokopedia ของ Softbank ที่ปักธงมานานกว่า 6 ปี จุดนี้นักวิเคราะห์มองว่า Shopee ขึ้นสู่แถวหน้าของเวทีอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะกลยุทธ์เน้น mobile marketing บนการทุ่มงบการตลาดอย่างหนัก เพื่อซื้อพื้นที่สื่อออฟไลน์และการจ้างพรีเซ็นเตอร์

AppAnnie บริษัทวิเคราะห์ตลาดแอปพลิเคชั่นพบว่า Shopee คือแอปสำหรับช็อปปิ้งที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดบนมือถือและนีตบุ๊ค แซงหน้า Lazada ที่นั่งอันดับ 2 ในขณะนี้

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่า Shopee มีมูลค่ายอดขายพุ่งทะยานในไตรมาสที่สามของปี 2018 ที่ผ่านมา และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 พบว่า Shopee มีจำนวนการเข้าชมกว่า 18.4 ล้านครั้งบนเดสก์ท็อปและบนมือถือ จึงถือเป็นราชาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซใหม่ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

q5

ภาพจาก https://bit.ly/2VsBhd7 , https://bit.ly/2W2uqa9

จุดนี้ Shopee รายงานมูลค่าการขายสินค้ารวมหรือ gross merchandising value ไว้ที่ 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้น 153% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว Shopee คาดว่าสถิติมูลค่าการขายรวมทั้งหมดจะเติบโตต่อไป เป็น 6,900-7,300 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าการขายอีคอมเมิร์ซโดยรวมที่งานวิจัย Google-Temasek เคยรายงานไว้

ความสำเร็จนี้ถูกมองว่าเป็นผลมาจากแนวทางหลักของ Shopee ที่เน้นการตลาดบนอุปกรณ์พกพา จนทำให้ Shopee มีอัตราการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จุดที่น่าสนใจคือแอป Shopee มีการพัฒนาแบบแยกต่างหากและแปลเป็นภาษาท้องถิ่นทั้งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ จุดนี้ตรงกันข้ามกับแอปของ Lazada ที่ใช้แอปเดียวแต่ตั้งค่าให้เข้าถึงได้หลายประเทศ

มีรายงานว่า Shopee ได้รับความนิยมในสินค้ากลุ่มแฟชั่น สุขภาพ และความงาม ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการใช้เวลาค้นหาผลิตภัณฑ์นานกว่าสินค้ากลุ่มอื่น ทำให้สถิติผู้ใช้ของ Shopee ต่างจากอีคอมเมิร์ซอื่น เนื่องจากสถิติชี้ว่า 58 ของลูกค้า Shopee เป็นเพศหญิง ต่างจากผู้ใช้ Lazada ที่ 57% เป็นเพศชาย

เพิ่มทุนแย่งความเป็นหนึ่งแอปช็อปปิ้ง

q4

ภาพจาก www.lazada.co.th

การแข่งขันเพื่อแย่งความเป็นหนึ่งของ Shopee และ Lazada ต้องดูกันยาวๆ โดยล่าสุด Sea Group พึ่งเพิ่มทุนไปอีก 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ นำโดย Tencent เพื่อที่จะลงทุนกับ Shopee เพิ่มเติมด้วย

แน่นอนว่าเงินเพิ่มทุนที่ได้จาก Tencent ครั้งนี้ เป้าหมายคือบดขยี้ Lazada รวมไปถึงแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับ Shopee เพิ่มเติม คาดว่าเราเห็นงบไตรมาสถัดไปของ Sea Group โดยเฉพาะ Shopee น่าจะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการทำการตลาดใหม่ๆ ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า Shopee อัดโฆษณาทุกช่องทาง เช่น ทีวี ออนไลน์ ฯลฯ

ทางฟากของ Lazada ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Alibaba มาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2017 Alibaba ลงทุนเพิ่มใน Lazada ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ จากนั้นในปี 2018 Alibaba ก็ลงทุนเพิ่มอีก 2 พันล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าถ้านับรวมทั้งหมด Alibaba ลงทุนใน Lazada ไปแล้วกว่า 4 พันล้านดอลลาร์

ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน เพราะก่อนหน้าที่ ปิแอร์ ปัวยอง จะขึ้นมานั่งแท่นซีอีโอคนปัจจุบันเมื่อปลายปี 2018 ก่อนหน้านี้ Lucy Peng หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคนสำคัญของ Alibaba นั่งในตำแหน่งนั้นมาก่อนที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นประธานบอร์ดบริหาร

ในปี 2030 Lazada วางเป้าหมายไว้ว่า จะขยายลูกค้าให้ได้ถึง 300 ล้านราย รวมถึงสร้างงานได้อีก 20 ล้านราย นอกจากนั้นจะสร้างผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยอีก 8 ล้านรายทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียนยังแข็งแกร่ง

q3

ภาพจาก https://shopee.co.th/

ในวันนี้เรารู้แล้วว่า ไม่ใช่แค่ Lazada กับ Shopee แค่นั้นที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียน แต่โลกของ E-commerce ในอาเซียน ยังมีผู้เล่นรายอื่นๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น Tokopedia จากประเทศอินโดนีเซีย

หรือแม้แต่ผู้เล่นรายอื่นๆ ในประเทศต่างๆ หรือแม้แต่ E-commerce เฉพาะทาง อย่างเช่น Zilingo หรือแม้แต่ Pomelo โดยเฉพาะ Zilingo มูลค่ากิจการ 3 หมื่นล้านบาทแล้ว ล่าสุดระดมทุนได้ 7,111 ล้านบาท

q2

ภาพจาก https://shopee.co.th/

จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่เม็ดเงินมหาศาลเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ยังไม่มีบริษัทเทคโนโลยีรายใด โดยเฉพาะ “อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ” ยังไม่มีใครสามารถยึดครองอันดับ 1 ได้แบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์แบบ

ไม่ว่าจะเป็น Shopee หรือ Lazada ยิ่งพลังเศรษฐกิจในอาเซียนกำลังโต ยิ่งทำให้ใครๆ ก็อยากมาลงทุน จึงทำให้เกมนี้ยังเป็นสงครามไปอีกยาวๆ เพื่อครองส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่ากว่า 1.02 แสนล้านดอลลาร์ (3.2 ล้านล้านบาท)


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต